Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MONEY LAB
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
24 ก.ค. เวลา 03:00 • ธุรกิจ
พินัยกรรม มีกี่แบบ แล้วทำแบบ พูดปากเปล่า ได้ไหม ?
เคยสงสัยกันไหมว่า การที่ผู้สูงอายุหลาย ๆ คน สั่งเสียไว้ก่อนตายแบบปากเปล่า ทรัพย์มรดกเหล่านั้น สุดท้ายแล้วจะตกทอดถึงทายาทหรือไม่ ?
เช่น ยายแดงชี้นิ้วบอกลูก ๆ ว่า ที่ดินผืนนี้แบ่งให้ลูกคนนี้ อีกผืนหนึ่งแบ่งให้ลูกอีกคน เงินสดแบ่งให้หลาน
การทำพินัยกรรมด้วยการพูดปากเปล่าแบบนี้ จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่ ?
แล้วการทำพินัยกรรม เกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้
ทำไมทุกคน ควรให้ความสนใจกับการทำพินัยกรรม ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
หลายคนมักวางแผนทางการเงินโดยมองเพียงว่าจะทำอย่างไรให้เงินมันงอกเงยมากขึ้นเรื่อย ๆ
แต่อาจละเลยการวางแผนทางการเงินด้านอื่น ๆ ไป
เช่น การวางแผนภาษี การทำประกันภัย
รวมถึง การทำ “พินัยกรรม”
มีน้อยคนมากที่จะคิดถึงการทำพินัยกรรมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อส่งต่อความมั่งคั่งของเราให้กับคนที่อยู่ข้างหลัง
ทำให้บ่อยครั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างลูกหลาน
และท้ายที่สุดแล้วการแบ่งทรัพย์สินก็ไม่เป็นไปตามเจตนาของผู้ตายอย่างแท้จริง
แล้ว พินัยกรรม คืออะไร ?
พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนาล่วงหน้าเผื่อตาย
ซึ่งอาจเป็นเรื่องการจัดการทรัพย์สิน หรือเรื่องอื่น ๆ ก็ได้
2
เช่น วิธีจัดการศพหลังตาย หรือการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
โดยทรัพย์สินที่เราต้องการส่งมอบผ่านทางพินัยกรรมจะเป็นอะไรก็ได้ เช่น เงินฝากในบัญชีธนาคาร หุ้นกู้ พันธบัตร หุ้น อสังหาริมทรัพย์
แต่ต้องเป็นทรัพย์สินที่เราเป็นเจ้าของอยู่ก่อนตายเท่านั้น ทำให้ทรัพย์สินบางอย่างไม่สามารถระบุในพินัยกรรมได้ เช่น เงินประกันชีวิต
แล้วความสำคัญของการทำพินัยกรรม มีอะไรบ้าง ?
2
- ทำให้ผู้ทำพินัยกรรมรู้ว่า ตัวเองมีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้าง ผ่านการรวบรวมทรัพย์สิน
- ผู้ทำพินัยกรรม จะมั่นใจได้ว่าทรัพย์สินนั้นจะถูกส่งต่อให้กับผู้รับพินัยกรรมอย่างแน่นอน
- ผู้ทำพินัยกรรม จะมั่นใจได้ว่าทรัพย์สินบางอย่าง เช่น หุ้น จะตกไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจ
- ป้องกันการตกหล่นหรือสูญหายของทรัพย์สินบางรายการ ซึ่งทายาทอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าผู้ทำพินัยกรรมมีทรัพย์สินนั้น ๆ อยู่
คำถามต่อมาคือ แล้วใครสามารถทำพินัยกรรมได้บ้าง ?
1
กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ สามารถทำพินัยกรรมได้แล้ว
แต่สิ่งที่ควรระวังในการทำพินัยกรรม คือ ต้องทำให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ไม่อย่างนั้นพินัยกรรมฉบับนั้นอาจไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย
โดยพินัยกรรมตามที่กฎหมายกำหนด มีอยู่ 5 แบบ ได้แก่
1
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
จะเป็นแบบเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ สิ่งสำคัญคือต้องระบุวัน เดือน ปีที่ทำ และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน และพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรอง
1
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนเนื้อหาพินัยกรรมทุกอย่างด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ พร้อมวัน เดือน ปีที่ทำ และลงลายมือชื่อของตน
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
พินัยกรรมแบบนี้จะทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน โดยแจ้งความประสงค์ต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ
โดยผู้ที่ต้องการทำพินัยกรรม สามารถสอบถามวิธีการทำพินัยกรรมแบบนี้กับนายทะเบียนที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอใกล้บ้านได้
1
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
1
ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ผนึกพินัยกรรมแล้วลงลายมือชื่อทับรอยผนึกนั้น
จากนั้นนำพินัยกรรมที่ผนึก ไปแสดงต่อนายอำเภอพร้อมพยานอย่างน้อยสองคน และบอกกล่าวคนเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตัวเอง
1
นายอำเภอจะจดถ้อยคำ วัน เดือน ปีที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองพร้อมประทับตราตำแหน่ง แล้วนายอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรมและพยาน จะลงลายมือชื่อบนซองนั้น
5. พินัยกรรมแบบวาจา
1
จะทำได้เมื่อเกิดเหตุการณ์พิเศษเท่านั้น เช่น ผู้ทำพินัยกรรมใกล้ความตายมาก ๆ
เกิดโรคระบาด หรือสงคราม ทำให้ไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่น ๆ ได้แล้ว
2
สิ่งที่ต้องระวังคือ พินัยกรรมแบบวาจาที่ว่านี้ จะมีอายุเพียง “หนึ่งเดือน นับตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมกลับมาทำพินัยกรรมแบบอื่นได้”
วิธีทำพินัยกรรมแบบวาจา คือต้องให้ถ้อยคำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
2
แล้วพยานทั้งสองคนต้องไปให้ถ้อยคำนั้นต่อนายอำเภอ แจ้งวัน เดือน ปีที่ทำ สถานที่ที่ทำพินัยกรรมและสาเหตุที่ทำพินัยกรรมแบบอื่นไม่ได้
ลองมาดูตัวอย่างให้เข้าใจภาพชัด ๆ
1
เช่น นายเขียวถูกรถชน อาการโคม่า แต่ยังมีสติและเข้าใจเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่ และนายเขียวได้ทำพินัยกรรมแบบวาจา
หมายความว่า ถ้านายเขียวตายในระหว่างนี้ พินัยกรรมแบบวาจาก็มีผลสมบูรณ์ สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
แต่ทีนี้คำถามคือ ถ้าปรากฏต่อมาว่า นายเขียวรอดตายอย่างปาฏิหาริย์ พินัยกรรมแบบวาจานั้นจะมีผลอย่างไร ?
คำตอบคือ พินัยกรรมแบบวาจาที่นายเขียวเคยทำไว้ก่อนหน้านี้ จะสิ้นสภาพ หลังจากที่นายเขียวรอดตายและ สามารถทำพินัยแบบอื่น ๆ ได้แล้วครบหนึ่งเดือน
หากนายเขียวยังต้องการทำพินัยกรรมก็ต้องกลับไปทำพินัยกรรม 4 แบบอื่นข้างต้นแทน ที่ไม่ใช่พินัยกรรมแบบวาจา
ซึ่งพินัยกรรมทั้ง 5 แบบนี้ จริง ๆ แล้วก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมที่แตกต่างกันไปอีก ตามที่กฎหมายกำหนด
แต่สิ่งสำคัญก็คือ ต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อให้พินัยกรรมของเรายังมีผลบังคับใช้ได้
และควรตรวจสอบ แก้ไขข้อมูลในพินัยกรรมเป็นระยะ ๆ เมื่อรายการทรัพย์สินของเรา มีการเปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้หากเราทำพินัยกรรมไปแล้ว ควรบอกบุคคลที่เราไว้วางใจให้ทราบว่า เราเก็บพินัยกรรมฉบับล่าสุดไว้ที่ไหน
รวมไปถึงตำแหน่งที่เก็บของกุญแจตู้เก็บเอกสารสำคัญ หรือรหัสตู้นิรภัย
เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถจัดการทรัพย์สินต่าง ๆ ของเราต่อไปได้
ถ้าใครต้องการทำพินัยกรรมเพื่อส่งต่อความมั่งคั่ง ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม แล้วไม่มั่นใจ
เพื่อป้องกันความผิดพลาด ก็ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือปรึกษาผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย เพื่อความชัวร์ เลยก็ได้
สรุปคือ พินัยกรรมตามที่กฎหมายกำหนด มีอยู่ 5 แบบ และเราสามารถทำด้วยวาจา หรือพูดปากเปล่าได้
แต่ไม่ใช่ทุกกรณีที่จะสามารถทำได้
เพราะกฎหมายกำหนดว่า จะทำพินัยกรรมแบบวาจาได้
จะต้องเกิดเหตุการณ์พิเศษ ที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่น ๆ ได้แล้วเท่านั้น
และพินัยกรรมแบบวาจา ก็มีระยะเวลาจำกัด
คือจะสิ้นสภาพ ภายในหนึ่งเดือน หลังจากผู้ทำพินัยกรรมสามารถกลับมาทำพินัยกรรมรูปแบบอื่น ๆ ได้..
References
-ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
-
https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/heritage
-
https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article/74-how-to-write-a-legitimate-and-satisfying-will
-
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/tips-for-you/testament.html
-
https://moneyhub.in.th/article/testament/
ธุรกิจ
163 บันทึก
94
272
163
94
272
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย