24 ก.ค. 2024 เวลา 03:18 • ความคิดเห็น

บทความ เขียน ทำไม

เขียน ทำไม
THE PAPER " WHY DO WE WRITE"
BY PUSDEE WANWANG.
บทความเล่มนี้ ดิฉันเขียนขึ้นในระหว่างการค้นหาตัวเองผ่าน ประโยคหนึ่งที่อยากมอบให้กับผู้อ่านกลับไปคิดทบทวนว่า “ความจริงแล้วมนุษย์มีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่กลับกลายเป็นว่าใน เวลา 24 ชั่วโมงเราใช้ชีวิตไม่เหมือนกันเลย ดังนั้นดิฉันจึงมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง ถึงบุคคล 4 คนกับการใช้ชีวิต 24 ชั่วโมงแตกต่างจากชุดประสบการณ์ของตนเอง” แน่นอนความยากลำบากขึ้นอยู่กับการรับมือและความสามารถในการจัดการปัญหาของปัจเจกบุคคลนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปเป็นทฤษฎีได้ว่ามีแนวทางในการปฎิบัติอย่างไรบ้างหรือแนวทางไหนดีที่สุด ทว่าความสำคัญสามารถเข้าใจท่องแท้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดิฉันเลยรวบรวมความสงสัยในการหาความหมายการค้นหาตัวเอง จึงตั้งโจทย์ "เขียนทำไม" เพื่อได้เล่าเรื่องเล่าที่อยากสื่อสารผ่านตัวละครจริงซึ่งเป็นแรงจูงใจในการเขียน เพื่อดำเนินเรื่องต่อไปให้สำเร็จลุล่วงและเป็นประเด็นคำถามที่ไม่ได้ให้คำตอบเป็นสูตรตายตัว ดังนั้นไม่มีคำว่าผิดถูก นอกเสียจากการได้เห็นแง่มุมความแตกต่างระหว่าง คนไม่ค้นหาตัวเอง และ คนหาตัวเอง
บทความเล่มนี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อพาดพิง สร้างความเสียให้กับบุคคล องค์กรหรือหน่วยงานใด โปรดใช้วิจารณญานกันนะคะ
คนที่1 ใช้ชิวิตไปเรื่อยจึงไม่เจอตัวเอง
การใช้ชีวิตสะดวกสบาย เรียบง่าย ไม่ต้องกังวลหรือต้นทุนชีวิตแบบนี้ก็ดีอยู่แล้ว มีความสุขได้อยู่กับตัวเอง เพื่อนมิตรสหายและครอบครัว ซื้อของกินของใช้ในสิ่งที่ชอบและอยากซื้อให้ตัวเองและมิตรสหาย
เป็นของขวัญ กิจวัตรประจำวัน หลังจากจัดการตัวเองเรียบร้อย ออกไปทำงานขายของที่ตลาดนัดทุกวัน เว้นวันหยุดเราก็จะนอนเปื่อยไปเรื่อย เพราะอยากพักผ่อนให้หายเหนื่อยกับการทำงานและมีวันที่เราจะนัดเพื่อนมิตรสหายไปเที่ยวสร้างสรรค์ด้วยกันบ่อย มันมีความสุขมาก เราว่าชีวิตเท่านี้โอเคแล้วนะ การตัดสินใจดำรงชีวิตแบบไม่ยุ่งยาก เจออุปสรรค ปัญหาก็ปล่อยไปไม่คิดมาก เหมือนที่ชีวิตเราเคยเจออุปสรรคการเรียน
เราเติบโตในครอบครัวยากจน จบเรียนประถมศึกษาไม่ถึงมัธยมศึกษาต้องทำงานหาเลี้ยงคนในครอบครัวและตัวเอง ความเคยชินมันทำให้เราไม่เรื่องมากกับชีวิต เราเคยอยากสมัครทำงานห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในเมือง แต่เงื่อนไขห้างสรรพสินค้านั้นรับเฉพาะเด็กที่จบมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป
เราเลยไม่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่แรก ดังนั้นจึงตัดสินใจกลับไปสมัครงานเป็นลูกจ้างในตลาดนัดแทน ซึ่งรายได้ต่อวันเฉลี่ยวันละ 200 บาท พอมีพอใช้บ้าง ง่ายๆเลยเราไม่มีวุฒิจบการศึกษา เราไม่อยากเผชิญหน้ากับครอบครัวและโรงเรียน เพราะไม่รู้ว่าจะส่งเสียตัวเองเรียนได้ไหมหรือไม่รู้ว่าจะลาออกกลางคันหรือเปล่า เราเลยฝังใจเชื่อว่า การใช้ชีวิตแบบธรรมดาๆก็มีความสุขดีนะ
คนที่2 การศึกษาทำให้เจอตัวเอง
การศึกษาทำให้เรามีความสุข เพราะเราได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา เราสนุกกับ การเรียน ได้เข้าเรียนหนังสือ เจออาจารย์ เจอเพื่อนๆ ได้ตกตะกอนเรียนรู้เติบโตเพื่อเป็นคนที่มีคุณภาพในอนาคต (ความฝันอยากเป็นครู) แต่มันก็เหนื่อยนะ ปัญหาหลักคือ งานเยอะทั้งวิชาเอกและวิชาโท มีรูปแบบงานเดี่ยว งานคู่ งานกลุ่มที่ต้องรับผิดชอบ ลงมือทำ ขอยกตัวอย่างงานกลุ่มถือเป็นงานที่ต้องมีความรับผิดชอบสูง การนัดหมายรวมตัวเพื่อแบ่งงาน ต้องชัดเจน แบ่งเวลาทันส่งงานให้อาจารย์
แต่คงไม่ได้สุดแค่นี้ นอกจากเจอปัญหางานแล้ว ความเข้าใจกันและกันในกลุ่มเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานเราเสร็จลุล่วง หากเจอปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างเพื่อนในกลุ่ม สิ่งแรกเราเลือกที่จะจัดการตัวเอง โฟกัสตัวเองก่อนเลยและไม่เอาตัวเองไปเสียเวลากับคนที่ไม่เข้าใจ
เรามีเหตุผลนะที่เลือกทำเพื่อตัวเอง ไม่อยากเสียการเรียน เราเห็นความสำคัญของการเรียน อยากให้ตัวเองมีความตั้งใจ เรียนจบ ได้งานที่มั่นคงทำไม่ว่าจะราชการหรือเอกชน เพราะเราอยากมีเงินเลี้ยงชีพตัวเอง ครอบครัวและวางแผนไว้ว่าหลังทำงานก็อาจจะทำงานไปด้วยหรือเรียนต่อโทไปด้วย เราเกิดมาในครอบครัวฐานะยากจนเช่นกัน เกือบที่จะไม่เรียนมหาวิทยาลัยต่อ ดังนั้นเราจึงพยายามมากเพื่อเป้าหมายสูงสุดอยากให้ครอบครัวภาคภูมิใจในความพากเพียรในรั้วมหาวิทยาลัย
คนที่3 สังคมที่อยู่ข้างหน้าทำให้เจอตัวเอง
ยกตัวอย่าง Kobe Bryant (โคบี้ ไบรอัน) เป็นนักบาสเกตบอลระดับโลก ช่วงชีวิตในวัย17ปี มีความฝันที่จะเป็นหนึ่งในนักบาสเกตบอลที่ยิ่งใหญ่ เขามีแรงจูงใจและหิวโหยชัยชนะ ดังนั้นเขาจึงตั้งกฎเกณฑ์ 4วินัย ในการฝึกฝนและฝึกซ้อม เขาเล่าผ่านบทสัมภาษณ์ในรายการหนึ่งว่า “ผมตีนอนตอนตี4ทุกวันเพื่อฝึกซ้อมทุก2ชั่วโมง ใช้เวลาที่เหลือในการพักผ่อน หากทำอย่างนั้น
เมื่อหลายปีผ่านไปความแตกต่างที่คุณมีกับคู่แข่งและเพื่อนของคุณจะเติบโตขึ้น รายการทีวีที่ดู หนังสือที่ผ่าน ผู้คนที่คุย ทุกสิ่งที่ได้ทำคือการเรียนรู้ที่จะพยายเป็นนักบาสเกตบอลที่ดีที่สุดเท่าที่สามารถทำได้” จุดเปลี่ยนของผมในสมัยวัยเด็กผมดูภาพยนต์รูดี้ ซึ่งทำให้ผมเข้าใจ Work Hard ผมเลยให้คำมั่นสัญญากับตัวเองทุกวันเป็นปรัชญาชีวิตว่า "การใช้ชีวิตให้ดีขึ้นในทุกๆวัน"
คนที่4 สิ่งแวดล้อมทำให้เจอตัวเอง
การตัดสินใจเลือกคันหาตัวเอง เพราะเราต้องการความสุข เราเป็นคนหนึ่งที่ชอบทำขนมเบเกอรี่ จุดประกายที่ทำให้เราหันมาชอบโดยเริ่มจากการดูยูทูปช่องทำอาหารหรือขนมเบเกอรี่ทั่วไปนี้แหละ เราเลยอยากทดลองฝึกทำบ้าง ซื้ออุปกรณ์ทำขนมเบเกอรี่ วัตถุดิบมาทำ ความรู้สึกช่วงเวลาเริ่มลงมือทำมีความกังวลว่ากลัวว่าขนมเบเกอรี่ที่เราทำรสชาติไม่อร่อยและมีความตื่นเต้นร่วมด้วย โชคดีหน่อยคนในครอบครัวคอยชิมและวิพากย์วิจารณ์ขนมเบเกอรี่สูตรแรกในชีวิตจะได้ลองผิดลองถูกและแก้ไขปรับเปลี่ยนสูตร
แม้กระทั่งตอนนี้ เราไม่ได้มีเวลาว่างมาทำขนมเบเกอรี่บ่อยนัก เพราะยุ่งอยู่กับการเรียน เรายังคงมีความชอบมันเสมอนะ ช่วงปิดเทอมก็จะแบ่งเวลาในการทำขนมเบเกอรี่เหมือนเดิมเลย เราสังเกตเห็นความแตกต่างในการลงมือทำกับไม่ลงมือทำขนมเบเกอรี่คือ การเพิ่มคุณค่าทางจิตใจ การทำขนมเบเกอรี่ทำให้เราได้ฝึกสมาธิให้อยู่กับตัวเอง ได้ต่อยอดสร้างสรรค์สูตรเบเกอรี่ในแบบของตัวเอง แต่หากไม่ทดลองทำขนมเบเกอรี่ เราจะรู้สึกว่าไม่ได้ใส่ใจกับความสุขของตัวเอง
ดังนั้นการทีได้สำรวจความรู้สึกตัวเองเหมือนเป็นพื้นที่เรียนรู้ ยกตัวอย่าง เราเคยทำบราวนี่ให้ครอบครัวชิม แล้วผลตอบรับเกินคาดทำให้เราภาคภูมิใจมาก เราไม่ได้มีทักษะ ยังไม่ถึงขั้นชำนาญ ทุกครั้งที่เราได้รับความชื่นชมมันเหมือนกับว่าเราได้มอบความพิเศษบางอย่างให้เป็นของขวัญจากใจ การที่เราไม่กล้าทำให้คนอื่นชิมเพราะเราไม่รู้เลยว่าตัวผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร
เราคิดตลอดว่าถ้าเริ่มจริงจังสร้างเป็นรายได้ มุมมองคน 2กลุ่ม ที่เราต้องแทคแคร์คือ ลูกค้าและครอบครัว ลูกค้าเป็นโจทย์สำคัญมากที่ต้องคัดสรรค์ให้ตรงกับความต้องการ เลยไม่กล้าเสี่ยงเริ่มต้นทำธุรกิจในช่วงการเรียน แต่ในอนาคตการเปิดร้านเบเกอรี่เป็นความตั้งใจและสานฝันให้เป็นจริงได้
คนที่5 ความกล้าทำให้เจอตัวเอง
ในโครงการระดับประเทศที่มีผู้เข้าร่วมในประเทศและต่างประเทศ 150กว่าคน การเตรียมงานทุกฝ่ายค่อนข้างวุ่นวาย โดยเฉพาะเราที่ทำหน้าที่ประสานงาน ศักยภาพการทำงานมือใหม่และไม่เคยรับผิดชอบฝ่ายนี้มาก่อนเลย ทว่าอยากลองทำเพื่อฝึกการสื่อสาร ภาษาอังกฤษและภาษามลายู ก่อนวันงานทุกอย่างราบรื่นอย่างดี
แต่เกิดปัญหาการรันงานของฝ่ายพิธีการไม่ได้เตรียมพิธีกรไว้ในขั้นตอนกิจกรรมเสวนาพหุวัฒนธรรมฯ เหตุการณ์ชลมุนฝ่ายกิจกรรมต้องรับผิดชอบหาคนแทนกระทันหัน แต่คงหนีไม่พ้นเราที่ต้องเป็นพิธีกรดำเนินรายการ ความกังวล ประมาทเกิดขึ้นเมื่อเราต้องรับผิดชอบงานกระทันหันหน้างาน
เราไม่ได้เตรียมตัวไม่มีสคริปส์ ไม่มีการซ้อมเลย ปลอบใจตัวเองก่อนขึ้นเวทีว่าเราต้องทำมันได้ กล้าเข้าไว้ ถ้าไม่รับโอกาสนี้เราจะเสียดายทีหลังแน่นอน เมื่อก้าวขึ้นเวทีเรารวบรวมความกล้าหาญและเผชิญหน้าให้ได้ โชคดีบรรยากาศไม่ตึงเครียดและทุกคนก็เข้าใจว่ารับงานกระทันหันจนทุกอย่างดำเนินจนจบ
เราหันไปขอบคุณวิทยากรว่าขออภัยหากมีข้อผิดพลาดในการดำเนินรายการ ทว่าวิทยากรกลับชื่นชมว่าเราทำได้ดีมากแล้ว น้ำตาแถบไหลออกมาด้วยความตื้นตันใจและได้เห็นข้อติชมที่ได้รับจากทีมงาน ถือเป็นโอกาสให้เราได้กลับพัฒนาเอง
เราเหมือนนักดำน้ำที่ดำ่ดิ่งได้แค่พื้นผิวหรือใต้น้ำ
ลองจินตนาการว่าเราอยู่บนหาดทรายที่สวยงาม ท้องฟ้าสีครามสดใส น้ำทะเลใสสะอาด แวววาวจากผลกระทบของแสงแดดยามเช้าที่สอดส่องไปยังน้ำทะเลและโคดหิน ทรายเม็ดละเอียดราวกับว่าละมุนเหมือนปุ๋ยเมฆบนท้องฟ้าในเช้าวันใหม่ เปลือกหอยขรุขระ ระเนระนาดตามหาดทรายที่โดนน้ำทะเลซัดเข้าฝั่งแล้วก็จมหายไป
เราคงยืนทื่อ มองออกไปยังสถานที่กว้างไพศาลกับความรู้สึกสบายผ่อนคลายและอ้างว้าง อาจมีคำถามมากมายต่างๆแล่นผ่านหัวสมองราวกับฝูงนกที่บินผ่าน ความรู้สึกกับความคิดเราอาจจะแตกต่างกันเป็นธรรมดา แต่ไม่รู้ว่าหลายคนเป็นเหมือนกันไหมว่า “เราเกิดมาต้องค้นหาตัวเองเจอหรือไม่”
ดิฉันคิดว่าทุกคนไม่ต่างจากการดำน้ำ หากพวกเราดำน้ำไม่เป็น ไม่เก่ง เราก็อาจว่ายเฉพาะฝั่งที่มันไม่ตื้นพอที่จะตะเกี่ยตะก่ายขึ้นฝั่งได้ง่าย แต่เรากลับไม่ได้เห็นความสวยงามของใต้ท้องทะเลเบื้องลึกที่เต็มไปด้วยฝูงปลา ปะการังหลากหลากชนิด ความสงบ เงียบเหงาที่คาดว่าเกินการบรรยายเมื่อเราได้สัมผัส ได้เห็นด้วยตาจริง
เปรียบเหมือนกับการใช้ชีวิตที่ไม่เผชิญหน้ากับปัญหาอุปสรรค ความล้มเหลว ความพีคระยำของชีวิต เราจะไม่อดทน ไม่กล้ามากพอที่จะดำดิ่งสู่ใต้ท้องทะเลและเรามักจะรับรู้เรื่องราวของใต้ทะเลผ่านนักดำน้ำ นักสำรวจใต้ท้องทะเล ผู้กล้าหาญ เช่นเดียวกันกับการตั้งคำถาม เราเกิดมาต้องค้นหาตัวเองเจอหรือไม่
ประโยคนี้จะถูกอธิบายและตีความผ่านคนที่เล่ามันได้และคนที่เล่ามันเป็น เราจะตกผลึก ผลอยตามกับการเล่าเรื่อง เราจะพบว่าปัญหาอุปสรรค ความล้มเหลว ความพีคระยำของชีวิตมันจะสอนให้เรามองเห็นความหมายของเรื่องกลายเป็นเรื่องที่ดีในชีวิตเหมือนดิฉันที่ได้เขียนเรื่องตัวเองเพื่อเจอตัวเอง
ดังนั้นสรุปบทความไว้ว่า การเขียน คือ การค้นหาตัวเอง เพื่อให้เห็นว่าเรื่องราวในชีวิตมีจุดระยำ(จุดวิกฤต) แต่เมื่อมันได้ถูกเล่าเรื่องโดยการเขียนแล้ว ทำให้ดิฉันพบว่า ปัญหาอุปสรรคย่อมมีความหมาย การทนความทุกข์ยากเพื่อเขียนให้มีความหมายและเราแค่ให้ความหมายกับความทุกข์ก็เท่ากับเจอตัวเองได้ แม้กระทั่งชีวิตที่สูญเสียอะไรบางอย่างเรื่องเล่าจะถูกชดเชยเป็นการขอบคุณให้กับชีวิตและเสริมสร้างกำลังใจ พลังใจในการดำรงอยู่ต่อไป
Before saying goodbye at the end of the chapter Take this opportunity to thank the course 437-310 Research Methods and Seminar. Faculty of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University Pattani Campus that allowed me to learn the process of writing Search for information on both theory and practice. as well as producing this article until it was successful. so, I would like to give this article as a gift to all readers.
โฆษณา