24 ก.ค. เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

หุ้นสหรัฐฯ All Time High และโอกาสลงทุนในครึ่งปีหลัง

โอกาสลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 หลายคนมองไปที่ตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ ที่ดัชนี S&P 500 มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างสถิติ All Time High หลายครั้งในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา จากการเติบโตของ The Magnificent 7 หรือหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ 7 แห่งของสหรัฐฯ
ได้แก่ Alphabet, Amazon, Apple, Meta, Microsoft, NVIDIA และ Tesla ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักรวมกันถึง 31% ของดัชนี S&P 500 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567) โดยได้รับประโยชน์จากความต้องการเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น และกระแสการตอบรับปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ที่แข็งแกร่ง
เหตุผลเหล่านี้ทำให้นักลงทุนสนใจการลงทุนในตลาดสหรัฐฯ มากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่านักลงทุนรายย่อยยังคงมีความกังวลเรื่อง “ภาษีหุ้นนอก” ทำให้ไม่กล้าลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ เนื่องจากช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้มีการปรับปรุงเรื่องการเก็บภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากต่างประเทศ จากเดิมผู้มีเงินได้ที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน เมื่อมีเงินได้จากต่างประเทศในปีใด และนำเงินกลับเข้ามาในปีภาษีเดียวกัน ให้นำรายได้นั้นมาคิดรวมคำนวณภาษี
แต่หากนำเงินกลับเข้ามาข้ามปีภาษี ไม่ต้องนำรายได้นั้นมาคิดรวมคำนวณภาษี เปลี่ยนเป็นผู้มีเงินได้ที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน เมื่อมีเงินได้จากต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เมื่อนำเงินกลับเข้ามาไม่ว่าในปีภาษีใด ให้นำรายได้นั้นมาคิดรวมคำนวณภาษี
ความเปลี่ยนแปลงนี้ครอบคลุมไปถึงเงินได้จากการลงทุนประเภทต่าง ๆ ที่เกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่อยู่นอกประเทศไทย เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในต่างประเทศ กำไรจากการขายหุ้นต่างประเทศ เงินปันผลจากหุ้นต่างประเทศ รวมไปถึงเงินปันผลจากกองทุนรวมในต่างประเทศ ภาษีดังกล่าวส่งผลทำให้ต้นทุนของการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้นก่อนตัดสินใจไปลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนควรทำความเข้าใจเรื่องภาษีและวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถรู้ต้นทุนที่แท้จริงและสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายการลงทุน
สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความกังวลเรื่องภาษีซ้ำซ้อน ปัจจุบัน การลงทุนในต่างประเทศก็มีเครื่องมือมากขึ้น เช่น กองทุน ETF (Exchange Traded Fund) เพราะเมื่อนักลงทุนมีเงินได้จากการลงทุนต่างประเทศ แต่เสียภาษีในประเทศนั้น ๆ แล้ว โดยที่ประเทศนั้นมีอัตราการเสียภาษีสูงกว่าไทยและมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทย นักลงทุนก็ไม่ต้องเสียภาษีซ้ำอีก
นอกจากนี้ กองทุน ETF ยังมีนโยบายการลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนให้ออกมาเทียบเท่า หรือใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงให้มากที่สุด โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนเชิงรับ หรือ Passive Management ก็ทำให้มีค่าธรรมเนียมที่ถูกลงอีกด้วย
ดังนั้นนักลงทุนที่สนใจการลงทุนในตลาดสหรัฐฯ และต้องการเติบโตไปกับดัชนี S&P 500 กองทุน ETF จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ทาง BBLAM ขอแนะนำกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นยูเอสพาสซีฟ หรือ B-USPASSIVE ที่มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของ SPDR S&P 500 ETF Trust (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ของสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบัน กองทุนหลักของ B-USPASSIVE มีการลงทุนสอดคล้องไปกับดัชนี S&P 500 ทำให้มีการกระจายลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การเงิน สุขภาพ สินค้าฟุ่มเฟือย และการสื่อสาร โดยหุ้นที่มีน้ำหนักมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ Microsoft, Apple, NVIDIA, Amazon และ Meta ซึ่งทั้งหมดอยู่ในหุ้นกลุ่ม The Magnificent 7 และ 3 บริษัทในกลุ่มนี้มีมูลค่าตลาดมากกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ ได้แก่ Apple, Microsoft และ NVIDIA ซึ่งสะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อบริษัทเทคโนโลยี โดยเฉพาะบริษัทที่เข้าลงทุนในธุรกิจ AI
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นยูเอสพาสซีฟ (B-USPASSIVE) เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 23 - 31 กรกฎาคม 2567 ผู้ลงทุนที่สนใจสามารถลงทุนได้ง่ายๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรือแอป BF Fund Trading จาก BBLAM และตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยเริ่มต้นลงทุนได้เพียง 500 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ BBLAM
• โทร. 0 2674 6488 กด 8
• เว็บไซต์ www.bblam.co.th
• ลงทุนด้วยตนเองง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรือแอป BF Fund Trading จาก BBLAM ได้ที่ https://www.bblam.co.th/BFTTrade
คำเตือน : การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
#BBLAM #กองทุนบัวหลวง #BFFundTrading #MobileBanking #ธนาคารกรุงเทพ #BUSPASSIVE #ETF #AI #Magnificent7 #Alphabet #Amazon #Apple #Meta #Microsoft #NVIDIA #Tesla
โฆษณา