24 ก.ค. เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

หลากปัจจัยหนุนเศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตช่วงครึ่งปีหลัง

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (15 - 19 กรกฎาคม 2567) ดัชนี Nikkei 225 ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นประมาณ 0.7% และมีการปรับขึ้นระหว่างสัปดาห์สูงสุด 3.6% ซึ่งเป็นการตอบรับเชิงบวกต่อข่าวกระแสเงินทุนต่างชาติไหลกลับเข้าตลาดญี่ปุ่นอีกครั้ง เนื่องจากการคาดการณ์กําไรของบริษัทจดทะเบียนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ที่น่าจะออกมาแข็งแกร่ง
ยกตัวอย่าง Fast Retailing บริษัทค้าปลีกเสื้อผ้าและเจ้าของแบรนด์ Uniqlo ที่เพิ่งรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ว่ามีกําไรเพิ่มขึ้น 29% (YoY) ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ เนื่องจากแรงหนุนของยอดขายที่แข็งแกร่งในญี่ปุ่น นอกจากนี้ บริษัทยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์กําไรทั้งปี 2567 เป็น 475,000 ล้านเยน จากเดิมที่ 450,000 ล้านเยนอีกด้วย
ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังของญี่ปุ่นได้ออกมาเปิดเผยมูลค่าการส่งออกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 5.4% ในเดือนมิถุนายน (YoY) และนับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันแล้ว โดยมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นได้รับแรงสนับสนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยน รวมถึงความต้องการอุปกรณ์สำหรับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และโลหะที่ไม่มีแร่เหล็กเป็นส่วนประกอบ (Non-Ferrous Metal)
ข้อมูลดังกล่าวนับเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว ท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น การปรับขึ้นค่าจ้าง ซึ่งเป็นผลบวกต่อกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค, นโยบายการปรับโครงสร้างธุรกิจโดยตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ซึ่งพยายามให้บริษัทจดทะเบียนหันมาทำแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินเยนก็เป็นแรงสนับสนุนสำคัญที่ทำให้การท่องเที่ยวของญี่ปุ่นเฟื่องฟูอย่างมาก และส่งผลทำให้ญี่ปุ่นมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดย Tourist Spending หรือการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 1.8 ล้านล้านเยน หรือสูงถึง 210,000 เยนต่อคนต่อทริป
จะเห็นได้ว่ามีหลากหลายปัจจัยกำลังสนับสนุนให้ดัชนีของตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้น ซึ่งหนึ่งในดัชนีที่โดดเด่นคือ Nikkei 225 ที่สะท้อนการเคลื่อนไหวราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนญี่ปุ่น 225 แห่ง ซึ่งถูกคัดเลือกมาจากอุตสาหกรรมทั้งหมด 36 กลุ่ม ทำให้มีการกระจายลงทุนในหลากหลายธุรกิจ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ค้าปลีก และเคมี
สำหรับนักลงทุนที่สนใจการลงทุนในดัชนีดังกล่าว BBLAM ขอแนะนำ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่นพาสซีฟ หรือ B-JPPASSIVE ที่มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของ NEXT FUNDS Nikkei 225 Exchange Traded Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุน ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีนโยบายการลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนให้ออกมาเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงให้มากที่สุด โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนเชิงรับ (Passive Management) ทำให้มีค่าธรรมเนียมที่ถูกลง และไม่เสียภาษีจากการลงทุนต่างประเทศ
ปัจจุบัน กองทุนหลักของ B-JPPASSIVE มีหุ้นที่มีน้ำหนักมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ Fast Retailing บริษัทค้าปลีกเสื้อผ้าและเจ้าของแบรนด์ Uniqlo, Tokyo Electron ผู้ผลิตอุปกรณ์สำหรับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์, SoftBank บริษัทโฮลดิ้งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, Advantest Corporation ผู้ผลิตอุปกรณ์ทดสอบอัตโนมัติ และ Shin-Etsu Chemical ผู้ผลิตซิลิโคนที่ถูกใช้แทบทุกอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสำอาง การก่อสร้าง และอาหาร
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่นพาสซีฟ (B-JPPASSIVE) เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 23 - 31 กรกฎาคม 2567 ผ่านทางโมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ, แอป BF Fund Trading จาก BBLAM และตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยเริ่มต้นลงทุนได้เพียง 500 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ BBLAM
• โทร. 0 2674 6488 กด 8
• เว็บไซต์ www.bblam.co.th
• ลงทุนด้วยตนเองง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรือแอป BF Fund Trading จาก BBLAM ได้ที่ https://www.bblam.co.th/BFTTrade
คำเตือน : การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
 
#BBLAM #กองทุนบัวหลวง #BFFundTrading #MobileBanking #ธนาคารกรุงเทพ #BJPPASSIVE #ญี่ปุ่น #เงินเยน #หุ้นญี่ปุ่น #การลงทุน
โฆษณา