24 ก.ค. 2024 เวลา 09:00 • สิ่งแวดล้อม

ธุรกิจรีไซเคิล กับการปรับตัวสู่ทศวรรษหน้า

(บทความจาก : กรุงไทย SME FOCUS Issue 43 คอลัมน์ SME Go Green)
ในยุคสมัยที่โลกก้าวข้ามภาวะโลกร้อน เข้าสู่ยุคภาวะโลกเลือดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็ก หรือใหญ่ต่างก็ต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับบริบทด้านสิ่งแวดล้อมกันทั้งนั้น ซึ่งนี่อาจจะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของหลาย ๆ ธุรกิจที่จะต้องส่งต่อให้ทายาทท่ามกลางวิกฤติครั้งใหญ่ที่ แทบจะไม่มีใครได้ประโยชน์เลย
แต่ไม่ใช่สําหรับธุรกิจรีไซเคิล ที่ถึงแม้ว่าตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาแทบจะไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนอะไรเท่าไรนัก แต่ในทศวรรษหน้าที่จะถึงนี้อาจเปลี่ยนร้านรับซื้อของเก่าธรรมดาให้กลายเป็นธุรกิจดาวเด่นขึ้นมา หรือกลายเป็นธุรกิจล้าสมัยไปเลยก็ได้ อะไรทําให้ลุงคิดอย่างนั้น?
จุดเปลี่ยนร้านรับซื้อของเก่า มุ่งสู่ "ธุรกิจดาวเด่น" หรือดิ่งลง "ธุรกิจล้าสมัย"
1. อย่างแรกเลยคือ แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ที่มองทรัพยากรบนโลกนี้บนพื้นฐานของความยั่งยืนมากกว่าความมั่งคั่ง ยิ่งมนุษย์ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกเดือด มนุษย์ก็จะยิ่งตระหนักถึงความรับผิดชอบของตัวเองมากขึ้น นี่จึงทําให้พวกเขาเริ่มมองหาธุรกิจด้านการหมุนเวียนที่น่าเชื่อถือมากกว่าเดิม ผู้ทําธุรกิจรีไซเคิลในไทยอาจจะแปลกใจถ้ารู้ว่า ในสหรัฐอเมริกามีการเรียกเก็บเงินรายเดือนสําหรับคนที่ต้องการให้นําขยะของตัวเองไปรีไซเคิลแทนการฝังกลบ เช่น Ridwell, Rabbit Recycling ในขณะที่บ้านเราจ่ายเงินก็ยังไม่มีใครเก็บขยะให้
2. กฎหมายบังคับแม้คนที่ไม่อยาก Green
แต่เดิมนั้นตลาดสําหรับคนสายกรีนถือเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ขนาดเล็กเกินกว่าที่ธุรกิจยักษ์ใหญ่จะลงมาทําการตลาด แต่ด้วยกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นจะทําให้บริบทเปลี่ยนไป
เช่น กฎหมาย EPR หลักการการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตต่อผลิตภัณฑ์ซึ่งกําลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ก็อาจจะส่งผลดีต่อธุรกิจรีไซเคิลที่เป็นหนึ่งในกลไกสําคัญในกระบวนการ EPR หรือ กฎหมายของบางประเทศก็อาจจะส่งผลกระทบไปทั่วโลกได้ด้วย เช่น Plastic Packaging Tax ของประเทศอังกฤษ ที่เก็บภาษีกับบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้ทําจากพลาสติกรีไซเคิลก็ช่วยกระตุ้น Demand ของวัสดุรีไซเคิล ทั่วโลกไปด้วย
3. คำสัญญาที่ยังไม่มีทางออกของแบรนด์ดัง
สังเกตได้จากหน้าเว็บไซต์ของบริษัท ชั้นนําทั่วโลก หัวข้อหนึ่งที่เราจะได้เห็นแน่ๆ นอกจากรายการสินค้านั่นก็คือ "หัวข้อคํามั่นสัญญาด้านความยั่งยืน” นั่นเอง ที่มีการกําหนดเวลาเอาไว้ภายในปี ค.ศ. 2030-2050 แม้ว่าหลาย ๆ คําสัญญาดูเหมือน
แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย โดยเฉพาะคําสัญญาในเรื่องของการรีไซเคิล 100% จนมี
การคิดกลไก พลาสติกเครดิต เพื่อใช้เงินในการแก้ปัญหาซื้อขายกันแทน คล้ายคลึง
กับคาร์บอนเครดิต ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะทําให้ธุรกิจรีไซเคิลสามารถเข้ามาเติมเต็มได้อย่างดีเลยทีเดียว
ถึงสถานการณ์จะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจรีไซเคิล แต่ข้อควรระวังอย่างหนึ่งของ
ธุรกิจรีไซเคิลโดยเฉพาะผู้ประกอบการในบ้านเราก็คือ ด้านมาตรฐานการจัดการและการปล่อยมลพิษ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม มาตลอด หากเราไม่สามารถปรับตัวได้
ก็ไม่แน่ว่าเม็ดเงินที่ไหลมาอาจจะตกไปอยู่ ในมือแบรนด์ใหญ่หรือต่างชาติแทน
โฆษณา