Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เอกวัฒน์ ฉันวิจิตร
•
ติดตาม
25 ก.ค. 2024 เวลา 12:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
พบออกซิเจน ที่ก้มหาสมุทรแปซิฟิก อาจไขปริศนากำเนิดชีวิตแรกบนโลก
วันที่ 22 ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา มีการตีพิมพ์งานวิจัย พบออกซิเจนที่ก้นมหาสมุทรแปซิฟิก ลงนิตยสาร Nature
โดยคณะผู้วิจัยประกอบด้วย
- Andrew K. Sweetman
- Danielle S. W. de Jonge
- Alycia J. Smith
- Tobias Hahn
- Peter Schroedl
- Claire Andrade
- Jeffrey J. Marlow
- Michael Silverstein
- R. Lawrence Edwards
- Alastair J. M. Lough
- Clare Woulds
- William B. Homoky
- Andrea Koschinsky
- Sebastian Fuchs
- Thomas Kuhn
- Franz Geiger
ตรวจพบออกซิเจนที่ผลิตขึ้นที่ก้นมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ระดับความลึก 4000 เมตร โดยนักวิจัยเชื่อว่าออกซิเจนที่พบนี้อาจมาจากหินโลหะชนิดหนึ่งพบใต้มหาสมุทร โดยการแยกโมเลกุลของน้ำด้วยกระแสไฟฟ้า ทำให้ได้แก๊สออกซิเจน และไฮโดรเจน
จากการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้าพบว่าหินดังกล่าว มีความต่างศักย์ไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 0.95 โวลต์ ถึงแม้ว่า ศักย์ไฟฟ้าที่ทำให้โมเลกุลของน้ำแตกตัวจะอยู่ที่ 1.5 โวลต์ แต่หากนำหินดังกล่าวมาต่อกับหินก้อนอื่นๆ โดยต่อแบบอนุกรมจะทำให้ได้แรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสองเท่าซึ่งมากพอจะทำให้โมเลกุลน้ำแตกตัวได้
หินดังกล่าวมีชื่อว่า polymetallic nodules ซึ่งเกิดจากการเรียงตัวกันเป็นชั้นของเหล็ก(Fe) และ แมงกานีสไฮกรอกไซด์(MnO2)
ข้อมูลจาก
1. https://www.nature.com/articles/s41561-024-01480-8
2. https://www.nature.com/articles/d41586-024-02393-7?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2bi0ZEpGdiiYVjDVTfwHEngJmfN97VJaYbh_NvXy5JWMjiKE0vKBKbCGA_aem_LrRo4J4u2JO5c6XlJOSsUQ
ภาพหิน polymetallic nodules ซึ่งเกิดจากการเรียงตัวกันของธาตุเหล็กและแมงกานีสไฮดรอกไซด์
วิทยาศาสตร์
เคมี
ชีววิทยา
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย