26 ก.ค. เวลา 06:08 • การศึกษา

วงจรไฟฟ้าพื้นฐาน มีกี่ประเภท ?

การต่อวงจรไฟฟ้า ทั้งกระแสตรง และ กระแสสลับ มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้
1 แบบอนุกรม ( Series Circuit )
เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด
การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม
1.1 กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันและมีทิศทางเดียวกันตลอดทั้งวงจร
1.2 ความต้านทานรวมของวงจรจะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน
1.3 แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
2. แบบขนาน ( Parallel Circuit )
เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ
ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน
2.1 กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน
2.2 แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
2.3 ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร
วงจรไฟฟ้าแบบขนาน
3. แบบผสม ( Compound Circuit )
การต่อวงจรทั้งแบบอนุกรมและแบบขนานเข้าไปในวงจรเดียว การต่อแบบนี้ โดยทั่วไปไม่นิยมใช้กัน เพราะเกิดความยุ่งยาก จะใช้กันแต่ในทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ตัวต้านทานตัวหนึ่งต่ออนุกรมกับตัวต้านทานอีกตัวหนึ่ง แล้วนำตัวต้านทานทั้งสองไปต่อตัวต้านทานอีกชุดหนึ่ง
จะสังเกตเห็นได้ว่าการต่อวงจรแบบผสมนี้เป็นการนำเอาวงจรอนุกรมกับขนานมารวมกัน และสามารถประยุกต์เป็นรูปแบบอื่นๆได้ ข้นอยู่กับการนำไปใช้ให้เหมาะสม เพราะการต่อแบบผสมนี้ไม่ม่ กฏเกณฑ์ตายตัว เป็นการต่อเพื่อนำค่าที่ได้ไปใช้กับงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ในวงจรอิเล็กทรอิกส์ เป็นต้น
ลักษณะการต่อวงจร
1. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม คือ การนำขั้วของอุปกรณ์มาต่อเรียงกัน เหมือนการต่อโบกิ้ หรือตู้รถไฟ
2. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน คือ การนำขั้วของอุปกรณ์ทั้งหมด ที่เป็นขั้วด้านเดียวกันมาต่อรวมกัน
3. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม คือ การต่อวงจรทั้งสองแบบรวมเข้าด้วยกัน การต่อแบบนี้ต้องมีความระมัดระวัง และเลือกใช้ให้ถูกกับลักษณะงาน
วงจรไฟฟ้าแบบผสม
เปรียบเทียบการต่อวงจรแบบอนุกรม และการต่อวงจรแบบขนาน
.
คุณลักษณะ แบบอนุกรม แบบขนาน
ความสว่างรวม ( วัตต์ ) สว่างน้อย สว่างมาก
ปริมาณกระแสไฟฟ้า กระแสเท่าหลอดเล็กที่สุด เท่ากับทุกหลอดรวมกัน
กรณีหลอดขาด หลอดดับทั้งสาย ดับเฉพาะหลอดที่ขาด
ถ้าติดตั้งสวิทช์ ต้อง เปิด/ปิด พร้อมกัน แยกสวิทช์ เปิด/ปิด ได้
โฆษณา