26 ก.ค. เวลา 07:38
วัดพระธรรมกาย

🌟กัณฑ์ที่ ๐๔ อาทิตตปริยายสูตร (ตอน ๑)🌟

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺธสฺส ฯ (๓ ครั้ง)
เอวมฺเมสุตํฯ เอกํ สมยํ ภควา กยายํ วิหรติ คยาสีเส สทฺธํ ภิกฺขุสหสฺเสนฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขุ อามนฺเตสีฯ
สพฺพํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํฯ กิญฺจ ภิกฺขเว สพฺพํ อาทิตฺตํฯ จกฺขํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ รูป อาทิตฺตา จกฺขุวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ จักฺขุสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ยมฺปิทํ จกุขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา ตมฺปิ อาทิตฺตํฯ เกน อาทิตฺตํฯ อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทคฺคินา โมหคฺคินา อาทิตฺตํ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตนฺติ วทามิฯ
โสตํ อาทิตฺตํ สทฺทา อาทิตฺตา โสตวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ โสตสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ยมฺปิทํ โสตสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา ตมฺปิ อาทิตฺตํฯ เกน อาทิตฺตํ ฯลฯ อิมสุมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสุมิ ภณฺณฺมาเน ตสฺส ภิกฺขุสหสฺสสฺส อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจํสูติฯ
ณ บัดนี้อาตมาภาพจักได้แสดงธรรมิกถา เรื่อง ทิตตปริยายสูตร ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแก่ชฎิลหนึ่งพัน มีปุราณกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป เป็นประธาน พระบรมศาสดาจารย์ทรงทรมานชฎิลทั้งหลายเหล่านี้ ได้ทรงทำปาฏิหาริย์มากอย่าง จะทำปาฏิหาริย์สักท่าหนึ่งท่าใด ชฎิลผู้เป็นประธานปุราณชฎิลนั้นก็ยังแย้งว่า สู้ของเราไม่ได้ร่ำไป จนกระทั่งหมดทิฏฐิมานะยอมรับธรรมเทศนาเชื่อต่อพระศาสดา พระองค์จึงได้ทรงแสดงธรรมเทศนาให้ชฎิลละทิฏฐิของตน พร้อมด้วยบริวารทั้งสามพี่น้อง เมื่อยอมรับถือตามคำสอนของพระศาสดาแล้ว
เมื่อได้เวลาสมควรพระองค์ก็ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร แก่ชฏิลทั้งหลายเหล่านั้น มีปุราณชฏิลเป็นต้น อาทิตตปริยายสูตรนี้แสดงของร้อนให้ชฏิลเข้าเนื้อเข้าใจ เพราะชฏิลทั้งหลายเหล่านั้นเคยบูชาไฟมาชำนิชำนาญ ชำนาญในการร้อน พระองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรเรื่องของร้อนทั้งนั้น
ตามวาระพระบาลีที่ยกไว้เบื้องต้นว่า
เอวมฺเม สุตํ อันข้าพเจ้าพระอานนท์เถระ ได้สดับตรับฟังแล้วด้วยอาการอย่างนี้
เอกฺ สมยํ สมัยครั้งหนึ่ง
ภควา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงเสด็จประทับอยู่ ณ คยาสีสะประเทศ ใกล้แม่น้ำคยา พร้อมด้วยภิกษุหนึ่งพันรูป ทรงรับสั่งเตือนพระภิกษะทั้งหลายเหล่านั้นว่า สพฺพํ ภิกขเว อาทิตฺตํ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทังปวงเป็นของร้อน
กิญฺจ ภิกฺขเว สพฺพํ อาทิตฺตํ ภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเล่าเป็นของร้อน
จกฺขํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ นัยน์ตาเป็นของร้อน
รูปา อาทิตฺตา รูปทั้งหลายเป็นของร้อน
จกฺขุสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ความสัมผัสถูกต้องทางตาเป็นของร้อน
ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกอารมณ์มีขึ้นเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน
เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร
อาทิตฺตํ ชาติยา ร้อนเพราะชาติ ร้อนเพราะความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะความโกรธ ประทุษร้าย ร้อนเพราะความหลง งมงาม
อาทิตฺตํ ชรามรเณน ร้อนเพราะ ชาติความเกิด ชราความแก่ มรณะความตาย โศกความแห้งใจ ปริเทวะความพิไรรำพัน ทุกข์เพราะความไม่สบายกาย โทมนัสเพราะเสียใจ อุปายาสเพราะความคับแค้นใจ เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน
โสตํ อาทิตตฺตํ หูเป็นของร้อน
สทฺทา อาทิตฺตา เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน
โสตวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้ทางหูเป็นของร้อน
โสตสมฺผสฺโส อาทิตฺโต การกระทบถูกต้องทางหูเป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์อันนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสต สัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้างไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน
เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราอะไร
อาทิตฺตํ ร้อนเพราะความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะความโกรธประทุษร้าย ร้อนเพราะความหลงงมงาม
อาทิตฺตํ ร้อนเพราะชาติความเกิด ชราความแก่ โศกความแห้งใจ ปริเทวความพิไร ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความเสีย อุปายาสความคับแค้นใจ นั้นเราว่า เป็นของร้อน
ฆานํ อาทิตฺตํ จมูกก็เป็นของร้อน
คนฺธา อาทิตฺตา กลิ่นที่กระทบจมูกก็เป็นของร้อน
ฆานวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้ทางจมูกก็เป็นของร้อน
ฆานสมฺมสฺโส อาทิตฺโต การกระทบทางจมูกก็เป็นของร้อน
ยมฺปิทํ ฆานสมฺผสฺสปจฺจมา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา อารมณ์อันมีเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง นั้นก็เป็นของร้อน เพราะอะไร ร้อนเพราะความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะความโกรธประทุษร้าย ร้อนเพราะความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติความเกิด ชราความ แก่ มรณะความโศกความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความเสียใจ อุปายาส ความคับ แค้นใจ นั้นเรากล่าวว่าเป็นของร้อน
ชิวฺหา อาทิตฺตา ลิ้นก็เป็นของร้อน
รสา อาทิตฺตา รสที่กระทบลิ้นก็เป็นของร้อน
ชิวฺหาวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ ความรู้สึกของลิ้นก็เป็นของร้อน
ชิวฺหาสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ความสัมผัสแห่งลิ้นก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดขึ้น เพราะอาศัยชิวหาเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง นั่นก็เป็นของร้อน
เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะความกำหนัดยินดี ความโกรธ ประทุษร้ายความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติความเกิด ชราความแก่มรณะความตาย โศกความแห้งใจ ปริเทวะความพิไรรำพันเพ้อ ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความเสียใจ อุปายาสความคับ แค้นใจ นั่นเรากล่าวว่าเป็นของร้อน
กาโย อาทิตฺโต กายก็เป็นของร้อน
โผฎฺฐพฺพา อาทิตฺตา ความถูกต้องของกาย ความสัมผัสของกาย สิ่งที่ถูกต้องกายก็เป็นของร้อนความรู้แจ้งทางกายก็เป็นของร้อน ความสัมผัสถูกต้องทางการก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ ทุกข์บ้าง นั่นก็เป็นของร้อน
เกน อาทิตฺตํ ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะความกำหนัดยินดี ความโกรธ ประทุษร้ายความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติความเกิด ชราความแก่มรณะความตาย โศกความแห้งใจ ปริเทวะความพิไรรำพันเพ้อ ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความเสียใจ อุปายาสความคับแค้นใจ
อาทิตฺตนฺติ วทามิ นั่นเรากล่าว่า เป็นของร้อน
มโน อาทิตฺโต ใจก็เป็นของร้อน
ธมฺมา อทิตฺตา ธรรมทั้งหลายก็เป็นของร้อน
มโนวิญฺญานํ อาทิตฺตํ ความรู้แจ้งทางใจก็เป็นของร้อน
มโน สมฺผสฺโส อาทิตฺโต ความถูกต้องทางใจก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอามรณ์นึกคิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง นั่นเป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะชราความแก่ มรณะความตาย โศกความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสของความเสียใจ อุปยาสความคับแค้นใจ
อาทิตฺตนฺติ วทามิ นั่นเรากล่าวว่า เป็นของร้อน
เอวํ ปสฺสํ ภิขฺขเว สุตรา อริยสาวโก ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้ได้ฟังแล้ว เมื่อได้เห็นแล้วอย่างนี้
จกฺขุสฺมีปํ นพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในตาบ้าง
รูเปสุปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในรูปบ้าง
จกฺขุวิญฺญาณเณปิ นิพฺพินฺตติ เบื่อหน่ายในจักษุวิญญาณบ้าง
จกฺขุสมฺผัสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในตาสัมผัสบ้าง
ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยมา อุปฺปชุชติ เทวยิตํ ความรู้สึกอารมณ์อันนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้นั้น
โสตสฺสีปํ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในหูบ้าง
สทฺเทสุปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายทั้งในเสียง
โสตวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายทั้งในความรู้ทางหูบ้าง
โสตสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺนติ เบื่อหน่ายในความกระทบถูกต้องทางหูบ้าง
ยมฺปิทํ โสตสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกอารมณ์อันนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้น
ฆานสฺมิปํ นิพฺพนฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในจมูกบ้าง
คนฺเธสุปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในกลิ่นทั้งกลายบ้าง
ฆานวิญฺญาณเณปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ในทางจมูกบ้าง
ฆานสมฺผสฺเสปิ นิพฺพนฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในทางกระทบถูกต้องทางจมูกบ้าง
ยมฺปิทํ ฆานสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆาน สัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใดเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์ บ้างย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้น
ชิวฺหายปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในลิ้นบ้าง
รเสสุปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในรสทั้งหลายบ้าง
ชิวฺหาวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ในทางลิ้นบ้าง
ชิวฺหาสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในชิวหาสัมผัสบ้าง
ยมฺปิทํ ชิวฺหาสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺ ชติ เทวยิตํ ความรู้สึกเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหา สัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้น
กายสฺสิปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในกายในบ้าง
โผฏฐพฺเทพสุปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่มากระทบกายบ้าง
กายวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ทางกายบ้าง
กายสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในการถูกต้องบ้าง
ยมฺปิทํ กายสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้น
มนสฺมีปํ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในใจบ้าง
ธมฺเมสฺปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมมารมณ์บ้าง
มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ทางใจบ้าง
มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ย่อมเบื่อหน่ายในความถูกต้องทางใจบ้าง
ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ความรู้สึกเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโน สัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้น
นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด
วิราดา วิมุจฺจติ พอสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น
วิมุตฺตสฺมํ วิมุตฺตมิติ เมื่อจิตหลุดพ้นเกิดความรู้ขึ้นว่าพ้นแล้วดังนี้ พระอริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีกแล้ว
อิทมโรจ ภควา สมเด็จพระผู้มีพระภคทรงตรัสธรรมบรรยายอันนี้แล้ว
อตฺตมนา เต ภิกขุ ภิกขุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจยินดี
ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ์ เพลิดเพลินในภาษิตของพระผู้มีพระภาค
อิมสฺมิญจ ปน เวยฺยากรณสฺสมํ ภญฺญมาเน ก็แลเมื่อเวยกรณีอันพระผู้มีพระภาคทรงตรัสอยู่ จิตของพระภิกษุหนึ่งพันรูปเหล่านั้น ก็พ้นจากอาสวะทั้งหลายพร้อมด้วยความไม่ถือมั่นด้วยประการฉะนี้ นี่จบอาทิตยตปริยายสูตรต่อแต่นี้จะชี้แจงตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย ต่อไป
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร
🌟รับธรรมะดี ๆ ที่เป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจในการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงความสุขภายในได้ที่นี่
โฆษณา