27 ก.ค. เวลา 04:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ฝรั่งเศส ดินแดนที่ใช้เรื่องราว สร้างประเทศจนยิ่งใหญ่

Hermès, Louis Vuitton, Chanel, Dior, L'Oréal และ Michelin
แบรนด์เหล่านี้ มีรากเหง้ามาจากประเทศเดียวกัน นั่นก็คือ “ฝรั่งเศส” ซึ่งแม้แบรนด์ส่วนใหญ่ จะมีอายุเกินกว่าหนึ่งร้อยปีแล้ว แต่ก็ยังคงมีความแข็งแกร่ง มาจนถึงปัจจุบัน
รู้หรือไม่ว่า ทั้ง 5 ใน 6 แบรนด์นี้ ติดอันดับ 100 แบรนด์ที่มีมูลค่ามากสุดในโลก
ถ้าถามต่อไปว่า แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้ แบรนด์เหล่านี้มีมูลค่ามากขนาดนี้ ?
1
คำตอบคือ Story หรือ เรื่องราว ที่เป็นเอกลักษณ์ ของความเป็นฝรั่งเศสนั่นเอง
การสร้างเรื่องราว มีส่วนช่วยสร้างแบรนด์ ไปจนถึงสร้างชาติฝรั่งเศส ได้อย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
หากพูดถึงฝรั่งเศส หลายคนจะนึกถึงศูนย์กลางของแฟชั่น ความหรูหรา ไปจนถึงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์
2
ซึ่งเอกลักษณ์ที่ว่านี้ ได้แฝงตัวเข้าไปอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผู้คนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องแต่งกาย กระเป๋า เครื่องสำอาง รถยนต์ ไปจนถึงอาหาร
2
และเห็นได้จากหลาย ๆ แบรนด์ของฝรั่งเศส ที่สามารถตั้งราคาขายสินค้าธรรมดา ๆ ในราคาสูงได้
โดยที่สินค้าเหล่านั้น ไม่ใช่สินค้าเทคโนโลยีที่ต้องเสียค่า R&D สูง ๆ หรือต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตเลย แต่ใช้เพียงแค่การสร้างเรื่องราว (Story) ขึ้นมา
1
การสร้างเรื่องราวนี้เอง ที่เป็น Soft Power ผลักดันวัฒนธรรมของฝรั่งเศส ให้ไปแข่งขันในระดับโลกได้สำเร็จ
1
แล้วการสร้างเรื่องราว มีส่วนช่วยสร้างชาติฝรั่งเศส ได้อย่างไร ?
เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในอดีต ในช่วงที่ฝรั่งเศส ยังคงปกครองด้วยระบอบกษัตริย์
เหล่าสมาชิกราชวงศ์ และขุนนางของฝรั่งเศส มักจะใช้เวลาส่วนมาก ไปกับงานศิลปะ และประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การแต่งกาย
1
- พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ได้เริ่มใช้วิกผมมาสวมใส่ และใช้รองเท้าส้นสูง
- มาดามเดอ ปอมปาดัวร์ สนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ได้มีการใช้น้ำหอม ในการปกปิดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากร่างกาย และริเริ่มการสวมเสื้อคลุมยาว กระโปรงสุ่มไก่
2
- พระราชินี มารี อ็องตัวแน็ต ในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เป็นผู้ริเริ่มการทำทรงผมที่มีความสูงถึง 60 เซนติเมตร
2
สิ่งเหล่านี้ มีส่วนช่วยให้วัฒนธรรมการแต่งกายของฝรั่งเศส แผ่ขยายไปยังเพื่อนบ้าน จนเป็นต้นแบบความหรูหราของยุโรป ในเวลาต่อมา
4
โดยกรุงปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศส ได้ถูกตอกย้ำให้เป็นศูนย์กลางแฟชั่นมากขึ้นอีกครั้ง ภายหลังที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ได้มีการเปลี่ยนผังเมืองใหม่
4
ทำให้เมืองแห่งนี้ มีความสวยงาม มีถนนกว้างใหญ่ และดึงดูดเหล่าช่างตัดเสื้อจากทั่วยุโรปจำนวนมาก ให้มาเปิดร้านเสื้อผ้า จนเป็นจุดกำเนิดของแบรนด์ดังอย่าง Louis Vuitton และ Hermès
3
นอกจากนี้ ยังมีการก่อตั้งโรงเรียนสอนออกแบบเสื้อผ้า ไปจนถึงสมาคมช่างเสื้อชั้นสูง และมีการจัดแฟชั่นโชว์ขึ้น
โดยเป็นครั้งแรกที่ช่างตัดเสื้อ เป็นฝ่ายเสนอแบบเสื้อผ้าให้แก่ลูกค้า ผ่านการโชว์บนร่างคนจริง ๆ จากเดิมที่ลูกค้ามักเป็นผู้เสนอแบบเสื้อผ้า ที่ตนต้องการแก่ช่าง
แม้ต่อมา จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ทำให้สามารถผลิตสินค้าปริมาณมาก ๆ ได้ในคราวเดียว
1
แต่แบรนด์ฝรั่งเศสส่วนใหญ่ ยังคงใช้วิธีผลิตแบบทำมือ ซึ่งทำให้สินค้าของแบรนด์ฝรั่งเศส กลายเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร และมีปริมาณที่จำกัด
1
จะเห็นว่า การที่แบรนด์หรูของฝรั่งเศส มีชื่อเสียงจนกลายเป็นแบรนด์ระดับโลกได้นั้น ล้วนมาจากการมีเรื่องราวอันเป็นเอกลักษณ์ ที่ทำให้แบรนด์เหล่านั้น สะท้อนความเป็น “ฝรั่งเศส” ได้
1
ไม่เพียงแต่เรื่องของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเท่านั้น แม้แต่อาหารการกินของฝรั่งเศส ก็มักจะแสดงถึงความหรูหราเช่นเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ ก็มีรากฐานมาจากราชสำนักฝรั่งเศสในอดีต
1
ด้วยความที่ประเทศฝรั่งเศส อยู่ในทำเลที่มีภูมิอากาศหลากหลายรูปแบบ ทำให้มีความหลากหลายของผลผลิตทางการเกษตร
1
ประกอบกับความพิถีพิถันในการประกอบอาหารของบรรดาพ่อครัวในวัง และการให้ความสำคัญกับการตกแต่งจานอาหารก่อนเสิร์ฟ
1
ทำให้อาหารที่ออกมาในแต่ละจาน มีความสวยงาม และดูมีระดับเหนือกว่าอาหารทั่ว ๆ ไป
1
นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังเป็นต้นกำเนิดของระบบการบริหารครัว โดยมี Chef เป็นหัวหน้า และมีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละคนในครัวอย่างชัดเจน ช่วยให้การทำงานในครัวราบรื่น ในขณะเดียวกัน ก็ยังใส่ใจกับคุณภาพของอาหารมากที่สุด
1
ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำให้อาหารฝรั่งเศส รวมถึงระบบการทำครัว กลายมาเป็นต้นแบบในภัตตาคารหรูทั่วโลก มาจนถึงปัจจุบัน
1
ทั้ง ๆ ที่บางครั้ง อาจไม่ต้องใช้วัตถุดิบราคาแพงเลย โดยราคาอาหารที่แพง ก็มาจากการเพิ่มมูลค่าจาก Process เท่านั้น ซึ่งก็มีที่มาจากเรื่องราวในอดีต
3
มาถึงตรงนี้ หลายคนก็คงเห็นแล้วว่า แนวคิดการสร้างเรื่องราวที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีต นับร้อยปีนั้น มีส่วนทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ของฝรั่งเศส เติบโตไปไกลระดับโลกได้อย่างไร..
สุดท้ายนี้ หากเรานำแบรนด์หรู ที่ได้พูดถึงไปในตอนต้น
มาเรียงตามมูลค่าแบรนด์ ที่ทาง Interbrand ได้จัดทำไว้ จะพบว่าในปี 2023
Louis Vuitton มีมูลค่าแบรนด์อยู่ที่ 1,680,000 ล้านบาท เป็นแบรนด์มูลค่าสูงสุด อันดับ 14 ของโลก
1
Chanel มีมูลค่าแบรนด์ 1,120,000 ล้านบาท
เป็นแบรนด์มูลค่าสูงสุด อันดับ 22 ของโลก
2
Hermès มีมูลค่าแบรนด์ 1,090,000 ล้านบาท
เป็นแบรนด์มูลค่าสูงสุด อันดับ 23 ของโลก
2
L'Oréal มีมูลค่าแบรนด์ 493,000 ล้านบาท
เป็นแบรนด์มูลค่าสูงสุด อันดับ 57 ของโลก
1
Dior มีมูลค่าแบรนด์ 350,000 ล้านบาท
เป็นแบรนด์มูลค่าสูงสุด อันดับ 76 ของโลก
1
ถ้าหากในวันนี้ เราจะหาประเทศหนึ่ง ๆ ที่จะมาแข่งขันสร้างเทคโนโลยีกับสหรัฐอเมริกา หลายคนคงนึกถึงประเทศจีน
แต่ถ้าหากถามว่า ประเทศใดจะมาแข่งขันด้านแบรนด์หรูกับฝรั่งเศส ?
1
เราอาจต้องใช้เวลาคิดนานขึ้น หรือบางทีเราอาจคิดไม่ออกเลยทีเดียว..
—------------
L'Oréal, Hermès และ LVMH เจ้าของแบรนด์ Louis Vuitton และ Dior
3 หุ้นนี้ อยู่ในกองทุน MEGA10EURO
1
“กองทุน MEGA10EURO เปิดจอง IPO”
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัททรงอิทธิพลในยูโรโซน กับ MEGA10EURO
- กองทุนเปิด MEGA10EURO ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10EURO-A) ชนิดเพื่อการออม (MEGA10EURO-SSF) และกองทุนเปิด MEGA10EURO เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10EURORMF) เป็นกองทุนที่จะเข้าไปลงทุนในบริษัทที่อยู่ใน Euro Stoxx 50 ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มประเทศยูโรโซน
โดยคัดเลือกมาจากบริษัท ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูง และมีสภาพคล่องสูง จำนวน 10 บริษัท เช่น LVMH, L'Oréal, Hermès, Inditex (เจ้าของ Zara) และ EssilorLuxottica*
1
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
MEGA10EURO-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
MEGA10EURO-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว
MEGA10EURORMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
ผู้สนับสนุนการขาย ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
3. บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
6. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
9. บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
10. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
1
11. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
12. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
13. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
14. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
15. บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
16. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
17. บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
18. บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
19. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
20. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
21. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
22. บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
23. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
24. บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
25. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
26. บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
27. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
28. บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด
29. บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ และเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ และ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
โฆษณา