26 ก.ค. เวลา 23:00 • ข่าว

บอร์ดอีวี เห็นชอบมาตรการ ลดภาษีสรรพสามิต รถยนต์ HEV อีก 5 ปี

คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เห็นชอบมาตรการ ลดภาษีสรรพสามิต ต่อลมหายใจรถยนต์ ไฮบริด หรือ HEV อีก 5 ปี คาดบริษัทค่ายรถยนต์อย่างน้อย 5 ราย ตอบรับ สร้างเม็ดเงินลงทุนต่อเนื่อง 4 ปี ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท
1
วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ “บอร์ดอีวี” พร้อมด้วยนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ร่วมกันแถลงผลการประชุมบอร์ดอีวี ที่มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน
โดยที่ประชุมบอร์ดอีวีมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารขนาดที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบบไฮบริด หรือ HEV ดังนี้
นายนฤตม์กล่าวว่า มาตรการภาษีสรรพสามิต HEV ดังกล่าว จะเป็นการปรับลดให้เป็นระดับคงที่ ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า หรือ ตั้งแต่ปี 2571 - 2575 จากเดิมที่จะมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตร้อยละ 2 ทุก 2 ปี
วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมอีวีและรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขัน และทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครบวงจร ทุกประเภท ทั้งการจำหน่ายในประเทศและส่งออก ประกอบด้วย
1
  • ปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 g/km อัตราภาษีสรรพสามิตคงที่ร้อยละ 6
  • ปล่อย CO2 101-120 g/km อัตราภาษีสรรพสามิตคงที่ร้อยละ 9
ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ ได้แก่
  • ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไม่เกิน 120 g/km
  • ต้องมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไม่เกิน 120 g/km
  • ต้องมีการลงทุนจริงเพิ่มเติม โดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และ/หรือบริษัทในเครือในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2567 – 2570 ไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท
  • ต้องมีการใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตหรือประกอบในประเทศ
  • ต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ (Advanced Driver Assistance System: ADAS) ในรถยนต์ HEV รุ่นที่ขอรับสิทธิ
3
นายนฤตม์กล่าวว่า คาดว่ามาตราการดังกล่าวจะมีบริษัทรถยนต์ให้ความสนใจเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 5 ราย และสร้างเม็ดเงินลงทุนต่อเนื่องในช่วง 4 ปีข้างหน้า ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทรถยนต์ที่ได้รับหารส่งเสริมจากบีโอไอเพื่อผลิตรถยนต์ไฮบริด จำนวน 7 บริษัท ประกอบด้วย บริษัทรถยนต์จากค่ายญี่ปุ่น 4 บริษัท Toyota Honda Mitsubishi Nissan และบริษัทรถยนต์จากจีน 3 บริษัท ได้แก่ Great Wall Motor MG และ Chery
ด้านนายเอกนิติกล่าวเพิ่มเติมถึงรายละเอียดถึงเงื่อนไขการใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตหรือประกอบในประเทศ ว่า โดยรถยนต์ HEV รุ่นที่ขอรับสิทธิ ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศตั้งแต่ปี 2569 และต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญอื่น ๆ ตั้งแต่ปี 2571 เป็นต้นไป โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าสูง 3 ชิ้น ได้แก่ Traction Motor, Reduction Gear, Inverter
และชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าปานกลาง 8 ชิ้น ได้แก่ BMS, DCU, คอมเพรสเซอร์ระบบปรับอากาศสำหรับ BEV, Electrical Circuit Breaker, DC/DC Converter, High Voltage Harness, Battery Cooling System, Regenerative Braking System โดยจะขึ้นกับมูลค่าการลงทุน ดังนี้
  • กรณีลงทุนเพิ่มเติมตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป สามารถเลือกได้ว่า จะใช้ชิ้นส่วนสำคัญ 3 ชิ้นในกลุ่มที่มีมูลค่าสูง หรือเลือก 2 ชิ้นในกลุ่มมูลค่าสูง และอีก 2 ชิ้นในกลุ่มมูลค่าปานกลาง หรือหากเลือก 1 ชิ้นในกลุ่มที่มีมูลค่าสูง จะต้องเลือก 4 ชิ้นในกลุ่มมูลค่าปานกลาง
  • กรณีลงทุนเพิ่มเติม 3,000 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5,000 ล้านบาท จะต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าสูงทั้ง 3 ชิ้นเท่านั้น
นายเอกนิติกล่าวว่า สำหรับเงื่อนไขต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ ในรถยนต์ HEV รุ่นที่ขอรับสิทธิ อย่างน้อย 4 จาก 6 ระบบ ดังนี้ ระบบเบรกฉุกเฉินขั้นสูง (AEB) ระบบเตือนการชนด้านหน้าของรถ (FCW) ระบบการดูแลภายในช่องจราจร (LKAS) ระบบเตือนการออกหรือเปลี่ยนช่องจราจร (LDW) ระบบการตรวจจับจุดบอด (BSD) และระบบการควบคุมความเร็วของยานยนต์ (ACC)
1
โฆษณา