26 ก.ค. เวลา 18:15 • ข่าวรอบโลก

"หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งอย่างเพียงพอ, เรื่องนั้นจะ*ถูกเชื่อ"

เรียนสมาชิก ผู้ติดตามเพจ ฤๅ ที่รักทุกท่าน
“จะแน่วแน่... แก้ไขในสิ่งผิด” แก้ไขเรื่องเท็จ ทำความจริงให้ปรากฏ ผ่าน “มูลนิธิสยามรีกอเดอ”
เราต้องยอมรับความจริงกันเสียทีว่า มีความพยายามในการสร้างความวุ่นวายในประเทศด้วยการสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ ตามเป้าประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ของคนกลุ่มนึงมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี โดยการอ้างคำว่า
“เสรีภาพทางวิชาการ”
หากลองค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และหนังสือ ก็จะพบงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก รวมไปถึงงานประเภท พอดแคส คลิปวิดีโอ ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่นำเสนอแง่มุมประวัติศาสตร์ โดยเน้นคำว่า
“นอกตำรา”
“นอกกระแส”
“เรื่องเล่าจาก......”
“...............ที่เพิ่งสร้าง”
“ ประวัติศาสตร์กระซิบ “
ด้วยการอ้างวลี
“ผู้ชนะเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์”
เพื่อเป็นการดักคอผู้มีความรู้จริง หากว่ามีการทักท้วง และเพื่อสร้างความชอบธรรมและน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ที่ไม่มีความรู้
ในความเป็นจริงแล้ว การนำเสนอแนวคิดหรือเรื่องราวต่างๆ ทางประวัติศาสตร์เหล่านี้เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ หากนำเสนออยู่บนข้อเท็จจริง มีหลักฐานชั้นต้น หรือเอกสารอ้างอิงในการยืนยันว่า ประวัติศาสตร์ที่เคยเรียนรู้มานั้น มีเอกสารหลักฐานใหม่ที่ต่างไปจากเดิมให้ได้ถกเถียงกัน
แต่เรากลับพบว่า หลายครั้งมีการสร้างข้อมูลเท็จ อ้างอิงเอกสารที่ไม่มีอยู่จริง หรืออ้างเอกสารชั้นต้น แต่จงใจแปลผิด แปลไม่ครบถ้วน หรือบิดเบือนไม่ตรงกับเอกสารชั้นต้นที่อ้างถึง
ด้วยย่ามใจว่า คงจะไม่มีใครไปสืบค้นเอกสารอ้างอิงที่ตนได้นำมาอ้างไว้ เช่น กรณีของวิทยานิพนธ์เจ้าปัญหา ซึ่งเป็นที่มาของหนังสือ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี, ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ รวมถึงหนังสืออื่นๆ อีกหลายเล่ม ที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด หลงเชื่อว่าข้อมูลเหล่านั้นถูกต้อง ทั้งที่ไม่เป็นความจริง
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เคยกล่าวว่า
"หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งเพียงพอ, เรื่องนั้นจะถูกเชื่อ"
ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่า งานเหล่านี้ถูกนำมาเสนอหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เสพง่าย และมีปริมาณมากพอที่เมื่อทำการสืบค้น ก็จะพบเรื่องราวทางวิชาการเหล่านี้บนสื่อต่างๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์เต็มไปหมด จนไม่สามารถค้นพบงานวิชาการที่ดี มีเอกสารอ้างอิงชัดเจนและถูกต้องได้
หลังจากที่เราทำสื่อโซเชียลที่มีชื่อว่า ฤๅ ( LueHistory ) มาเป็นเวลาสามปี ทำให้เราพบว่า มันไม่ง่ายเลยที่จะทำความจริงให้ปรากฏด้วยองค์กรเล็กๆ ที่อาศัยทุนจำนวนน้อยนิด
ถ้าเทียบกับองค์กรหนึ่งที่ดำเนินการในแนวทางที่ต้องการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่
สำหรับเราแล้ว มันเป็นเงินก้อนใหญ่มากพอดูหากจะทำเพื่อแก้ไขงานวิชาการบิดเบือนต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ การอบรม งานเสวนาวิชาการ การให้ทุนวิจัยแก่นักวิชาการ การจัดพิมพ์หนังสือทางวิชาการ และอื่นๆ
ที่ผ่านมามันก็เพียงพอแค่จะให้เราได้ทำสิ่งที่เป็นอุดมการณ์ของเราคือ การนำเสนอความจริง ข้อเท็จจริง และแก้ไขข้อบิดเบือน บนโลกโซเชี่ยลได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น
วันนี้ พวกเราทีมงาน ฤๅ ตัดสินใจแน่วแน่ จะแก้ไขในสิ่งผิดและบิดเบือน ที่ถูกสร้างขึ้นมาตลอดหลายสิบปี
เพื่อป้องกันการบิดเบือนงานวิชาการ การนำเอาประวัติศาสตร์กระซิบมาเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก การนำเรื่องเล่าลือต่างๆ ที่ไร้ซึ่งหลักฐานยืนยันในทางวิชาการมานำเสนอซ้ำแล้วซ้ำอีก จนเราอดเป็นห่วงไม่ได้ว่า วันหนึ่งในอนาคต หากมีคนต้องการสืบค้นข้อมูลที่ถูกต้องทางประวัติศาสตร์และวิชาการแล้ว จะมีโอกาสเจอแต่ข้อมูลที่เป็น “เท็จ” แต่ไม่ทราบ “ความจริง”
เราจึงจดทะเบียนเป็น มูลนิธิชื่อ “ สยามรีกอเดอ “
โดยที่ ฤๅ จะเป็นหนึ่งสายงานนำเสนอข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิ
นอกเหนือจากช่องทางออนไลน์ต่างๆ แล้ว เรายังมีเจตนาที่จะนำงานวิชาการที่ค้นคว้าและนำเสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือ จัดงานเสวนาทางวิชาการ จัดงานอบรมต่างๆ ส่งเสริมงานวิจัย ค้นคว้าและเผยแพร่งานทางด้านประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ส่งเสริมงานแปลหนังสือวิชาการภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ
2
รวมถึงโครงการที่จะไปเก็บเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้จากหอจดหมายเหตุในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการอ้างอิงแบบบิดเบือนข้อมูล ที่ไม่สามารถสืบค้นได้ เนื่องจากเอกสารอ้างอิงอยู่ต่างประเทศ ดังเช่นที่ผ่านมา
เราเชื่อว่า เมื่อเราจัดตั้งมูลนิธิขึ้นมาแล้ว พวกเราจะสามารถเคลื่อนไหว และมีกำลังในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาในข้างต้นได้มากขึ้น หลากหลายขึ้น เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ รักและภาคภูมิใจใน ชาติของเรา
1
ช่วยเป็นกำลังใจ และร่วมสนับสนุนพวกเราได้ที่
บัญชี. มูลนิธิสยามรีกอเดอ
ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 0398045898
ขอบคุณครับ
โฆษณา