28 ก.ค. เวลา 13:00 • ครอบครัว & เด็ก

Ep.374 PDPA และ privacy ของเด็ก

มีคนหลังไมค์มาถามว่าอยากเห็นหน้าลูกสาว ต่ายบอกเลยว่าต่ายให้ความสำคัญกับ privacy ของลูกมากค่ะ ต่ายเองได้ทำงานในเรื่องข้อมูลพนักงานขององค์กรที่มีพนักงานเกือบ 30,000 คน รวมบริษัทในเครือ ตอนที่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ถือเป็นข้อมูล sensitive ที่ต้องได้รับการจัดการดูแลเป็นพิเศษค่ะ
ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้ เช่น ชื่อนามสกุล เลขบัตรประชาชน รวมทั้งข้อมูลที่ดูจะไม่เป็นข้อมูลเฉพาะเจาะจงแต่เมื่อนำมารวมกันแล้วสามารถระบุตัวบุคคลได้ เช่น ผู้หญิงที่จบมหาวิทยาลัย x ทำงานแผนกบัญชี ถ้าดูแยกส่วนข้อมูลกัน ดูไม่เป็นข้อมูลที่ระบุตัวตนได้
เช่น ผู้หญิง นี่กว้างมาก คนที่จบมหาวิทยาลัย x ก็ดูจะเฉพาะเจาะจงมากขึ้น แต่ถ้านำข้อมูลที่ไม่เฉพาะเจาะจง หลายข้อมูลมารวมกัน อาจจะทำให้ระบุตัวตนได้ คือ ผู้หญิงที่จบมหาวิทยาลัยนี้และทำงานแผนกนี้มีคนเดียว ก็จะสามาระระบุตัวตนได้ จึงถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล
ส่วนข้อมูลส่วนบุคคลที่ sensitive เช่น เชื้อชาติ (สัญชาติไม่ใช่ข้อมูล sensitive), ศาสนา, ข้อมูลสุขภาพ, biometric รวมทั้งข้อมูลของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การจะนำข้อมูลนี้ไปใช้ได้ต้องขอ consent จากเจ้าของข้อมูล สำหรับข้อมูลเด็กต้องได้รับ consent จากผู้ปกครอง สำหรับการให้ consent ก็ไม่ใช่ให้แล้วให้เลยนะคะ เจ้าของข้อมูลสามารถขอถอน consent ได้ตลอด
อีกแง่มุมนึงที่ต่ายจะระมัดระวังในการโพสต์รูปเด็ก ทั้งลูกตัวเองและลูกคนอื่น นอกเหนือจากการได้ consent จากผู้ปกครองแล้ว คือสิ่งใดที่ไปอยู่บน internet แล้ว จะไม่สามารถนำกลับมาได้ มันคือ digital footprint แม้เราจะลบรูปหรือข้อมูลนั้นไปแล้ว เราไม่รู้เลยว่ามีใครแคปรูป ใครแชร์ข้อมูลไปเท่าไรแล้ว
ต่ายเองก็เคยเจอเฟสปลอมเอารูปลูกจากเพจอื่น ๆ เอารูปลูกไปใช้โฆษณา หรือเพื่อน ๆ หลายคนก็เคยเจอคนเอารูปเค้าไปทำเฟสปลอมของเค้า ต่ายจึงระวังเรื่องการโพสต์รูปเด็กค่ะ
สำหรับคุณพ่อคุณแม่จะโพสต์รูปลูกตัวเองไม่ได้ผิดอะไรเลยนะคะ แต่อยากจะให้ระวังสำหรับรูปเด็กคนอื่นที่อาจะติดมาในรูป เราได้รับ consent จากพ่อแม่เค้าในการโพสต์รูปหรือเปล่า ถ้าไม่ก็เบลอหรือปิดรูปเด็กคนอื่นเพื่อความสบายใจดีกว่าค่ะ
#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี
โฆษณา