6 ส.ค. เวลา 14:00 • ไลฟ์สไตล์

วิจัยชี้ 'เจน Z' เปลี่ยนงานบ่อย เพราะเชื่อว่า 'งานมีเยอะแยะ' 'ความสบายใจ' ต้องมาก่อน

“คนรุ่นใหม่ไม่สู้งาน ไม่อดทน เปลี่ยนงานบ่อย” คำเหล่านี้คงกลายเป็นคำคุ้นชินของใครหลายๆ คนที่เอ่ยถึงการทำงานของคนรุ่นใหม่ แต่ในความเป็นจริงคนรุ่นใหม่ ไม่สู้งาน หรือเขามีมุมมองเรื่องการทำงานที่แตกต่าง เขามีโอกาสมากกว่า และอาจจะเลือกความสุขมากกว่าเงินเดือนก็เป็นได้
Generation Z คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่เกิดระหว่างปี 1996 จนถึงปี 2010 ซึ่งคนรุ่นนี้เรียกได้ว่าเป็น ‘ลัทธิปฏิบัตินิยมในยุคแห่งนวัตกรรม’ คือชอบลงมือทำจริงมากกว่าเรียนรู้ทฤษฎี เป็นรุ่นที่มีความคิดในสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนรุ่นก่อน
1
คน GenZ คือกลุ่มรุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในวงการการทำงานได้ไม่กี่ปี หรือบางคนอาจเพิ่งเรียนจบมาหมาด ๆ พวกเขาไม่ได้มองว่าการที่มีงานทำที่ดี มีความมั่นคง คือความสำเร็จทั้งหมดของชีวิต จึงยอมทนอยู่ในองค์กรที่คิดว่ามั่นคง ไม่ว่าจะต้องแลกกับการทำงานหามรุ่งหามค่ำ ทำงานที่ไม่ชอบ พลีกายถวายหัวให้กับองค์กรแบบที่คนรุ่นก่อน ๆ มีค่านิยมกัน
แต่คนรุ่นใหม่กลับมองว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้น พวกเขาเติบโตมากับเทคโนโลยี ได้รับการศึกษาที่ดี มีชีวิตที่สะดวกสบายจากพ่อแม่ที่เป็น Gen X ดังนั้นสิ่งที่คนรุ่นใหม่คำนึงถึงเป็นอันดับแรก ๆ ก็คือ การได้ทำงานที่ชอบ งานที่มี Work Life Balance ที่ดี และงานที่ทำแล้วรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ได้ดึงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาใช้จริง ๆ ไม่ใช่ยิ่งทำงานไปก็ยิ่งรู้สึกโง่ลง ไม่เช่นนั้นพวกเขาก็เลือกลาออกจากงานได้
📌 เหตุผล! ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ลาออกจากงานบ่อย
คน GenZ ประมาณ 60 ล้านคนในโลกได้แซงหน้าคนรุ่นมิลเลนเนียลจนกลายเป็นรุ่นที่ทรงพลังที่สุดในขณะนี้ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติจริง ดังนั้น ทักษะและทัศนคติที่ชาว GenZ ได้เผชิญในช่วงเวลาสั้น ๆ ของชีวิตจะส่งผลต่ออนาคตการทำงานของพวกเขาอย่างมากทีเดียว และนายจ้างที่ฉลาดจะให้ความใส่ใจและตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาว GenZ ต้องการมากที่สุด
2
จากงานวิจัยที่ชื่อว่า The Changing Face Of The Employees Generation Z And Their Perceptions Of Work และการสำรวจโดยนิตยสาร Forbes เห็นตรงกันว่า สภาพแวดล้อมทางสังคมมีความสำคัญมากกับ Generation Z เพราะคน Gen นี้จะให้ความสำคัญกับความสบายใจในการทำงานเป็นที่ตั้ง ผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร สร้างจิตวิญญาณขององค์กร
▪️ เงินสำคัญ แต่ความสบายใจต้องมาก่อน
หลายคนตัดสินใจออกจากงานเพราะเมื่อทำงานไปแล้วเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ ไม่มี work life balance งานไม่ตรงปกตามที่ Job Description ประกาศไว้ สวัสดิการไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น และอีกหลายเหตุผลที่ทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่ได้ไม่คุ้มกับสิ่งที่จะต้องเสียไป จึงตัดสินใจลาออกได้ง่าย อีกทั้ง Gen Z ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในสภาวะที่ลำบากมาตั้งแต่ต้น ต่อให้ลาออกจากงานก็ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้
2
▪️ ทางเลือกมีเยอะแยะ ไม่จำเป็นต้องทน
1
วุฒิการศึกษาอย่างต่ำ ๆ ของเด็ก GenZ ส่วนใหญ่ คือปริญญาตรี เกือบครึ่งยังเป็นมหาลัยท็อป คณะดังอีกด้วย พวกเขามีทั้งวุฒิการศึกษาที่ดี มีความสามารถจริง มีโอกาสพัฒนาและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเรียนต่อต่างประเทศ ลงคอร์สเรียนที่ระยะสั้น หรือคอร์สเรียนออนไลน์ และที่สำคัญบางคนมีศักยภาพสูงมากจนมั่นใจแน่ว่าตัวเองมีความสามารถมากพอ มีทางเลือกมากมายที่รออยู่
📌 ปัจจัยที่ทำให้คนรุ่นใหม่อยากเปลี่ยนงาน
▪️ อยู่ในองค์กรไม่พัฒนา ไร้ตัวตนลาออกดีกว่า
การทำงานที่ซ้ำซากจำเจอยู่ทุกวัน ไม่ได้มีอะไรใหม่ ไม่ได้พัฒนาศักยภาพมากพอ ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองลดลงไปเรื่อย ๆ รวมถึงพวกเขาถูกจำกัดการทำงานด้วยขอบเขตและกฎระเบียบที่น่าอึดอัด คน GenZ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง อยากทำงานในแบบที่ตัวเองต้องการ อยากเสนอไอเดีย อยากโต้แย้งในสิ่งที่ไม่เห็นด้วย แต่เมื่อความเห็นของถูกปล่อยผ่านหรือถูกห้าม เมื่อนานไปจึงกลายเป็นความรู้สึกผิดหวังและท้อแท้ จนกระทั่งลาออกได้
2
▪️ สถานที่ตั้งออฟฟิศ
สถานที่ตั้งออฟฟิศ ถือเป็นสิ่งที่หลายคนนำมาพิจารณาในการเลือกเข้าทำงานกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเช่นกัน เพราะอย่างที่รู้กันว่าการจราจรในเมืองกรุงหลวไม่เคยปราณีใคร ยิ่งถ้าฝนตกแล้วล่ะก็ บอกเลยว่าใช้ชีวิตบนถนนไปแบบยาวๆ ดังนั้นการมองหาบริษัทที่อยู่ในทำเลที่ดี การคมนาคมสะดวกสบาย มีรถไฟฟ้าผ่านหน้าบริษัท ก็คงเป็นเป้าหมายสำคัญของมนุษย์เงินเดือนเช่นกัน
1
▪️ บรรยากาศการทำงาน
สาเหตุการ Burn Out อาจเกิดขึ้นได้จากหลายองค์ประกอบ บางคนอยากเปลี่ยนงานเพราะเบื่อกับบรรยากาศเดิมๆ พวกเขาจึงแสวงหาช่องทางในการเปลี่ยนงานใหม่ เพื่อจะได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานในบรรยากาศใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน หรือสถานที่ตั้งบริษัท เป็นต้น เมื่อได้เจออะไรใหม่ๆ พวกเขาก็จะรู้สึกท้าทายและช่วยปลุกไฟในการทำงานให้กลับมาลุกโชนอีกครั้ง
1
▪️ ชื่อเสียงของบริษัท
บางคนอาจเริ่มต้นเส้นทางมนุษย์เงินเดือนจากบริษัทเล็กๆ หรือบริษัท Start-Up แต่เมื่อเห็นว่ามีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงเปิดรับสมัครงาน หรือวันดีคืนดีได้รับ Offer จากบริษัทชั้นนำ พวกเขาก็คงไม่คิดที่จะปิดโอกาสตัวเองในการได้ร่วมงานกับบริษัทชื่อดังระดับประเทศแน่ๆ
▪️ เพื่อนร่วมงาน
ปัญหาสุดคลาสสิกที่ทำให้คนอยากเปลี่ยนงาน คือ เพื่อนร่วมงานนี่แหละ หากโชคดีได้เพื่อนร่วมงานที่ดี ก็จะคอยช่วยเหลือกัน ช่วยแก้ปัญหา และเข้าใจกัน จนสามารถผลิตผลงานออกได้ตรงตามเวลาและมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากโชคร้ายเจอเพื่อนร่วมงานสุด Toxic ขี้เม้าท์ขี้นินทา อิจฉาริษยา หรือเกี่ยงงาน ย่อมไม่ส่งดีทั้งต่อผลงานและสภาพจิตใจคุณแน่ๆ สุดท้ายแล้วก็ต้องเกิดการเปลี่ยนงาน เพื่อไปหาทีมที่เหมาะสม มีเคมีที่ลงตัว และร่วมกันทำงานได้อย่างมีความสุข
▪️ หัวหน้างาน
เรียกได้ว่าเป็นปัญหาอันดับแรกที่มีส่วนให้คนอยากเปลี่ยนงานมากบางคนบอกว่าเจอเพื่อนร่วมงาน Toxic ยังถือว่าพอทนได้ แต่ถ้าเจอหัวหน้าหรือเจ้านายที่ Toxic แบบสุดๆ อย่างไรก็คงต้องขอบาย ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าขี้วีน รักลูกน้องไม่เท่ากัน เอาเปรียบ ไม่รับผิดชอบ ฯลฯ ทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าทำไมฉันต้องมานั่งทนกับอะไรแบบนี้ให้เสียสุขภาพจิต ดังนั้นทางออกก็คือการลาออกเพื่อหางานใหม่
1
▪️ เป้าหมายไม่ตรงกับองค์กร
บางคนอาจเคยรู้สึกว่าตัวเองมาทำอะไรที่บริษัทนี้ นั่นอาจเป็นเพราะเป้าหมายการทำงานที่คุณตั้งไว้ ไม่ตรงกับเป้าหมายขององค์กร ซึ่งถือเป็นเรื่องของวิสัยทัศน์จากผู้บริหาร ที่ทำหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมายขององค์กร ซึ่งบางคนก็ไม่ได้มีความเชื่อในวิสัยทัศน์เหล่านี้ หรือคิดว่าเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง หากเขาทำงานที่นี่ต่อไปก็คงได้พัฒนาตัวเอง หรือไม่ได้รับโอกาสดีๆ ในการเติบโตด้านหน้าที่การงานเท่าที่ควร
1
▪️ สวัสดิการ
ในยุคนี้หลายบริษัทต่างงัดกลเม็ดเด็ดเรื่องสวัสดิการ มาใช้ดึงดูดคนที่มีความสามารถให้มาร่วมงานด้วย สิ่งเหล่านี้จึงถือเป็นกำไรของมนุษย์เงินเดือนอย่างแท้จริง ที่บริษัทให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงาน ซึ่งหากบริษัทไหนที่มีสวัสดิการชั้นดีแบบอัดแน่น ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าบริษัทเห็นคุณค่าของพวกเขา และพร้อมที่จะตั้งใจทำงาน มอบผลงานที่มีประสิทธิภาพกลับคืนให้บริษัท
แต่บริษัทไหนที่สวัสดิการไม่ค่อยตอบโจทย์พนักงาน ก็อาจจะกลายเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้พนักงานคิดอยากจะเปลี่ยนงาน เพื่อไปทำงานกับบริษัทที่มีสวัสดิการที่เพียบพร้อมกว่าก็เป็นได้
▪️ การเติบโตในหน้าที่การงาน
พนักงานทุกคนล้วนตั้ง Career Path ให้กับตัวเองแทบทั้งสิ้น คงไม่มีใครที่อยากย่ำอยู่กับที่ ทำงานตำแหน่งเดิมไปเรื่อยๆ หรอก ทุกคนล้วนแล้วก็อยากได้รับการปรับตำแหน่ง ได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้นตามประสบการณ์และอายุการทำงาน แต่หากบริษัทปัจจุบันที่พวกเขาทำงานอยู่ ละเลยเรื่องนี้หรือปล่อยให้พวกเขาทำงานไปวันๆ แบบไม่มีจุดยืน หรือไม่มีโครงสร้างในการปรับตำแหน่งที่ชัดเจน การเปลี่ยนงานก็คงต้องเป็นทางออกให้พวกเขาได้ขยับขยายและเติบโตในหน้าที่การงาน
▪️ งานไม่ตรงกับทักษะ
การจะผลิตผลงานใดๆ ออกมาให้มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยทักษะเฉพาะตัวในงานนั้นๆ บางคนสมัครงานเข้ามาทำงานตรงสายก็จริง แต่พอได้เข้ามาทำงานในบริษัทจริงๆ กลับโดนมอบหมายงานแบบจับฉ่าย ซึ่งบางอย่างเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่ถนัด ไม่มีประสบการณ์ หรือขาดทักษะในการทำสิ่งๆ นั้นให้มีคุณภาพ นั่นก็อาจกลายเป็นความเบื่อหน่ายจนทำให้อยากเปลี่ยนงานได้เช่นกัน
หรือบางคนที่มีความพยายามในการฝึกฝนและพัฒนาตัวเองให้สามารถทำได้ทุกอย่าง แต่สุดท้ายแล้วกลับได้รับการประเมินผลที่ไม่ดีนักหรือบริษัทกลับไม่เห็นคุณค่าจากการทุ่มเทของพวกเขา ขอย้ายทีมหรือปฏิเสธไปว่าตนเองไม่ถนัด แต่บริษัทก็ยังเฉยเมย ก็คงไม่มีประโยชน์อะไรที่พวกเขาจะทนอยู่ต่อไป
▪️ สมดุลชีวิตกับงาน
เราอยู่ในยุคที่เรื่องของ Work Life Balance เป็นสิ่งที่สำคัญ พนักงานหลายคนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นยากมาก ด้วยการแยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกันอย่างชัดเจน ในเวลางานก็ทุ่มเทกับมันอย่างเต็มที่ แต่ถ้าหากเวลางาน ก็ต้องให้เวลากับชีวิตส่วนตัว หรือได้รับการพักผ่อนที่เหมาะสม แต่หากมีบริษัทที่ไม่เคารพเวลาส่วนตัวพนักงาน สั่งงานแบบอัดแน่นจนพนักงานต้องเลิกงานดึก หรือต้องหอบงานกลับไปทำงานที่บ้าน ก็อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พนักงานอยากเปลี่ยนงานได้เช่นกัน
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเรื่องของการตามงานนอกเวลางาน ทักมาขอให้ทำงานแบบด่วนๆ ในวันหยุด ใช้แชทส่วนตัวในการคุยมากกว่าแอปพลิเคชันสนทนาที่ทางบริษัทกำหนด ก็ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่พนักงานหลายคนเบื่อหน่ายด้วยเหมือนกัน
▪️ ความมั่นคงในหน้าที่การงาน
สถานการณ์โควิดส่งผลระยะยาวทั้งในเรื่องสุขภาพของมนุษย์ รวมไปถึงเศรษฐกิจโลก หลายบริษัทต่างประสบปัญหานี้จนต้องปิดตัวไปหลายที่ แต่อีกหลายบริษัทก็ยังอยู่ฟื้นตัว เพื่อเร่งทำผลกำไรให้กลับมาเป็นปกติ หากบริษัทเหล่านั้นมีการสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน ว่าบริษัทยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยไม่มีผลกระทบมากนัก แน่นอนว่าพนักงานก็จะรู้สึกว่าตนเองมีความมั่นคงในชีวิตและไม่ถูกลอยแพกลางคัน
แต่หากบริษัทไม่มีการชี้แจงผลประกอบการในพนักงานได้รับทราบ หรือไม่มีการแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงให้พนักงานได้รับรู้ พวกเขาก็จะรู้สึกสั่นคลอนหรือต้องคอยมานั่งระแวงว่าวันใดวันหนึ่งพวกเขาจะโดนเลย์ออฟ หรือต้องตกงานแบบกะทันหันหรือไม่ จนอาจทำให้พวกเขารีบชิงส่งใบลาออกเพื่อเปลี่ยนงานไปหาบริษัทที่มั่นคงเสียก่อน
▪️ อยากพัฒนาตัวเอง
บางคนเป็นคนที่ชอบความท้าทายและอยากหาสิ่งใหม่ๆ ให้ตัวเองตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ลึกๆ แล้วบริษัทที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากมาย เจ้านายดี เพื่อนร่วมงานน่ารัก สวัสดิการจัดเต็ม หรือวัฒนธรรมองค์กรตอบโจทย์ แต่พวกเขาเหล่านี้อยากพัฒนาตนเองอยู่เสมอ การเปลี่ยนงานจึงถือเป็นทางออกที่ได้พบเจอกับความท้าทายใหม่ๆ ได้ฝึกฝนทักษะ หรือเรียนรู้ประสบการณ์อื่นๆ เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม องค์กรต้องมีวัฒนธรรมองค์กรและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะกับเขา ซึ่งต่างจากคนที่มีประสบการณ์การทำงานมานานที่อาจจะให้ความสำคัญกับความมั่นคงในหน้าที่การงานมากกว่า
รวมทั้งต้องปรับวิธีการดูแลบริหารพนักงานรุ่นใหม่ ให้พวกเขามีความผูกพันและรู้สึกอยากทำงานกับองค์กรนานขึ้น เพื่อให้องค์กรยังสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ในอนาคต
โฆษณา