29 ก.ค. เวลา 07:38 • สุขภาพ

ชีวิตและสุขภาพดีได้ อาจเป็นเรื่องแค่ปลายจมูกเท่านั้น

สัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสได้ฟังคลิปรายการ Have a Nice Day ของคุณนิ้วกลม (ศราวุธ เฮ้งสวัสดิ์) สรุปเล่าหนังสือเรื่อง Food Governs Your Destiny - The Teaching of Namboku Mizuno ผู้แปลจากภาษาญี่ปุ่นมาเป็นภาษาอังกฤษคือคุณ Michio & Aveline Kushi ร่วมกับคุณ Alex Jack ตีพิมพ์ปี 1991 ส่วนหนังสือภาษาไทยคือ อาหารกำหนดชะตากรรม ผู้แปล อุดร ฐาปโนสถ จัดพิมพ์ปี 2536 กลายเป็นหนังสือหายากแล้วเพราะจัดพิมพ์นานมากหละ
โดยเนื้อหาที่รวบรวมและแปลนี่มาจากคำสอนและประสบการณ์ของท่านมิซุโน นัมโบกุ (Mizuno Namboku) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูนรลักษณ์ศาสตร์ (โหงวเฮ้ง หรือ Pysiogamy) มีชีวิตระหว่างปี 1760-1834 (แต่จาก ​Claude Ai บอกว่า 1755-1829) ในประเทศญี่ปุ่นสมัยเอโดะ ก็ประมาณว่าแกเกิดช่วงกรุงศรีอยุธยาก่อนกรุงแตก หรือก่อนจัดตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีประมาณ 22 ปี เพราะฉะนั้นแกคิดเรื่องอาหารกับชีวิตมาตั้งแต่ 250+ ปีมาหละ
สิ่งที่ท่านมิซุโน สังเกตุเรื่องการกินกับชะตาชีวิตนี่ จะออกมาแนวธรรมชาติกึ่งคติความเชื่อ เช่นมนุษย์ทุกคนเกิดมามีสิ่งที่บอกไม่ได้กำหนดเอาไว้แล้วว่าควรจะกินอยู่อย่างไร คล้ายๆ เพื่อความสมดุลของแต่ละสิ่งมีชีวิต ถ้ากินเยอะเกินคล้ายๆกับใช้ทรัพยากรเกิดฐานร่างกายก็จะเกิดโทษแล้วก็เหมือนกับทำให้ต้นทุนในชีวิตหายไปโอกาสจะพัฒนาชะตาชีวิตก็จะน้อยลง ประมาณเสียสมดุล ถ้ามองทางจีน ก็คล้ายๆ เสียสมดุลหยินหยาง (ดินฟ้า) หรือ ถ้ามองทางธรรมะก็คล้ายกับเบียดเบียนสิ่งอื่นที่ตนไม่สมควรทำ ก็ต้องจ่ายคืนเยอะ เทือกนั้น
ที่ท่านมิซุโน คิดแบบนี้อาจเป็นเพราะช่วงที่ท่านตกตะกอนความคิดเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมกระแสความคิดจากประเทศจีนในเรื่องของ อาหารและยามาจากจุดเริ่มต้นเดียวกันได้หลั่งไหลเข้าไปในประเทศญี่ปุ่น ความนิยมในการกินอาหารให้สอดคล้องตามฤดูกาลและการแบ่งชนชั้นทางสังคมอย่างชัดเจนในสมัยเอโดะ รวมไปถึงความสนใจในเรื่องของศาสนาชินโตที่เน้นในเรื่องของการละเว้นอาหารบางประเภทตามความเชื่อ
นอกจากนี้ท่านมิซุโนเป็นนักเขียนบทละครคาบูกิที่เป็นที่โด่งดังหลายเรื่องการพัฒนาตัวละครต่างๆนั้นท่านก็ได้สะสมเอาความรู้ความเห็นในเรื่องของปัจจัยที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวละครหลายอย่าง เช่น รูปลักษณ์ภายนอก อุปนิสัย อาหารการกิน รวมไปถึงสถานะทางสังคม โดยดุจากจากประสบการณ์การทำงานจริงของตนเองในการทำนายชะตาชีวิตของคน ก็เป็นหนังสือที่น่าสนใจ แต่คงหาซื้อไม่ได้ง่ายๆ จะอ่านก็คงอ่านไม่ได้ง่ายๆ แต่คุณนิ้วกลม สรุปได้ดี อ่านได้น่าฟัง ถึงเราจะไม่สามารถเข้าถึงตัวหนังสือได้จริงๆด้วยตัวเอง แต่การฟังก็ยังคงได้ประโยชน์
คำสอนไม่ได้บอกว่าให้กินผักเยอะ กินแป้งน้อย กินโปรไบโอติคแบบไหนดี ถ้าอยากรู้เรื่องพวกนี้คลิปนี้และหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่แน่นอน แต่คำสอนนี่ช่วยให้เราเข้าใจที่มาที่ไป อาจตอบคำถามหลายๆอย่างของชีวิตที่หาคำตอบที่วิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับแต่เห็นด้วย ทำให้เรามีสติเวลาซื้อหาของกิน เวลากิน ฟังแล้วค่อยๆคิดค่อยๆทำตามแล้ว จะรู้สึกได้ว่า You are what you eat จริงๆ
อีกเล่มนึง This Book May Save Your Life แต่งโดยคุณศัลยแพทย์ที่ัยังมีชีวิตอยู่ คุณหมอ Karan Rajan เกี่ยวกับความมหัศจรรย์เรื่องของปอดนั้นสำคัญไฉน ดังนั้นอยู่ที่จมูกจริงๆ จดจ่อที่จมูก หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ คือสิ่งที่ครูโยคะสอน แต่เราจะลืมเรื่อยๆ ในชีวิตจริง โดยเฉพาะเวลาตื่นเต้นนี่ อืมม์ หายใจได้ไม่ถึงปอดเลย เรียกว่าทำท่าหายใจแต่ลมไม่เข้าปอด หัวใจเหนื่อยโดยเปล่าประโยชน์เสียจำนวนครั้งหายใจไปมาก ประมาณว่าต่อให้ติดเครื่องกรองอากาศชั้นเลิศ อยู่ในที่โอโซนสุดเจ๋งก็เท่านั้นถ้าหายใจไม่ถูกวิธี
ฟังคลิปที่คุณนิ้วกลมเล่าให้ฟังแล้วจะรู้สึกเป็นมิตรกับร่างกายแล้วอยากให้ปอดที่อยู่ในทรวงอกของเรามีสีแดงดีขึ้น เราจะได้พยายามตั้งใจ “หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ”ลมหายใจเข้าทางจมูกจนท้องป่อง หยุดแป๊บนึง ค่อยๆเป่าลมหายใจออกทางปากจนท้องแฟบ ถ้าจะให้ดีก็ตื่นเช้ามาให้ทำสักสองสามนาทีถ้าทำถูกต้องแรกๆจะรู้สึกหน้ามืดได้ ให้หาที่เกาะให้มั่นๆ เริ่มวันละนาทีก่อน จากนั้นก็ค่อยๆเพิ่มทีละนิด พอเก่งขึ้นเรื่อยๆ เลิกหน้ามืด ก็ทำให้สม่ำเสมอพยายามทำชั่วโมงละเซต ก่อนจะทำก็นั่งหรือยืนตัวตรงอกผายไหล่ผึ่งอมยิ้มน้อยๆ
มีความเชื่อกันว่าความสั้นยาวของชีวิตของเราขึ้นกับจำนวนหัวใจที่เต้น เช่นสมมติคนที่มีกายภาพมีคุณลักษณะการใช้ชีวิตแบบนี้ ธรรมชาติกำหนดให้มีการเต้นของหัวใจ 1 ล้านครั้ง ถ้าคนสองคนมาเทียบกัน คนที่หายใจปีละแสนครั้งก็อยู่ได้สิบปี กับคนที่หายใจห้าหมื่นครั้งก็มีชีวิตได้ยี่สิบปี เป็นต้น พอๆกับที่มีความเชื่อว่าสัตว์ตัวใหญ่หัวใจเต้นช้ากว่าสัตว์ตัวเล็กๆ ช้างก็อายุยืนกว่าเสือ เสือชีต้าอายุขัยแค่ 14 ปี
คุณวินทร์ เลียววาริน เคยเขียนในเฟซบุคเอาไว้เมื่อปี 29 มิย. 2017 เกี่ยวกับเรื่องที่ เชื่อหรือไม่ว่า 15,000,000,000 (หนึ่งหมื่นห้าพันล้านล้าน หรือ สิบห้าพันล้าน ​15 Billion) คิดจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจทั้งชีวิตของสัตว์แทบทุกชนิดในโลกนี้ ในบทเขียนมีการอ้างอิงผู้ค้นพบหรือเสนอความคิดนี้ชัดเจน (ลองหาอ่านดู)
พอคิดดีๆ ถ้าไม่ประสบอุบัติเหตุตายก่อน การที่เราลดจำนวนการหายใจทำให้หัวใจเต้นต่อนาทีน้อยลง อายุยืนขึ้นอัตโนมัติ พอหายใจละเอียดขึ้น สติมาไวขึ้นเรื่องที่จะทำให้หัวใจเต้นตูมตามไม่เป็นจังหวะก็น้อยลง หายใจเสถียรมากขึ้นก็ยิ่งเห็นใจไวขึ้น สักวันใจที่เคยวิ่งเป็นลิงก็คงจะค่อยๆนิ่งได้เป็นปลาวาฬ (เคยเห็นหมู่ปลาวาฬออก้าแสดงความเสียใจตอนที่ลูกน้อยแกเสียชีวิตไม๊ ใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ก่อนแกจะทำใจได้ ใจแกใหญ่จริงๆ เวลากระเทือนเลยนานกว่าจะหายสะเทือนได้)
โฆษณา