30 ก.ค. เวลา 04:07 • ประวัติศาสตร์

ภูเขาทอง

สร้างตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 3 ที่ทรงดำริให้สร้างพระปรางค์คล้ายกับ "พระเจดีย์วัดภูเขาทอง" จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไว้ทางทิศตะวันออกของพระนคร แต่เนื่องจากโครงสร้างมีน้ำหนักมาก ดินเลนในบริเวณนั้นไม่สามารถรองรับได้ องค์ปรางค์จึงทะลายลงมา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแบบให้เป็นภูเขาทองขึ้นดั่งเช่นในปัจจุบัน
⏳ ประวัติการก่อสร้างภูเขาทอง
ภูเขาทอง (พระบรมบรรต) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) ขณะเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นแม่กองก่อสร้างกำหนดให้เป็นแบบพระปรางค์ฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่สำเร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างต่อ โดยให้พระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เป็นแม่ก่องสร้างต่อ แต่ให้เปลี่ยนแบบจากเดิมเป็นภูเขา และก่อพระเจดีย์ทรงลังกาไว้บนยอด พระราชทานนามว่า "พระบรมบรรพต"
ภูเขาทองสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 2 ครั้ง ครั้งแรก อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่มีมาแต่เดิมในพระบรมมหาราชวังมาบรรจุในปีพุทธศักราช 2420 ครั้งที่ 2 ในปีพุทธศักราช 2441 มีการขุดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุที่มหาสถูปร้าง หมู่บ้านปิปราหวะ เขตเมืองกบิลพัสดุ์ ประเทศอินเดีย อุปราชอินเดียได้ทูลเกล้าฯ ถวาย โปรดให้ข้าหลวงออกไปอัญเชิญเข้ามา แล้วโปรดให้บรรจุไว้ในคูหาพระสถูปบนยอดพระบรมบรรพต
พุทธศักราช 2493-2497 มีการบูรณะพระเจดีย์บนพระบรมบรรพตที่ชำรุด และเสริมความมั่นคง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์บนยอดพระบรมบรรพต เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2497
#ภูเขาทอง #วัดสระเกศภูเขาทอง #วัดสระเกศ
โฆษณา