31 ก.ค. 2024 เวลา 03:00 • ธุรกิจ

Sanofi บริษัทยา ห่านทองคำ ปันผลให้ L'Oréal ปีละ 17,000 ล้าน

เมื่อปีก่อน L'Oréal บริษัทเครื่องสำอางใหญ่สุดในโลก
ได้รับเงินปันผลจากบริษัทยา ที่ชื่อ Sanofi มากถึง 17,400 ล้านบาท
2
แล้ว 17,400 ล้านบาท มันมากขนาดไหน ?
คำตอบคือ มากกว่ามูลค่าบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) หรือ SSC ทั้งบริษัทที่ 16,486 ล้านบาท
คำถามต่อมาคือ แล้ว L'Oréal ซึ่งทำธุรกิจเครื่องสำอาง ไปเกี่ยวอะไรกับ Sanofi ที่ทำธุรกิจพัฒนาและผลิตยา ?
เรื่องราวของ 2 บริษัทนี้ มาบรรจบกันได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
L'Oréal ก่อตั้งขึ้นในปี 1909 หรือราว 115 ปีที่แล้ว ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย
2
โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ที่ชื่อว่าคุณ Eugène Schueller
ได้คิดค้นน้ำยาย้อมสีผม แล้วโดนใจช่างทำผมในเมืองปารีสอย่างมาก จึงทำให้เขาก่อตั้งธุรกิจขึ้นมา
1
แต่พอคุณ Eugène Schueller เสียชีวิต
คุณ François Dalle ก็เข้ามาสานต่อกิจการให้ L'Oréal เติบโตมากขึ้น
คุณ François Dalle ไม่เพียงแต่ปั้นแบรนด์ด้วยตัวเองอย่างเดียว
แต่ใช้วิธีไล่ซื้อกิจการเครื่องสำอางแบรนด์อื่น ๆ เข้ามามากขึ้น
1
ด้วยวิธีนี้ ทำให้ L'Oréal ได้ทั้งสินค้าใหม่ กลุ่มตลาดใหม่ และช่องทางการกระจายสินค้าที่เพิ่มขึ้น จนขึ้นแท่นเป็นบริษัทเครื่องสำอางอันดับ 1 ของโลก
จากน้ำยาย้อมสีผม
สู่เจ้าแห่งแบรนด์เครื่องสำอาง..
แล้ว L'Oréal ไปเกี่ยวข้องกับยาและวัคซีนตอนไหน ?
เรื่องนี้มีตัวละครสำคัญ 2 ตัว นั่นคือ
- Sanofi ธุรกิจวิจัยและพัฒนายา
- Synthélabo ธุรกิจให้บริการห้องแล็บ
1
Sanofi เริ่มต้นจากธุรกิจให้บริการห้องแล็บ มาตั้งแต่ปี 1973 ก่อนจะคิดค้นยาขยายหลอดเลือด และรุกซื้อกิจการยาของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป
1
ส่วน Synthélabo เป็นธุรกิจที่เกิดจากการควบรวมห้องแล็บหลายแห่งเข้าด้วยกัน จนในปี 1973 L'Oréal ก็ได้เข้าไปถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทนี้
การเข้ามาของ L'Oréal ไม่ได้มาแค่หุ้นอย่างเดียว
แต่ยังเอาแนวคิดการขยายธุรกิจ ด้วยการซื้อกิจการที่เกี่ยวข้องไปเรื่อย ๆ เข้ามาด้วย
เพราะหลังจากนั้น Synthélabo ก็ไล่ซื้อธุรกิจห้องแล็บเพิ่มเติม จนกลายเป็นบริษัทเกี่ยวกับยา ที่มียอดขายเป็นอันดับ 3 รองจาก Sanofi เท่านั้น
ซึ่งสุดท้ายแล้ว ในปี 1999 Synthélabo
ก็ตัดสินใจควบรวมกิจการกับ Sanofi โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง L'Oréal อยู่เหมือนเดิม
1
และหลังจากที่ทั้ง 2 บริษัทควบรวมกันแล้ว ก็ยังเข้าซื้อกิจการ Aventis ที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาวัคซีน แถมยังมีเครือข่ายการขายในสหรัฐฯ อีกด้วย
ด้วยวิธีทั้งหมดนี้ ทำให้ Sanofi ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในบริษัทยาที่สำคัญของโลก ที่มีมูลค่า 4,600,000 ล้านบาท
รู้ไหมว่า Sanofi เป็นบริษัทยาแห่งแรก ที่ขายวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่, ป้องกันโรคโปลิโอ, โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคพิษสุนัขบ้า
นอกจากวัคซีนแล้ว ยังมี DUPIXENT ยารักษาโรคหอบหืด, ALTUVIIIO ยารักษาโรคฮีโมฟิเลีย หรือภาวะเลือดไหลไม่หยุด รวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ อีกมากมาย
1
ซึ่งเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่แล้ว เป็นยาที่ใช้รักษาโรคเฉพาะทาง ทำให้ Sanofi ที่แม้ไม่สามารถเจาะกลุ่มยาตลาดใหญ่ได้ แต่ก็ประสบความสำเร็จในการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มได้เป็นอย่างดี
แล้วผลประกอบการที่ผ่านมาของ Sanofi เป็นอย่างไร ?
ปี 2021
รายได้ 1,533,300 ล้านบาท
กำไร 243,600 ล้านบาท
ปี 2022
รายได้ 1,776,500 ล้านบาท
กำไร 327,600 ล้านบาท
ปี 2023
รายได้ 1,817,800 ล้านบาท
กำไร 211,300 ล้านบาท
เหตุผลที่กำไรลดลงในช่วงที่ผ่านมา มาจากการหมดอายุของสิทธิบัตรยาบางตัว ยอดขายวัคซีนที่น้อยลง และการลงทุนวิจัยพัฒนายาอื่น ๆ เพิ่มเติม
1
อย่างไรก็ตาม Sanofi ก็ยังสามารถผลิตเงินสดให้กับ L'Oréal ซึ่งปัจจุบันยังถือหุ้นอยู่ 9.3% ได้อย่างต่อเนื่อง
โดยตลอด 29 ปีที่ผ่านมา Sanofi จ่ายปันผลให้ L'Oréal เพิ่มขึ้นตลอด ตามผลประกอบการของบริษัท ที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
ในปีที่ผ่านมา Sanofi มีการจ่ายเงินปันผลให้ L'Oréal มากถึง 17,400 ล้านบาท
โดยมูลค่าตรงนี้ คิดเป็น 7% ของกำไรที่ L'Oréal ทำได้ในปีที่แล้วเลยทีเดียว
อ่านมาถึงตรงนี้ เราคงเห็นแล้วว่า แม้ Sanofi อาจไม่ใช่ผู้นำ และเจ้าตลาดยาเบาหวาน เหมือนอย่าง Eli Lilly และ Novo Nordisk
2
แต่ด้วยกลยุทธ์การเจาะตลาดยาเฉพาะทาง บวกกับความสามารถในการคิดค้นและพัฒนา มาหลายทศวรรษ
1
ก็ทำให้บริษัทเติบโตแบบเงียบ ๆ มาได้อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่ใคร
แต่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง L'Oréal
1
ที่มีหน้าที่แค่นั่งอยู่เฉย ๆ
แล้วรอรับเงินปีละ 17,000 ล้านบาท..
—------------------
L'Oréal และ Sanofi 2 หุ้นนี้ อยู่ใน MEGA10EURO
“MEGA10EURO เปิดจอง IPO”
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัททรงอิทธิพลในยูโรโซน กับ MEGA10EURO
- กองทุนเปิด MEGA10EURO ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10EURO-A) ชนิดเพื่อการออม (MEGA10EURO-SSF) และกองทุนเปิด MEGA10EURO เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10EURORMF) เป็นกองทุนที่จะเข้าไปลงทุนในบริษัทที่อยู่ใน Euro Stoxx 50 ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มประเทศยูโรโซน
โดยคัดเลือกมาจากบริษัท ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูง และมีสภาพคล่องสูง จำนวน 10 บริษัท เช่น LVMH, L'Oréal, Hermès, Inditex (เจ้าของ Zara) และ EssilorLuxottica*
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
MEGA10EURO-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
MEGA10EURO-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว
MEGA10EURORMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
1
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
ผู้สนับสนุนการขาย ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
3. บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
6. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
9. บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
10. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
11. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
12. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
13. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
14. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
15. บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
16. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
17. บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
18. บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
19. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
20. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
21. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
22. บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
23. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
24. บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
25. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
26. บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
27. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
28. บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด
29. บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ และเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ และ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
โฆษณา