31 ก.ค. 2024 เวลา 03:00 • ท่องเที่ยว

เปิดพิกัด ‘Dark Tourism’ เมื่อความหลอน สร้างรายได้

‘Dark Tourism’ เทรนด์การท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งตอบโจทย์นักท่องเที่ยวที่อยากไปสัมผัสประสบการณ์ในสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์อันแสนเจ็บปวด ความสูญเสีย และโศกนาฏกรรม จนเทรนด์การท่องเที่ยวแนวนี้ สามารถสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นนั้นๆ
ในทุกมุมของโลก มีสถานที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวลี้ลับ ความน่ากลัว และเหตุการณ์ที่น่าขนลุก สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโศกนาฏกรรม สงครามความทุกข์ทรมาน รวมถึงความเสียหายจากภัยธรรมชาติ
สิ่งที่ทำให้สถานที่เหล่านี้น่าสนใจ ไม่ได้มีเพียงแค่ประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึง “กลิ่นอาย” ที่สามารถกระตุ้นต่อมจินตนาการของผู้คน เมื่อก้าวเข้าไปในสถานที่จริง ‘Dark Tourism’ การท่องเที่ยวแนวหม่น กลายเป็นกระแสการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
รายงานของ Future Market Insights ระบุว่า ในปี 2023 ตลาด Dark tourism ทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงกว่า 1.11 ล้านล้านบาทโดยในช่วงระหว่างปี 2019 ถึงปี 2023 ตลาดมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR : Compound Annual Growth Rate) ถึง 2.1% และคาดการณ์ว่า ในปี 2034 จะมีมูลค่าถึง 1.42 ล้านล้านบาท
2
ปัจจัยที่ทำให้ Dark Tourism สร้างรายได้
ผู้คนต้องการที่จะเรียนรู้ในประวัติศาสตร์และเหตุการณ์สำคัญ จากการรับรู้จากหนังสือหรือภาพยนตร์ เพื่อต้องการเข้าใจเหตุการณ์เหล่านั้นได้มากขึ้น โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่มีประวัติ ยังมีความเกี่ยวข้องทั้งในเรื่องของประเด็นทางสังคมและการเมือง รวมไปถึงสถานที่บางแห่งก็ถูกพัฒนาให้เป็นอนุสรณ์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ในเชิงการสร้างคุณค่าให้กับสถานที่
การท่องเที่ยวประเภทนี้ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อความบันเทิง แต่เพื่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญ และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้คนและชุมชน นับเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างมาก หลายสถานที่จึงได้รับการส่งเสริมการท่องเที่ยว จากรัฐบาลได้เป็นอย่างดี จนสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนแวดล้อมโดยรอบ
1
ทางรถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี
ทางรถไฟที่สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นจากสถานีหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี และสิ้นสุดที่เมืองทันบูซายัด ประเทศเมียนมามีความยาวรวมกว่า 415 กิโลเมตร กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายพันธมิตร และใช้แรงงานอย่างหนัก แรงงานเหล่านี้ต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่โหดร้าย สภาพอากาศที่ร้อนจัด และการขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายในระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟที่สามารถสร้างเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งปัจจุบันเส้นทางนี้ได้กลายเป็นสถานที่ยอดนิยม โดยการรถไฟ
2
แห่งประเทศไทยได้จัดขบวนรถนำเที่ยวทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
1
ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา โปแลนด์
ค่ายกักกันของนาซีที่สร้างขึ้น ปี 1940 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ผู้คนต้องการตระหนักถึงความโหดร้าย รวมถึงการเดินทางมาเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ ยอดรวมนักท่องเที่ยวในปี 2023 มีนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมกว่า 1.67 ล้านคน สูงกว่าปี 2022 ถึง 41% โดยไม่เสียค่าเข้าสถานที่ แต่สามารถบริจาค หรือจ่ายค่านำชมโดยมีผู้บรรยาย ราคาประมาณ 60 ซโลตี
พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง กัมพูชา
อนุสรณ์รำลึกถึงความโหดเหี้ยม ในช่วงที่เขมรแดงครองประเทศ ในปี 1976 จากเดิมที่เคยเป็นอาคารเรียน
2
ถูกแปลงสภาพเป็นเรือนจำ S-21 ของเขมรแดง ที่นำมาไว้ใช้กักขังผู้คนที่คิดว่าเป็นศัตรู หรือกบฏต่อประเทศชาติ โดยผู้ถูกคุมขังจะถูกกดดันให้สารภาพผิดและสุดท้ายก็จะจบด้วยการนำไปสู่การสังหาร และในช่วงปี 1979 ได้ถูกปลดปล่อยโดยกองทัพเวียดนามโดยเป็นสถานที่ที่ไว้ระลึกถึงการกระทำอันโหดร้ายของเขมรแดง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีค่าเข้าชมประมาณ 185 บาท
เกาะฮาชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
เกาะร้างอดีตเหมืองถ่านหินของประเทศญี่ปุ่น สัญลักษณ์ของการใช้แรงงานชาวจีนและเกาหลีใต้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นอยู่ในช่วงของการพัฒนาประเทศด้านอุตสาหกรรม ช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีเทคโนโลยีการขุดเจาะ จึงจำเป็นต้องอาศัยแรงงานจากมนุษย์ โดยตั้งแต่ปี 2009 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ต้องการเยี่ยมชม ต้องล่องเรือ ไปที่เกาะพร้อมไกด์ โดยมีราคาค่าเข้าประมาณ 5,000 เยนต่อคน หรือ 1,200 บาท
1
สุสานกะโหลกแห่งปารีส ฝรั่งเศส
อุโมงค์เหมืองหินปูน ที่เคยใช้เป็นเส้นทางส่งของเข้าไปในเมืองในช่วงสมัยโรมัน โดยในช่วงศตวรรษที่ 18 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม สุสานของปารีส ขาดแคลนพื้นที่ในการฝังศพ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุข จึงจำเป็นต้องนำร่างผู้เสียชีวิตมาเก็บไว้ในอุโมงค์ สุสานแห่งนี้จึงจึงกลายเป็นสุสานใต้ดินที่เต็มไปด้วยโครงกระดูกและกะโหลกจำนวนกว่า 6 ล้านศพ โดยเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตั้งแต่ปี 1874
ปัจจุบันมีผู้เข้าชมกว่า 550,000 คนต่อปี โดยมีราคาเข้าชมอยู่ที่ 14€
เมืองริคุเซนทาคาตะ ญี่ปุ่น
จากเมืองที่มีต้นสนเกือน 70,000 ต้น แต่ในปี 2011 เมืองแห่งนี้ถูกภัยพิบัติสึนามิพังทะลายเมือง
จนมีต้นสนเพียง 1 ต้นที่สามารถยืนอยู่ได้ท่ามกลางเมืองที่ถูกคลื่นทำลายราบเป็นหน้ากอง และมีผู้เสียชีวิตเกือบ 2 พันคน นักท่องเที่ยวตั้งใจเดินทางไปเพื่อเยี่ยมชมต้นสนที่ถูกขนานนามว่าเป็นต้นสนแห่งปาฏิหาริย์ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์และไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตที่พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สึนามิอิวาเตะบริเวณใกล้เคียงแม้ในปี 2017 ต้นสนแห่งปาฏิหาริย์ ถูกทำพิธีตัดโค่นลงแล้ว เนื่องจากยืนต้นตายหลังผ่านเหตุการณ์มาเกือบ 7 ปี
แม้ว่า Dark Tourism จะสร้างรายได้และช่วยเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีต แต่ก็มีข้อวิจารณ์ที่มองว่าการท่องเที่ยวประเภทนี้ อาจเป็นการใช้ประโยชน์จากความทุกข์ของผู้อื่นเพื่อทำกำไร หรืออาจทำให้สถานที่ที่ควรจะเป็นที่ระลึกถึงความโศกเศร้ากลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์
โฆษณา