30 ก.ค. เวลา 12:49 • ข่าวรอบโลก
ปารีส

เส้นทาง 124 ปี กีฬาโลก

เวทีเปิดกว้างนักกีฬาหญิง
จุดเริ่มต้นความเท่าเทียม
ประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึก 124 ปี ตั้งแต่เริ่มต้นโอลิมปิก มีนักกีฬาหญิงเข้าร่วมขิงชัย 2.2% เพิ่มเป็น 50% ในปีนี้ ความยั่งยืนที่เริ่มต้นจากการเปิดกว้างรับความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ว่าเพศไหนก็มีความสามารถลงชิงชัยเจ้าเหรียญทองในกีฬาระดับโลกได้
อดีตที่เกมกีฬา การต่อสู้ ใช้พลัง มีเฉพาะผู้ชาย การแข่งขันกีฬา โอลิมปิก จึงเป็นการแข่งขันที่มีนักกีฬาหลักคือผู้ชายเท่านั้น จนกระทั่งโลกในยุคปัจจุบัน ที่เพศสภาพต่าง ๆ คือสัญลักษณ์ของความเท่าเทียม การเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับโลก จึงค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ปี 1900 ที่มีสัดส่วนนักกีฬส่งผลไปถึงโปรแกรมกีฬาแบบสมดุลทางเพศ ผู้หญิงร่วมแข่งขันเพียง 2.2%
จนผ่านมา 124 ปี สัดส่วนผู้หญิงกลับได้รับการยอมรับ เป็นนักกีฬาให้เข้าร่วมการแข่งขันในกีฬาต่าง ๆ รวมถึงบทบาทในการเป็นผู้ฝึกสอน การออกอากาศ และการบริหารจัดการกีฬาไม่แตกต่างจากผู้ชาย โอลิมปิกปีนี้ ปารีส ปี 2024 จึงมีสัดส่วนผู้หญิงถึง 50% เท่าเทียมกับผู้ชาย
โธมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เปิดเผยว่าถึงแนวคิดการประกาศเจตนารมณ์ทำให้โอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุดในทุกมิติ ทั้งในด้านของจากการสร้างความเท่าเทียมทางเพศในโอลิมปิก โดยเป็นมติของทางคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (NOC) กว่า 196 คน (96%) เห็นตรงกันให้คัดเลือกนักกีฬา 2 คน ที่เป็นชายและคนหญิงร่วมกันถือธงของประเทศ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นทางสัญลักษณ์ของความเท่าเทียม
โปรแกรมการแข่งขันกีฬาเพิ่ม 28 กีฬาจาก 32 กีฬาได้มีความเท่าเทียมทางเพศอย่างเต็มที่ โดยมีจำนวนกิจกรรมเหรียญที่ให้ทั้งนักกีฬาหญิงและชายอย่างสมดุลเท่าเทียม สะท้อนได้จากพิธีเปิดระหว่างคําสาบานของโอลิมปิก มีผู้ชายและหญิงเคียงคู่กันในวาระสำคัญ โดย ฟลอเรนต์ มาเนาดู (Florent Manaudou) และ เมลิน่า โรเบิร์ต-มิชอน (Mélina Robert-Michon) ผู้ถือธงชาวฝรั่งเศส และผู้จุดคบเพลิงในโอลิมปิก นักกีฬาชาวฝรั่งเศส ผู้สร้างตำนานโอลิมปิกชาวฝรั่งเศส เท็ดดี้ ไรเนอร์ (Teddy Riner) และ มารี-โจเซ่ เปเร็ก (Marie-José Pérec)
ส่วนตารางการแข่งขันเพื่อชิงเหรียญทอง ทั้งหมดมี 152 รายการที่เป็นการแข่งขันกีฬาผู้หญิง และ 157 รายการที่เป็นการแข่งขันกีฬาของผู้ชาย และมี 20 การแข่งขันที่มีทั้งหญิงและชาย นั่นหมายถึง กิจกรรมมากกว่าครึ่งของการชิงชัยเหรียญที่ปารีส เปิดกว้างให้กับนักกีฬาผู้หญิงลงแข่งขัน
กลยุทธ์เพิ่มเท่าเทียม หนึ่งก้าวพื้นที่สะท้อน ความยั่งยืน
มารี ซัลลัวส์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนและพัฒนาองค์กรของ IOC เปิดเผยถึงการจัดการเพิ่มความเท่าเทียมในการแข่งขัน เดินแผนยุทธศาสตร์ล้อไปกับวาระโอลิมปิก Olympic Agenda 2020 ที่ได้กำหนดความเท่าเทียมทางเพศเป็นสิ่งสำคัญในการแข่งขันต้องมีความเท่าเทียมทางเพศ จึงตั้งใจออกแบบการแข่งขันให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาท ในเกมกีฬาเท่าเทียมกับผู้ชาย
“เรามีความสุขและภาคภูมิใจที่ได้เฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะความเท่าเทียมทางเพศ เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างทีม ไม่ใช่เพียงแค่นักกีฬา ยังขยายไปถึงผู้ฝึกสอน การบริหารกีฬา และการออกอากาศ”
ติดตามอ่านข่าวทั้งหมดได้ที่ลิงก์
#ESGuniverse
#Olympics
#GenderParity
#diversity
#inclusion
#โอลิมปิกปารีส2024
#ความเท่าเทียมทางเพศ
โฆษณา