📍แนะนำการดูแลปัญหาโรคผิวหนัง โรค Lichen amyloidosis ไลเค่นอะไมลอยโดซิส มีลักษณะ&ดูแลได้อย่างไร ?

🔬โรค Lichen amyloidosis ไลเค่น อะไมลอยโดซิส ผื่นไลเคนอะไมรอยด์โดสิส (lichen amyloidosis) เป็นโรคที่มีการสะสมของสารอะมัยรอยด์ (amyloid) ที่บริเวณหนังแท้ส่วนบน ใต้ต่อหนังกำพร้า
•เป็นโรคที่มีการสะสมของสารโปรตีนชนิดหนึ่ง คือ Amyloid สะสมใต้ผิวหนังในชั้นหนังแท้ ทำให้เกิดอาการเป็นตุ่มแข็งๆ สีน้ำตาลแดง มีอาการคัน พบได้บ่อยที่หน้าแข้งทั้ง 2 ข้าง และอาจพบได้ที่เท้า, ต้นขา
•โรคนี้เกิดจากมีการ สะสมของสารอะมัยลอยด์ (Amyloid) ที่บริเวณหนังแท้ส่วนบน ทำให้เกิดผื่นมักเกิดบริเวณหน้าแข้ง และมีอาการคัน
•มีลักษณะ ผิวหนังพบบ่อยบริเวณหน้าแข้งมีการหนาตัวขึ้น ลักษณะเป็นตุ่มนูน ***เรียงกันคล้ายกับสร้อยลูกปัด rippled pattern***
•โดยตุ่มนูนจะอยู่ระหว่างรูขุมขน มีอาการคันบ้าง แต่ไม่รุนแรง ลูบๆก็ทุเลาลง
🔬ชื่อโรค Lichen amyloidosis อาจจะฟังดูไม่คุ้นแต่ในความเป็นจริงสามารถ พบได้บ่อย ในชาวเอเชีย เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ผิวของเรา การเกิดขึ้นของโรคนี้บางครั้งมีปัจจัยกระตุ้น บางครั้งอาจไม่พบ
👉แต่ส่วนใหญ่เหตุกระตุ้นที่พบได้บ่อยคือการเสียดสีที่บริเวณนั้นบ่อยๆ เช่นการ เกา การถู ดังนั้นน บริเวณที่พบโรคนี้ได้บ่อยมักเป็นที่หน้าแข้งเนื่องจากเราต้องใส่การเกง ถุงเท้า ถุงน่อง กันเป็นประจำ
🧬การเสียดสีซ้ำไปซ้ำมาจะเป็นตัวการทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ผิวหนัง(keratinocyte) เมื่อเกิดการตายของเซลล์ผิวหนัง มันจะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นใยโปรตีนออกมา (Amyloid protein) คล้ายกับที่เวลาเราล้มเป็นแผลถลอกแล้วมีการสร้างสะเก็ดแผล แต่กระบวนการสร้างโปรตีนนั้นไม่สมบูรณ์ เป็นโปรตีนผิดรูป
เส้นใยโปรตีนจึงไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ต้องทิ้งสถานเดียว แต่เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ไม่ได้มาตรฐาน กลไกการขับออกจากร่างกายจึงบกพร่อง กลับกลายเป็นสะสมไว้ใต้ผิวหนังเป็นตุ่มนูนหนา คล้ายผื่นขึ้นมาแทน การสะสมของโปรตีนใต้ผิวหนังจะไปรบกวนปลายประสาททำให้เกิดอาการคันขึ้นได้ด้วย
-โดยส่วนใหญ่คนไข้ที่เป็นโรคนี้มักจะรำคาญและอาการคันและลักษณะผื่นที่ดูเหมือนสกปรก
-โดยคนไข้จะพยายามขัดถูผิวบริเวณนี้เป็นประจำเพื่อให้ผื่นหลุดออกไป แต่กลับกลายเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเสียดสีมากขึ้น ผื่นจึงเป็นมากขึ้น ❌
✅ดังนั้นการดูแลรักษาจึงจำเป็นต้องปรับความเข้าใจในการดูแลรักษาผิว ครับโดยงดขัดถูแกะเกา***
✅และต้องทาครีมให้ความชุ่มชื้น moisturizer ผิวเยอะๆดลยครับ***
•หากใครไม่แน่ใจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อตรวจวินิจฉัยเพื่อให้การรักษาได้อย่างถูกวิธีครับ
🧬การรักษา
การรักษาโดยสรุป
1. ❌งดเกา ขัด ถู
2. ทายาผลัดเซลล์ผิว เช่น วิตามินเอ AHA
3. ทาmoisturizer บำรุงผิว
4. ผลัดเซลล์ผิว chemical Pelling
5. เลเซอร์
-ที่ทำให้อาการดีขึ้นได้ (คันลดลง ผื่นเรียบลง) มีหลายวิธี การตอบสนองขึ้นกับแต่ละบุคคลและควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรักษา
-แต่ผลการรักษา รักษาค่อนข้างยากและมีโอกาสเป็นซ้ำบ่อยถ้ายังมีการแกะเก่าอยู่ครับ***
•การรักษามีทั้งที่ใช้ยาทา ผลัดเซลล์ผิว Peeling ฉายแสง ไปจนถึงการใช้เลเซอร์หลายชนิดครับ
และที่สำคัญคืองดเกาขัดถูครับ
-การทายา topical steroid หรือยาทาสเตียรอยด์ จะช่วยลดอาการคันได้รวดเร็ว แต่การทาควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา เพื่อปรับความแรงตามความหนาหรืออาการของโรค หากทายาผิดวิธีจะมีผลข้างเคียงได้ครับ
-การทายา กลุ่ม calcinurin inhibitors
-การใช้ยาทากลุ่มที่ทำให้เกิดการผลัดผิว เช่น salicylic acid
-การผลัดเซลล์ผิวด้วยกรด Chemical Pelling ในรพ. บางที่อาจมีการทายาด้วย TCA เปอร์เซนต์สูง ที่มีใช้เฉพาะในรพ. เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ครับ https://youtu.be/M-1Fd3Ex7a4 👨‍⚕️หมอมีคลิปการดูแลผื่น Lichen amyloidosis ด้วยการผลัดเซลล์ผิว Peeling มาฝากครับ https://bit.ly/35k1yAa
-ในคนที่เป็นมากและมีอาการคันมาก ทายาแล้วไม่ดีขึ้นอาจพิจารณา การฉายแดดเทียม (ฉายด้วยแดด UVB) หรือการรับประทานยา กลุ่มวิตามินเอ
-การใช้เลเซอร์ เช่น Fractional Laser, Fractional CO2 Laser, Picosecond Laser
📍งานวิจัย โดย ผศ. นพ. ศุภะรุจ (หมอรุจ) และ รศ. นพ. เทอดพงศ์ เกี่ยวกับการรักษาโรคผิวหนัง Lichen amyloidosis ด้วย Picosecond Laser ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติครับ
👨🏻‍💻Suparuj Lueangarun & Therdpong Tempark(2021) Efficacy of 1064-nm Nd:YAG picosecond laser in lichen amyloidosis treatment: clinical and dermoscopic evaluation, Journal of Cosmetic and Laser Therapy, DOI: 10.1080/14764172.2021.1975756
Lichen amyloidosis (LA) is a type of primary localized cutaneous amyloidosis characterized by multiple localized, hyperpigmented, grouped papules, in which the deposition of amyloid materials from altered keratinocytes usually resists to current treatments.
After the first treatment using 1064-nm Nd: YAG picosecond (ps-Nd:YAG) laser, there was an improvement with persistence up to 3-month follow up after five sessions of 4-week interval, as well as a decrease in number, thickness, and darkness of lesions from clinical and dermoscopic evaluation. Thus, the ps-Nd:YAG laser could be efficacious for LA treatment.
อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีรักษาขึ้นกับอาการผู้ป่วย ดุลยพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ และอย่าลืมหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เป็นมากขึ้นครับ
#lichenamyloidosis #ไลเค่นอะไมลอยโดซิส #ผื่นหนา #ผื่นคัน #ผิวแห้ง #รักษาโรคผิวหนัง #ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง #PicosecondLaser #ChemicalPeeling #ครีมบำรุงผิว #ยูเรียครีม #drsuparuj #demedclinic #medfluencer #discoverypicolaser
#หมอรุจชวนคุย 👨‍⚕️😉🔬
โฆษณา