31 ก.ค. เวลา 09:44 • กีฬา

วิถีและอุดมการณ์โอลิมปิก....กับชีวิตประจำวัน

31 กรฎาคม 2567
ใครๆในที่นี้หมายถึงบุคคลทั่วไป และแม้แต่คนในแวดวงกีฬาก็นึกว่าโอลิมปิกคือการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น แต่จริงๆแล้วโอลิมปิกมีทั้งปรัชญา แนวคิด และวิถีของโอลิมปิกที่สอดแทรกอยู่ในทุกกิจกรรม ทั้งนี้รวมทั้งกิจกรรมกีฬา กิจกรรมเพื่อการศึกษา กิจกรรทางเศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปลูกฝังค่านิยมโอลิมปิกสำหรับเยาวขน
เพราะเราสามารถนำค่านิยมโอลิมปิกไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในทุกๆมิติ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การสังคม การหาเลี้ยงชีพ การทำธุรกิจ โอลิมปิกไม่ใช่แค่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น แต่หมายถึงวิถีชีวิต การดำรงตน การเมือง การสังคม และการใช้อุดมการณ์โอลิมปิกในชีวิตประจำวัน
เพราะจุดเริ่มต้นของกีฬาโอลิมปิกในสมัยโบราณที่เกิดขึ้นในปี 776 ก่อนคริสตกาลนับถึงปัจจุบันก็ 2,800 ปี การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณนั้น แต่เดิมเป็นเทศกาลหรือการเฉลิมฉลองและบูชาเทพเจ้าซุส และเป็นกุศโลบายในการหยุดพักสงครามในยุคสมัยนั้น แต่ก็ได้ยุติการจัดการแช่งขันลงในปี คศ. 393
ในภายหลังจึงได้เริ่มบทใหม่ของโอลิมปิกโดยการนำของ บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ชาวฝรั่งเศส จนมีการแข่งขันโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกในปี คศ 1896 และจัดการแข่งขันเรื่อยมาจนปัจจุบันเป็นครั้งที่ 33 ในปี 2024 นี้ที่ปารีส
ส่วนอุดมการณ์โอลิมปิกซึ่งมีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการ คือ ความยอดเยี่ยม (Excellence) มิตรภาพ (Friendship) และการเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน (Respect) นั้นนับได้ว่านอกจากนักฬาและผู้เกี่ยวข้องแล้ว ยังรวมถึงทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย ซึ่งก็คือทุกคนนั้นเอง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันที่เรียกได้ว่าเป็นวิถีชีวิตก็ได้ โดยสามารถขยายความได้ดังต่อไปนี้
1.Excellence ความเป็นเลิศหมายถึงการเป็นหรือมุ่งมั่นที่จะเป็นที่หนึ่ง ไม่เพียงแค่ในสนามกีฬาเท่านั้น แต่ยังในชีวิตประจำวันด้วย การบรรลุความเป็นเลิศไม่ได้หมายความว่าคุณต้องชนะตลอดเวลา แต่มันคือการเข้าร่วมและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเอง นั่นคือความพยายามที่คุณใส่เพื่อให้ดีกว่าเมื่อก่อนหน้านี้
2.Friendship มิตรภาพหมายถึงการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและความเป็นทีม การแบ่งปันความสุขและการสร้างแรงบันดาลใจในเชิงบวกผ่านกีฬา เพราะกีฬาคือวิธีหนึ่งที่คุณจะได้เรียนรู้ที่จะยอมรับคนที่แตกต่างกันจากทั่วทุกมุมโลก ที่มาจากประเทศ วัฒนธรรม สถานะทางสังคม และศาสนา ความเชื่อ ที่แตกต่างกัน แต่ถ้าคุณแบ่งปันค่านิยมเดียวกัน คุณก็จะเข้าใจกันและกันแม้จะมีความแตกต่างกันก็ตาม
3. Respect การให้ความเคารพ การให้เกียรติ หมายถึงการเคารพในเกมและกฎของเกม การเล่นอย่างยุติธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความสำเร็จของคุณจะมีค่าเพียงหากคุณทำมันโดยการปฏิบัติตามกฎและหลักจริยธรรม ความเคารพยังหมายถึงการเคารพตัวเอง เพื่อนร่วมทีม คู่แข่ง และผู้เข้าร่วมกีฬา ตลดจนทุกคนและมวลมนุษย์ชาติ
นอกจากนี้แล้วโอลิมปิกยังส่งเสริมความเสมอภาคและภารดรภาพไม่ว่าจะในเรื่อง เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ และความแตกต่างในทุกมิติ โดยจะสังเกตุเห็นได้จากการจัดการแข่งขันโอลิมปิก ปารีส 2024 ในครั้งนี้ที่ผมขอรวบรวมเป็นข้อสังเกตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีเปิดที่จัดอย่างแปลก แตกต่าง และสร้างสรรค์เป็นอย่างยิ่ง
1.จุดคบเพลิงสองคนเป็นครั้งแรก เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และจำนวนนักกีฬาที่ถูกจำกัดว่าในทุกครั้งจะต้องไม่เกิน 10,500 คน ครั้งนี้จะมีนักกีฬาชายและหญิง ตลอดจนเหรียญรางวัลให้ชิงชัยกัน ระหว่างกีฬาประเภทชายและหญิงมีสัดส่วนเท่ากันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การจัดการแข่งขัน และคงจะเป็นแนว
2.ในพิธีเปิดครั้งนี้มีคนพิการที่เห็นได้ชัดคือคนขาขาดสองคนได้ร่วมวิ่งด้วย และอนุมานว่าอีกหลายคนที่พิธีกรไม่ได้ประกาศชื่อ / ตำแหน่ง และวิ่งร่วมกันกับผู้พิการขาขาดทั้งสองนั้น ก็น่าจะเป็นคนพิการ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันอย่างมีรูปธรรมที่ชัดเจน
3.คุณตา ชาลี กองเต้ เป็นนักกีฬาจักรยานที่อายุ ครบ 100 ปี แม้ต้องนั่งรถเข็นก็สามารถมีส่วนร่วมในการวิ่งคบเพลิงในช่วงสุดท้ายได้ เป็นการให้เกียรตินักกีฬาอาวุโสเพื่อตอกย้ำอุดมการณ์โอลิมปิก
4.มีการมอบรางวัล OLYMPIC LAUREATE ให้ข้าหลวงใหญ่ UNHCR Fillipo Grandi. ที่ส่งเสริมอุดมการ์ณโอลิมปิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ผุ้ลี้ภัยจากสงครามและการเมืองได้มีโอกาสในการเล่นกีฬา และ แข่งขันโอลิมปิกซึ่งมีทีมผู้ลี้ภัยเข้าร่วมกากรแข่งขันด้วย (ไม่แน่ใจว่าเป็นครั้งแรกหรือไม่ที่มีพิธีมอบรางวัลนี้ในพิธีเปิด แต่ข้าหลวง เป็นคนที่ 3 ที่ได้รับรางวัลนี้ )
5.ในพิธีเปิดครั้งนี้ประกอบไปได้วยทุกชาติที่เป็นสมาชิกโอลิมปิกคือ 206 ชาติ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่านักกีฬาอย่าง กัมพูชา บรูไน หรือติมอร์เลสเตส ที่อยู่ร่วมในพิธีเปิดนั้นจะได้แข่งขันจริงๆหรือไม่ หรือแค่เชิญมาร่วมในฐานะสมาชิกเท่านั้น เพราะทั้งสามชาตินั้นส่งนักกรีฑาและว่ายน้ำซึ่งแม้แต่ในซีเกมส์ก็รู้สึกว่ายังไม่ได้เหรียญทอง จะได้โควต้าปกติไปแข่งได้อย่างไร ถ้าได้แข่งจริงก็จะเป็นลักษณะการเชิญเป็นพิเศษมากกว่า
6.ผมไม่แน่ใจว่าในทุกชนิดกีฬาหรือเปล่าแต่ที่แน่ๆ วอลเลย์บอลกับแบดมินตันในการจัดสรรคโควต้านั้นระบุไว้ในตอนท้ายว่าหากทวีปใดยังไม่มีนักกีฬามีคุณสมบัติครบถ้วนให้ทวีปนั้นที่อันดับดีที่สุดสามารถเข้าร่วมการแข่งขันเป็นลำดับสุดท้ายในกีฬานั้นๆ ยิ่งไปกว่านั้นแบดมินตันในแต่ละประเภทยังระบุว่าเมื่อเรียงลำดับในการคัดเลือกแล้วแต่ละชาติจะส่งได้ประเภทละไม่เกินสองคนเท่านั้น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักกีฬาชาติอื่นๆได้มีโอกาสเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
ทั้งหลายนี้ทำให้อุดมการณ์โอลิมปิกได้เติมเต็มเพื่อความสมบูรณ์ของกีฬาของมวลมนุษย์ชาติในครั้งนี้อย่างสมบูรณ์ และคงต้องพัฒนาอุดมการณ์นี้ให้เข้มขึ้นและทั่วถึงไปยังทุกประเทศ ทุกเกมส์กีฬา และทุกวิถีชีวิตนั่นเอง….
โฆษณา