1 ส.ค. เวลา 03:30 • ธุรกิจ

ASML บริษัทขายเครื่องผลิตชิป เครื่องละ 10,000 ล้าน ที่ทั้งโลกต้องการ

หากพูดถึงเงิน 10,000 ล้านบาท นั้นมากแค่ไหน
เอาไปลงทุนสร้างธุรกิจอะไรได้บ้าง ?
- 10,000 ล้านบาท เอาไปสร้างศูนย์การค้าเซ็นทรัล ที่ต่างจังหวัดได้ 2 แห่ง
- 10,000 ล้านบาท เอาไปลงทุนสร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เทียบเท่านิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
แต่รู้หรือไม่ ? ว่าในวงการผลิตชิป
10,000 ล้านบาท คือราคาเครื่องจักรผลิตชิปเครื่องเดียว ที่ ASML ขายให้กับบริษัทผู้ผลิตชิป AI และสมาร์ตโฟนหลายเจ้า อย่าง TSMC, Samsung และ Intel
1
จน ASML ขึ้นชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลัง ของบริษัทเทคโนโลยีทั่วทั้งโลก
เครื่องผลิตชิป ราคาเครื่องละ 10,000 ล้านบาท ของ ASML มีดีอะไร
ทำไมบริษัทต่าง ๆ ต้องง้อเครื่องผลิตชิป จากบริษัทแห่งนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ASML อ่านว่า อาเอสเอ็มเอล
ก่อตั้งขึ้นในปี 1984 หรือราว 40 ปีก่อน
โดยมีจุดเริ่มต้นจากความร่วมมือระหว่าง 2 บริษัท นั่นคือ
- Philips บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และผู้ผลิตเครื่องมือทางการแพทย์รายใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการใช้แสง
- ASM International เจ้าของธุรกิจผลิตชิปรายใหญ่ในเนเธอร์แลนด์
1
โดย ASML ทำธุรกิจวิจัยและพัฒนาเครื่องจักร ที่ใช้สำหรับการพิมพ์ลายลงบนซิลิคอนเวเฟอร์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ “ชิป”
2
แต่ก็ต้องบอกว่าตั้งแต่เริ่มแรกที่ ASML ได้ก่อตั้งขึ้นมา
ก็มีคู่แข่งที่เป็นบริษัททำเครื่องผลิตชิป เกิดขึ้นหลายแห่ง
อย่าง Nikon และ Canon ผู้ผลิตเลนส์และกล้องรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งในช่วงแรกที่เริ่มต้นก่อตั้ง บริษัท ASML ประสบปัญหาขาดทุน แต่ก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ด้วยสายป่านที่เกิดขึ้น จากการระดมทุนในด้านธุรกิจ และด้านการวิจัยและพัฒนา
จากทั้ง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ อย่าง Philips และ ASM International
1
รวมถึงการที่ ASML ตัดสินใจไปเป็นพันธมิตรกับบริษัทต่าง ๆ ภายนอกประเทศ เพื่อพัฒนาเครื่องผลิตชิปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จนสุดท้าย ASML ก็เริ่มพลิกกลับมาทำกำไร และได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ สำเร็จในปี 1995 หรือหลังจากที่ก่อตั้งบริษัทมา 11 ปี
แล้วทำไม ASML ถึงกลายเป็นบริษัททำเครื่องผลิตชิป ที่เป็นกระดูกสันหลัง ของบริษัทผลิตชิปทั่วทั้งโลก
1
ก็ต้องบอกว่าโดยปกติ “ชิป” ที่อยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
อย่างคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน ไปจนถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ AI
1
จะถูกผลิตภายใต้กระบวนการที่เรียกว่า Lithography
ซึ่งกระบวนการนี้ อธิบายง่าย ๆ ก็คือ
เป็นกระบวนการฉายแสงลงบนแผ่นหิน หรือแผ่นซิลิคอน เพื่อพิมพ์ลายบนชิปขึ้นมา
2
ซึ่งชิปที่ถูกผลิตขึ้นมา จะมีความรวดเร็ว และมีความแม่นยำในการประมวลผลมากแค่ไหนนั้น
ขึ้นอยู่กับความละเอียดและความซับซ้อน ในการพิมพ์ลายลงบนแผ่นซิลิคอน
ดังนั้น บริษัทสร้างเครื่องผลิตชิป
จึงต้องพัฒนาลำแสงที่ใช้ในการฉายลงบนแผ่นซิลิคอน ให้มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ
เพื่อให้สามารถพิมพ์ลวดลายลงบนชิป ให้มีความละเอียดและซับซ้อนมากขึ้น
ลำแสงขนาดเล็กที่ฉายลงบนแผ่นซิลิคอน ก็เปรียบเสมือน “หัวดินสอ” ที่มีความแหลมคม
1
และเมื่อหัวดินสอแหลมคมมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ลูกค้าที่เป็นบริษัทผู้ผลิตชิป สามารถวาดลวดลายที่ละเอียดและซับซ้อนได้มากขึ้น นั่นเอง
ที่ผ่านมา บริษัททำเครื่องผลิตชิปอย่าง ASML
ได้พัฒนาลำแสงสำหรับการผลิตชิป ให้เล็กในระดับนาโนเมตรมาตลอด
อย่างในปี 2001 ASML ก็ได้เปิดตัวเครื่องผลิตชิป ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นครั้งแรก
นั่นคือเครื่อง DUV หรือ Deep Ultraviolet Lithography
โดยเครื่องรุ่นแรก ถูกพัฒนาโดยสามารถยิงลำแสงขนาดเล็ก ด้วยความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร
ด้วยขนาดเท่านี้ถือว่าเล็กกว่าเส้นผมประมาณ 300 เท่า
4
ซึ่งในเวลาต่อมา ASML ก็ได้พัฒนาเครื่อง DUV ให้มีขนาดเล็กลงไปอีก จนเหลือความยาวคลื่นเพียง 193 นาโนเมตรในปัจจุบัน
2
ต่อมาในปี 2011 ASML ได้เปิดตัวเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นั่นคือเครื่อง EUV หรือ Extreme Ultraviolet Lithography
1
โดย ASML ได้ใช้เวลากว่า 20 ปีในการวิจัยและพัฒนาเครื่อง EUV จนสำเร็จ
2
ความพิเศษของเครื่อง EUV คือ เป็นเครื่องพิมพ์ลาย ที่ใช้แสงอัลตราไวโอเลตชนิดเข้มข้น ที่มีความยาวคลื่นสั้นพิเศษเพียง 13.5 นาโนเมตรเท่านั้น
เครื่อง EUV ของ ASML สามารถผลิตชิปที่มีขนาดโครงสร้างเล็กมากได้ ทั้ง 7 นาโนเมตร, 5 นาโนเมตร และ 3 นาโนเมตร
และที่สำคัญ ASML เป็นเพียงเจ้าเดียวในโลก ที่สามารถผลิตเครื่อง EUV นี้ได้..
ปัจจุบัน ลูกค้าหลัก ๆ ของ ASML ก็คือบริษัทผู้ผลิตชิปทั่วโลก อย่าง
- บริษัท TSMC ที่รับจ้างผลิตชิปมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก
ให้กับบริษัทที่ออกแบบชิปมาให้แล้ว อย่าง Apple, Nvidia, Qualcomm และ Broadcom
- บริษัทผู้ออกแบบชิป ผลิตชิปในแบรนด์ตัวเอง และรับจ้างผลิตชิปด้วย อย่าง Samsung, Intel และ Texas Instruments
โดยบริษัทผู้ผลิตชิปทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จำเป็นต้องมีเครื่องจักรสำหรับพิมพ์ลายของ ASML มาใช้สำหรับการผลิตชิป
1
ซึ่งเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการผลิตชิปเหล่านี้ จะมีราคาตั้งแต่หลักพันล้านบาท ไปจนถึงระดับหมื่นล้านบาท
3
อย่างเครื่องผลิตชิป EUV ที่ ASML เปิดตัวในปี 2021
มีมูลค่าสูงถึง 11,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..
ทีนี้เราไปดูผลประกอบการของ ASML ย้อนหลัง 10 ปีกันบ้าง
ปี 2013 รายได้ 256,000 ล้านบาท กำไร 50,000 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 475,000 ล้านบาท กำไร 113,000 ล้านบาท
ปี 2023 รายได้ 1,100,000 ล้านบาท กำไร 312,000 ล้านบาท
1
โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ASML มีกำไรเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่าเลยทีเดียว
สำหรับโครงสร้างรายได้ในปี 2023
ทุก ๆ 100 บาท มาจาก
- ขายเครื่องผลิตชิป 80 บาท
- ค่าบริการหลังการขาย 20 บาท
โดยค่าบริการหลังการขาย ก็อย่างเช่น ค่าซ่อมบำรุง เพื่อยืดอายุการใช้งาน
ค่าอัปเกรดระบบให้ทันสมัย ไปจนถึงค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
1
ซึ่งค่าบริการหลังการขาย ถือเป็นรายได้ประจำ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทผู้ผลิตชิป จำเป็นต้องจ่ายให้กับ ASML ในทุก ๆ ปี หลังจากที่สั่งซื้อเครื่องผลิตชิปไปติดตั้ง
แล้วถ้าเราเอาแว่นขยาย ส่องลงไปที่รายได้ จากการขายเครื่องผลิตชิป ก็จะเห็นว่า
- เป็นเครื่องผลิตชิป DUV 56%
- เป็นเครื่องผลิตชิป EUV 42%
- เป็นเครื่องวัดและตรวจสอบ 2%
ก็ต้องบอกว่า เครื่องผลิตชิป ทั้ง DUV และ EUV ต่างก็ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อผลิตชิปรุ่นใหม่ ๆ ที่มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ
ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตชิปทั่วโลก จึงจำเป็นต้องสั่งเครื่องผลิตชิปใหม่ ๆ อยู่เสมอ
ซึ่งบริษัทหลาย ๆ แห่งจำเป็นต้องสั่งเครื่องผลิตชิปรุ่นใหม่ ล่วงหน้าไปถึงปี 2030 กันเลยทีเดียว..
1
มาลองดูจำนวนเครื่องจักรผลิตชิป DUV และ EUV ที่ ASML ได้ขายไปกัน
ปี 2013
ขายเครื่องผลิตชิป DUV ไป 156 เครื่อง
ขายเครื่องผลิตชิป EUV ไป 1 เครื่อง
ปี 2018
ขายเครื่องผลิตชิป DUV ไป 310 เครื่อง
ขายเครื่องผลิตชิป EUV ไป 18 เครื่อง
ปี 2023
ขายเครื่องผลิตชิป DUV ไป 396 เครื่อง
ขายเครื่องผลิตชิป EUV ไป 53 เครื่อง
3
ซึ่งถ้าเราไปดูรายได้ของปี 2023
ASML มียอดขายจากเครื่องผลิตชิป DUV อยู่ที่ 510,000 ล้านบาท
มียอดขายจากเครื่องผลิตชิป EUV อยู่ที่ 363,000 ล้านบาท
4
ถ้าลองมาหารเลขกันเร็ว ๆ
ASML ขายเครื่อง DUV 1 เครื่อง ในราคาเฉลี่ย 1,288 ล้านบาท
และขายเครื่อง EUV 1 เครื่อง ในราคาเฉลี่ย 6,849 ล้านบาท
1
จะเห็นได้ว่า เครื่อง EUV เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ ASML มีรายได้และกำไรเติบโตอย่างก้าวกระโดดนั่นเอง
ถึงแม้ว่า ASML จะเป็นบริษัททำเครื่อง EUV เพียงเจ้าเดียวในโลก
แต่ ASML ก็มีความเสี่ยงรอบด้าน ที่เราต้องดูให้ดีเหมือนกัน
โดยรายได้ของ ASML จะเติบโตมากน้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับความต้องการชิป บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
อย่างสมาร์ตโฟน แล็ปท็อป รถยนต์ EV หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ AI และ Data Center
ดังนั้น ถ้าบริษัทเหล่านี้ มีการเติบโตที่ชะลอตัวลง ก็อาจทำให้ผู้รับจ้างผลิตชิปรายใหญ่
อย่าง TSMC, Samsung และ Intel ต้องชะลอการผลิตชิปลงด้วย
จนทำให้บริษัทเหล่านี้ สั่งซื้อเครื่องจักรผลิตชิปใหม่ ๆ จาก ASML น้อยลงนั่นเอง
ซึ่งจะเห็นได้จากผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ ASML
โดยในไตรมาส 2 ปี 2024
1
มีรายได้ 244,800 ล้านบาท ลดลง 10%
มีกำไร 61,900 ล้านบาท ลดลง 19%
1
ซึ่งถ้าเราลองส่องให้ลึกกว่านี้
โดยไปดูสัดส่วนรายได้ที่มากที่สุด 3 ประเทศแรก เราจะเห็นว่า
ในปี 2023 มีรายได้จากไต้หวัน มากสุดที่ 30%
รองลงมาคือ จีน 29% และเกาหลีใต้ 24%
1
ในขณะที่ไตรมาส 2 ปี 2024 มีรายได้จากจีนมากสุด คิดเป็นสัดส่วน 49%
1
จะเห็นว่าในปีนี้ รายได้หลักของ ASML เปลี่ยนจากไต้หวัน ไปเป็นประเทศจีน
แต่ถึงแม้ว่ายอดขายในจีน ยังคงแข็งแกร่งอยู่
แต่บริษัทต้องเผชิญข้อจำกัดจากสหรัฐอเมริกา ที่ห้ามส่งออกเครื่องผลิตชิปขั้นสูง อย่าง EUV และ DUV บางประเภทไปยังจีน
ดังนั้นรายได้ของ ASML ที่มาจากจีน ส่วนใหญ่ก็คือเครื่องจักร DUV รุ่นเก่า ๆ
ที่ใช้สำหรับผลิตชิปที่ไม่ซับซ้อน ในผลิตภัณฑ์ทั่ว ๆ ไป เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า และรถยนต์ EV เนื่องจากไม่ติดข้อจำกัดในการส่งออก นั่นเอง
แต่ยังไม่หมดเท่านี้ เพราะล่าสุดทางสหรัฐอเมริกา ได้ส่งสัญญาณว่า กำลังพิจารณาข้อกำหนดใหม่ เพื่อจำกัดการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐอเมริกา และประเทศพันธมิตร ไปยังจีน ให้มีความเข้มงวดขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและรายได้ของ ASML มากกว่าเดิม
สิ่งที่ต้องติดตามต่อ สำหรับ ASML ในอนาคตก็คือ
1
ตลาดประเทศจีน มีความต้องการเครื่องผลิตชิปมากแค่ไหน
และทางสหรัฐอเมริกา จะผ่อนคลายข้อจำกัดในการส่งออกเครื่องผลิตชิปขั้นสูง
อย่าง EUV ไปยังประเทศจีนได้บ้างหรือไม่
รวมถึงจะมีคู่แข่ง ที่สามารถพัฒนาเครื่อง EUV หรือเทคโนโลยีอื่นที่เหนือกว่า มาสู้กับ ASML ได้หรือเปล่า..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
เครื่องผลิตชิป EUV รุ่นต่อไปของ ASML เป็นเทคโนโลยีการผลิต High-NA EUV ที่จะช่วยผลิตชิป ที่มีความละเอียดถึงระดับ 2 นาโนเมตรได้
โดยตัวเครื่อง สนนราคาที่ 14,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..
—----------
ASML เป็นหนึ่งในหุ้น ที่อยู่ใน MEGA10EURO
“MEGA10EURO เปิดจอง IPO”
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัททรงอิทธิพลในยูโรโซน กับ MEGA10EURO
- กองทุนเปิด MEGA10EURO ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10EURO-A) ชนิดเพื่อการออม (MEGA10EURO-SSF) และกองทุนเปิด MEGA10EURO เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10EURORMF) เป็นกองทุนที่จะเข้าไปลงทุนในบริษัทที่อยู่ใน Euro Stoxx 50 ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มประเทศยูโรโซน
โดยคัดเลือกมาจากบริษัท ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูง และมีสภาพคล่องสูง จำนวน 10 บริษัท เช่น LVMH, Hermès, Inditex (เจ้าของ Zara) และ EssilorLuxottica*
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
MEGA10EURO-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
MEGA10EURO-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว
MEGA10EURORMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
1
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
ผู้สนับสนุนการขาย ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
3. บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
6. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
9. บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
10. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
11. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
12. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
13. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
14. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
15. บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
16. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
17. บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
18. บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
19. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
20. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
21. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
22. บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
23. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
24. บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
25. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
26. บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
27. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
28. บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด
29. บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ และเป็นไปตามเงื่อนไขของผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ และ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
1
โฆษณา