หากพูดถึงการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ หลายคนอาจจะนึกไปถึงเครื่องมือที่ใช้สำหรับการปฏิบัติงานเป็นหลัก เพราะเทรนด์ AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์คือ กระแสที่มาแรงที่สุด ทำให้เราคุ้นเคยกับรูปแบบการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการผลิตและการทำงานในรูปแบบนี้มากเป็นพิเศษ
แต่รู้หรือไม่ว่า ในวงการอื่น ๆ ก็มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในวงการชีววิทยาที่กำลังจะมีคลื่นลูกสำคัญที่เรียกกันว่า “Biorevolution” เข้ามาปฏิวัติวิถีชีวิตของมนุษยชาติในรูปแบบที่ไม่ต่างกับการเข้ามาของ AI ที่กำลังเกิดขึ้นเลยก็ว่าได้
ในงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future ในหัวข้อ Unleashing the Power of BioTech: ปลดล็อกศักยภาพเทคโนโลยีชีวภาพ นายแพทย์ชัชพล เกียรติขจรธาดา ที่ให้ความรู้เรื่องชีววิทยาที่ออกจากวงการแพทย์ไปสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของมนุษย์อย่างเรา ๆ มากขึ้น โดยจะแบ่ง Session ต่าง ๆ ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ
แล้วข้อมูลพันธุกรรมนั้นทำงานอย่างไร? คำตอบคือ พันธุกรรมนั้นมีลักษณะที่คล้ายกับข้อมูลดิจิทัลที่เราคุ้นเคย อย่างรหัส 0 และ 1 หรือที่เรียกกันว่าเลขฐานสอง ที่ใช้ในการเขียนหรือเก็บข้อมูลขึ้นมา พันธุกรรมจะเป็นโมเลกุลแค่ 4 โมเลกุล เขียนแทนด้วยตัวอักษรนั่นก็คือ A C T และ G นี่คือตัวเก็บข้อมูล
เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ตัวเราหรือว่าตัวองค์กรจะต้องสามารถที่จะเข้าใจภาษา Bio มากขึ้น เช่น การเขียน DNA, เข้าใจคำศัพท์ต่างๆ เหมือนที่ในยุคหนึ่งที่เราไม่เคยเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์คืออะไร Ram คืออะไร CPU คืออะไร การเตรียมตัวที่ดีที่สุดจึงเป็นการปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ที่กำลังจะมา ด้วยการศึกษาวิธีการเขียนศึกษาวิธีการเข้าใจ bio technology ให้มากขึ้นนั่นเอง
สำหรับใครที่สนใจในเรื่องของ biotech หรือ health tech เพิ่มเติมยังสามารถติดตามเนื้อหาดี ๆ ในรูปแบบนี้ได้ที่ The Secrte Sauce รายการ Podcast ของ The Standard ที่จะมีการเชิญหมอและนักวิทยาศาสตร์เก่งๆของเมืองไทยมาร่วมพูดคุยกันในเรื่องของวิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยาแห่งอนาคตว่าจะมีผลกระทบต่อมนุษย์มนุษยชาติต่อไปอย่างไรบ้าง เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวรับมือได้อย่างเท่าทันและยั่งยืน