3 ส.ค. 2024 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

กัมพูชาพึ่งจีนเกินตัว เสี่ยงติดกับดักหนี้

กัมพูชากำลังเผชิญความเสี่ยงจากการพึ่งพาจีนมากเกินไป โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ส่งผลให้มีโอกาสติดกับดักหนี้สาธารณะ ซึ่งอาจกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในระยะยาว
1
คำกล่าวที่ว่า “ถ้าจีนจาม กัมพูชาก็จะไม่สบายไปด้วย” หรือ “When China sneezes, Cambodia catches a cold” สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างกัมพูชาและจีน การพึ่งพาจีนในด้านเศรษฐกิจของกัมพูชาได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา แต่ก็มีความเสี่ยงที่กัมพูชาจะต้องเผชิญหากจีนประสบปัญหา
1
กัมพูชา ประเทศเล็กๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของภูมิภาค หลังจากผ่านพ้นยุคมืดในอดีต ประเทศนี้ได้พลิกโฉมตัวเองด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด มีการเติบโตของ GDP ต่อหัวถึง 85.12% จาก 950.5 ดอลลาร์สหรัฐ มาเป็น 1759.6 ดอลลาร์สหรัฐ และเลื่อนสถานะจากประเทศรายได้ต่ำขึ้นมาเป็นประเทศรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำในปี 2015
กริช อึ้งวิฑูรสถิตย์ ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา ในสัมภาษณ์กับ ฐานเศรษฐกิจ ว่า เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7% ต่อปี เเต่การระบาดของโควิด ทำให้เศรษฐกิจถดถอยในปี 2020 เเละกลับมาเติบโตในปี 2021 และ 2022 ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การส่งออกเสื้อผ้า การลงทุนจากต่างประเทศ
2
โดยเฉพาะจากจีน ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา กัมพูชาอาจจะได้รับผลกระทบจากคำขอทางการจีน ให้มีการปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายจากเวปพนันหรือเวปหลอกลวง แต่เชื่อว่า การนำของรัฐบาลชุดใหม่ที่มีแต่คนรุ่นที่ 2 ต่อจากกลุ่มรัฐบาลเดิม จะนำพาให้กัมพูชาปลอดภัย
การมาเยือนประเทศไทยของ นายกรัฐมนตรี ฮุน มาเเน็ต จากพรรคประชาชนกัมพูชา ที่เข้ามารับตำแหน่งต่อจาก อดีตนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ซึ่งเป็นบิดาได้แสดงวิสัยทัศน์ในเวทีดึงดูดนักลงทุนจากประเทศไทยครั้งที่ผ่านมา ทำให้เห็นถึงความคิดที่ก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี
1
4 เครื่องยนต์ขับเคลื่นเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอ ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ ได้รับแรงหนุนจากการย้ายฐานการผลิตของบริษัทจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยและจีน ที่ต้องการลดต้นทุนค่าแรงและใช้ประโยชน์จากกฎเกณฑ์การส่งออกที่เอื้อประโยชน์ของกัมพูชา
1
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มคิดเป็น 40 % ของ GDP ประเทศ ปัจจุบันบริษัทจีนเป็นเจ้าของโรงงานเสื้อผ้าถึง 90% ในกัมพูชา พิสูจน์ถึงความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของกัมพูชาในห่วงโซ่อุปทานโลก ขณะที่กัมพูชาเป็นประเทศที่ถือว่ามีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วประเทศหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดจากการส่งออกสิ่งทอและเครื่องแต่งกายไปยังตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1
การท่องเที่ยว กัมพูชามีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น นครวัด-นครธม (Angkor Wat-Angkor thom) ซึ่งเป็นมรดกโลกที่ถูกยกให้เป็น 1ใน7 ของสิ่งมหัศจรรย์ ยังคงมีเสนห์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก แม้ในช่วงที่โควิด-19 ที่ผ่านมา จะเงียบเหงาซบเซาลงไปบ้าง แต่ช่วงนี้ก็เริ่มที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมบ้างแล้ว และเชื่อว่า อีกไม่นานก็จะกลับมาเหมือนเดิมอย่างแน่นอน
การก่อสร้าง ได้มีการลงทุนในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ จากทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งยังคงมีให้เห็นอยู่ แม้จะไม่พลุกพล่านเหมือนช่วงก่อนโควิด-19 ก็ตาม หรือเมืองรองเช่นเมืองสีหนุวิลล์ จะมีปัญหาการถอนตัวของนักลงทุนจากประเทศจีนไปบ้าง แต่ในเมืองหลวงอย่างกรุงพนมเปญ ก็ยังคงมีห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่
การเกษตร แม้จะไม่เป็นอุตสาหกรรมหลัก แต่ยังเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ โดยเฉพาะการผลิตข้าว กาแฟ และยางพารา
1
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจกัมพูชา
สื่งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากจีนผ่าน โครงการ Belt and Road Initiative ซึ่งนำการลงทุนมหาศาลมาสู่การพัฒนาถนน สะพาน ท่าเรือ และสนามบิน รวมถึงโครงการขนาดใหญ่อย่าง เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ และท่าอากาศยานนานาชาติเสียมเรียบ-อังกอร์ ที่เพิ่งเปิดใหม่ สนามบินแห่งนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากจีน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง งบประมาณก่อสร้าง 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 7,000,000 คน/ปี มากกว่าสนามบินนานาชาติเสียมเรียบ ถึง 2,000,000 คน และมีทางวิ่งยาว 3,600 เมตร
2
โครงสร้างพื้นฐานมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ไม่เพียงแต่เพิ่มการเชื่อมต่อของกัมพูชาเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกและพันธมิตรในภูมิภาค เช่น กลุ่มหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เเละยังดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคการผลิตอีกด้วย ซึ่งปริมาณการค้าเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่มีการจัดตั้ง RCEP ในปี 2023 เพียงปีเดียวการค้ากับประเทศสมาชิก RCEPเพิ่มขึ้นกว่า 28 % แตะที่ 8,172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 6,340 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022
2
ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของข้อตกลงการค้าในการยกระดับโปรไฟล์ของกัมพูชาในห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศและยกระดับโปรไฟล์การค้ากัมพูชาขยับจากอันดับที่ 11 ในปี 2021 ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 8 ในปี 2022 ในฐานะผู้ส่งออกเสื้อผ้ารายใหญ่บริษัทจีนที่ดำเนินกิจการในกัมพูชาได้สร้างโอกาสในการจ้างงานให้กับคนงานชาวกัมพูชาได้มากกว่าหนึ่งล้านคน
1
นอกจากการสนับสนุนทางการเงินแล้ว การมีส่วนร่วมของจีนในกัมพูชายังครอบคลุมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาทักษะ การเพิ่มศักยภาพของกำลังแรงงาน และการเร่งบูรณาการเทคโนโลยีใหม่ๆนักศึกษากัมพูชากว่า 4,500 คนได้ศึกษาในจีนโดยกว่า 800 คนได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลจีน โดยเฉพาะที่ผ่านโครงการทุนการศึกษา เพื่อให้กัมพูชาสามารถรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก
เนื่องจากแรงงานกัมพูชามีค่าจ้างที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก (Labor intensive) เช่น การผลิตเสื้อผ้า แต่แรงงานยังขาดทักษะที่จำเป็น การศึกษาที่เพียงพอ ทำให้ความสามารถในการแข่งขัน ในระดับภูมิภาคและระดับโลกยังอยู่ในระดับต่ำมาก การพัฒนาการศึกษาและการฝึกอบรมแรงงานจึงเป็นความท้าทายที่สำคัญ
สีหนุวิลล์ บทเรียนราคาเเพงของกัมพูชา
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ การพึ่งพาการลงทุนจากจีนในระดับสูงนี้ นำมาซึ่งความเสี่ยงและความท้าทาย จะเห็นได้จากกรณีของเมืองสีหนุวิลล์ ที่เปลี่ยนโฉมจากเมืองตากอากาศริมทะเลที่สงบเงียบ กลายเป็นเมืองแห่งกาสิโนและอสังหาริมทรัพย์ภายใต้การลงทุนมหาศาลจากจีน เมื่อเกิดวิกฤตการเงินในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของจีนและการระบาดของโควิด-19 สีหนุวิลล์ก็ประสบปัญหาอย่างหนัก กลายเป็นเสมือนเมืองร้าง
สีหนุวิลล์ เมืองท่าสำคัญของกัมพูชา เปลี่ยนโฉมอย่างรวดเร็วภายใต้โครงการ One Belt One Road ของจีน จากชายหาดที่สวยงามไม่แพ้เกาะช้างหรือเกาะฟูก๊วก กลายเป็นเมืองแห่งกาสิโนและอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนมหาศาลจากจีนทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้สีหนุวิลล์เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ถนนใหม่เชื่อมกับพนมเปญ โรงไฟฟ้า และท่าเรือน้ำลึกผุดขึ้น พร้อมกับกาสิโนและอาคารสูงมากมาย เเต่ความเจริญนี้มาพร้อมกับราคาที่ต้องจ่าย
ในฐานะ "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" สีหนุวิลล์กลายเป็น "เสมือนเมืองจีนในกัมพูชา" นักลงทุนจีนได้สิทธิพิเศษในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และจ้างแรงงานจีน ทิ้งให้คนท้องถิ่นได้เพียงงานที่คนจีนไม่ต้องการ สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมจากการพัฒนาที่รวดเร็วและการหลั่งไหลเข้ามาของประชากร ยิ่งไปกว่านั้น สีหนุวิลล์ยังถูกมองว่ากลายเป็นแหล่งอาชญากรรม โดยเฉพาะอาชญากรรมออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่หลอกลวงคนไทยให้ลงทุนหรือสมัครงานปลอม นี่คือตัวอย่างของปัญหาที่ลุกลามข้ามพรมแดน
สะท้อนให้เห็นถึงการละเลยของเจ้าหน้าที่รัฐและการคอร์รัปชั่นที่ฝังรากลึก เมื่อวิกฤตการเงินในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของจีนและโควิด19 กระหน่ำ สีหนุวิลล์ก็ถูกทิ้งร้าง กลายเป็นอนุสรณ์ของการพัฒนาที่พึ่งพิงทุนต่างชาติมากเกินไป
ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา สะท้อนว่า การพึ่งพาการลงทุนจากจีนในระดับสูง ย่อมสร้างความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจจีนเกิดปัญหา หรือตัวอย่างในช่วง 5-6 ปี ที่ผ่านมา ได้มีคำขอให้ช่วยกำจัดกลุ่มทุนสีเทาของรัฐบาลจีน รัฐบาลกัมพูชาได้ทำตามคำขอ ผลลัพธ์ส่งผลให้เมืองสีหนุวิลล์แทบจะกลายเป็นเมืองร้าง จากการลงทุนในกัมพูชาของกลุ่มทุนจีนที่ลดลง แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยง จากการที่จีนได้เข้ามามีอิทธิพลเศรษฐกิจและการลงทุนในกัมพูชามากเกินไป
1
ในปัจจุบัน ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ฮุน มาเเน็ต ผู้สืบทอดอำนาจจากบิดา อดีตนายกรัฐมนตรีฮุน เซน กัมพูชากำลังพยายามสร้างความสมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมุ่งดึงดูดการลงทุนจากหลากหลายประเทศมากขึ้น รวมถึงญี่ปุ่นและไทย เพื่อลดการพึ่งพาจีนเพียงประเทศเดียว แม้ว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะมีแนวโน้มเติบโตต่อไป แต่ก็อาจมีการชะลอตัวในระยะสั้นเนื่องจากปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยในแง่ของการค้าและการลงทุน
ข้อมูลของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ระบุว่า การเติบโตของกัมพูชาในปี 2567 จะถูกขับเคลื่อนโดยกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าจะเติบโตขึ้น 8.6 % ในขณะที่บริการเติบโตขึ้น 6.4 % และเกษตรกรรมเติบโตขึ้น 1.3 % แต่ที่น่าจับตาก็คือ ความท้าทายภายนอกในปีนี้ ตามรายงานประจำปี 2566 และแผนปฏิบัติการ 2567 ของ NBC พบว่า ประเทศคู่ค้ามีการเติบโตช้ากว่าที่คาดไว้ นโยบายการเงินที่เข้มงวดยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความตึงเครียดจากภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลก
2
เศรษฐกิจภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลกที่แตกแยก และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความท้าทายภายในสำหรับเศรษฐกิจกัมพูชา ได้แก่ หนี้สินภาคเอกชนที่สูง การเพิ่มขึ้นของ NPL การฟื้นตัวที่ไม่ดีของภาคการก่อสร้าง ความต้องการด้านอสังหาริมทรัพย์ลดลง และจำนวนเที่ยวบินท่องเที่ยวที่น้อย
ทุนจีนกระตุ้นเศรษฐกิจกัมพูชา
จีนลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปี 2015-2019 หลังเริ่มสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกันตั้งแต่ปี 2006 โดยเฉพาะการลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของกัมพูชาภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาในอนาคต
ข้อมูลของ CEIC พบว่า มูลค่าการลงทุนของจีนในกัมพูชาเพิ่มขึ้นจาก 419.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2015 เป็น 956.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 ในปี 2022 การลงทุนจากจีนยังคิดเป็นถึง 42.01% ของเงินลงทุนทั้งหมดที่กัมพูชาได้รับทั้งหมดในปีนั้น ตามข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชา (Ministry of Foreign Affairs and International Cooperation)
เเบ่งการลงทุนรายภาคส่วนอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ 9 โครงการ มูลค่า1.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคอุตสาหกรรม เงินลงทุน 1.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และภาคการท่องเที่ยว เงินลงทุน496 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เม็ดเงินลงทุนเหล่านี้ยังทำให้ "จีนกลายเป็นเจ้าหนี้ที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา"
4
กัมพูชาติดหนี้จีน
กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของกัมพูชา (Ministry of Economy and Finance) เดือนธันวาคมปี 2023 หนี้จากประเทศจีนคิดเป็นถึง 41% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของกัมพูชา ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งหมดประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อตรวจสอบ รายงานสถิติหนี้สาธารณะของกัมพูชา เล่มที่ 18 ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา ระบุว่าหนี้สาธารณะของประเทศประกอบด้วยหนี้ต่างประเทศ 10,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และหนี้ในประเทศ 42.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหนี้ต่างประเทศของประเทศรวม 6.86 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 67% เป็นหนี้ทวิภาคี ในขณะที่หนี้พหุภาคีอีก 33 %
จีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา
มีหนี้ต่างประเทศรวม 3.96 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาคือญี่ปุ่น โดยมีหนี้ต่างประเทศ 1.2 พันล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ ซึ่งมีหนี้สาธารณะ 520.12 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ฝรั่งเศสมีหนี้สาธารณะของกัมพูชา 495.41 ล้านดอลลาร์
ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา คาดการณ์ว่า เวลานี้ เศรษฐกิจประเทศกัมพูชาจะยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อไป ซึ่งจะมีการชะลอตัวในระยะสั้นๆ เนื่องจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลัก แต่เสถียรภาพของรัฐบาลกัมพูชา จะทำให้ยังรองรับต่อผลกระทบดังกล่าวได้ ส่วนประเทศไทยจะได้รับผลกระทบในแง่ของการค้าและการลงทุน หากเศรษฐกิจกัมพูชามีปัญหาหรือเกิดความไม่แน่นอน การส่งออกสินค้าไปยังกัมพูชาอาจจะลดลง เพราะปัจจุบันนี้ สินค้าอุปโภค-บริโภคส่วนใหญ่ ยังคงต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศไทยเป็นหลัก
ส่วนการลงทุนของไทยในประเทศกัมพูชา หากประเทศกัมพูชามีปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่าไม่รุนแรงเกินไปเหมือนประเทศเพื่อนบ้านอื่น การลงทุนจากผู้ประกอบการไทย ก็อาจจะลดลงไปบ้างเช่นกัน
โฆษณา