4 ส.ค. 2024 เวลา 01:08 • ประวัติศาสตร์

เบื้องหลังการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น 2 แห่ง กับผลลัพธ์ที่ต่างกันเมื่อเจอสึนามิ

ญี่ปุ่น คือประเทศที่มีความเจริญทางเทคโนโลยี ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ อยู่แถวหน้าของโลก
ทำให้ต้องใช้พลังงานจำนวนมากมาเป็นแรงขับเคลื่อนให้ทุกอย่างไปข้างหน้า แต่ด้วยญี่ปุ่นไม่มีแหล่งพลังงานจากซากฟอสซิลธรรมชาติเป็นของตัวเอง จึงต้องพึ่งพาการนำเข้า ซึ่งมันสิ้นเปลืองต้นทุนและงบประมาณจำนวนมหาศาล
1
ทำให้ในช่วงปี 1975-1985 ช่วงที่ญี่ปุ่นมีอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจสูง ได้เริ่มหันมาใช้พลังงานสะอาดทางเลือก 1 ในนั้นคือพลังงานนิวเคลียร์ จึงมีการก่อตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งขึ้นมา เพื่อแบ่งเบาภาระจากต้นทุนที่นำเข้าพลังงาน
1
แต่อย่างที่เราทราบกันว่าพลังงานนิวเคลียร์แม้จะเป็นพลังงานสะอาด แต่หากเกิดการรั่วไหลมันก็ส่งผลร้ายแรงต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตได้จำนวนมหาศาล ทำให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องมีความแข็งแรง และป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
วันนี้ผมจะขอเล่าเรื่องราวการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่งในญี่ปุ่น ที่อยู่ในพื้นที่และการก่อสร้างใกล้เคียงกัน แต่ผลลัพธ์ที่เราเห็นทุกวันนี้กลับแตกต่างกันมาก
โรงไฟฟ้าที่ว่าคือ โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ กับ โรงไฟฟ้าโอนากาวะ
โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะสร้างขึ้นโดยบริษัทโตเกียว อิเล็กทริกพาวเวอร์ คอมพานี ส่วนโรงไฟฟ้าโอนากาวะสร้างขึ้นโดยบริษัท โทโฮคุ อิเล็กทริก
โตเกียว อิเล็กทริกพาวเวอร์ คอมพานี คำนึงถึงงบประมาณการก่อสร้างเป็นสิ่งสำคัญ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะจึงเป็นไปอย่างประหยัดเพื่อให้ใช้ต้นทุนน้อยที่สุด โดยพวกเขาคำนึกถึงเรื่องความปลอดภัยแค่ทางด้านแผ่นดินไหว โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะจึงถูกสร้างบนฐานหินริมทะเล อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ทั้งหมดจะถูกขนส่งมาจากทางเรือ แต่ระหว่างตัวโรงงานกับทะเลมีแนวหินกั้นอยู่ พวกเขาจึงระเบิดหินทิ้งเพื่อให้สะดวกสบายและลดต้นทุนในการขนส่ง
1
จากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะห่างออกไปอีกราว 55 กิโลเมตร โรงไฟฟ้าโอนากาวะก็ได้เริ่มก่อสร้างขึ้น มันถูกสร้างบนฐานหินริมทะเลเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ แต่มีข้อแตกต่างในการก่อสร้างของโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งนี้ตรงที่บริษัทโทโฮคุ อิเล็กทริก บริษัทที่สร้างโรงไฟฟ้าโอนากาวะ มีรองประธานบริษัทเป็นชายที่ชื่อ ยาโนะสุเกะ ฮิราอิง
2
ในช่วงที่บริษัทโทโฮคุ อิเล็กทริกตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้าโอนากาวะนั้น ทางฮิราอินึกถึงศาลเจ้าที่ตัวเขาเคยไปในวัยเด็ก เป็นศาลเจ้าที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุสึนามิครั้งใหญ่เมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อน ทำให้เวลาสร้างโรงไฟฟ้าเขาจึงไม่คำนึงถึงแค่เหตุแผ่นดินไหว แต่เขายังคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดสึนามิครั้งใหญ่ตามมาได้ด้วยอีก
4
ด้วยเหตุนี้ในฐานะที่ฮิราอิเป็นรองประธานบริษัท เขาใช้ตำแหน่งยืนกรานในที่ประชุมว่าให้ย้ายที่ตั้งโรงงานไปยังฐานอีกแห่งซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 15 เมตร รวมทั้งให้สร้างกำแพงกันคลื่นสูงอีก 15 เมตร ในขณะที่คนอื่นในที่ประชุมมองว่ากำแพงสูงแค่ 10 เมตรก็เพียงพอแล้ว เพื่อไม่ให้งบประมาณการสร้างบานปลาย แต่ฮิราอิไม่ยอมยังคงยืนยันในตัวเลขเดิม
2
นอกจากนี้ ฮิราอิยังสั่งให้สร้างระบบฉุกเฉินซึ่งจะช่วยให้ระบบหล่อเย็นมีน้ำเพียงพอหากแม้เกิดเหตุไฟดับ หรือไม่สามารถหาน้ำมาหล่อเย็นเตาปฏิการณ์ได้ ทุกคนต่างคิดว่าฮิราอิกลัวกังวลมากเกินไป มันไม่น่าจะเกิดเหตุรุนแรงเลวร้ายขนาดนั้น การทำตามที่ฮิราอิต้องการมันจะเป็นการเปลืองงบประมาณโดยใช้เหตุ
1
ไม่มีใครตอนนั้นเข้าใจฮิราอิว่าทำไมเขาถึงกังวลเหตุสึนามิมากขนาดนั้น เพราะระดับการป้องกันมาตรฐานที่มีอยู่ก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่ฮิราอิก็ยังคงยืนยันในความคิดตัวเองโดยไม่สนใจเสียงคัดค้าน จนในที่สุดโรงไฟฟ้าโอนากาวะก็ถูกสร้างให้ทนทั้งแผ่นดินไหว และป้องกันจากเหตุสึนามิครั้งใหญ่ได้ด้วย
3
และในวันที่ 11 มีนาคม 2011 ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น ขนาด 9.0 แมกนิจูด นอกชายฝั่งญี่ปุ่น แผ่นดินไหวก่อให้เกิดสึนามิ ซึ่งคาดว่าสูงมากกว่า 30 เมตร มีรายงานว่าบางช่วงสูงมากถึงประมาณ 40.5 เมตร ซัดเข้าชายฝั่ง ด้วยความเร็ว 700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และซัดไปได้ไกลกว่า 10 กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งประวัติศาสตร์นี้มากกว่า 20,000 คน และทำให้คนมากกว่า 160,000 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย
2
โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะรอดพ้นจากเหตุแผ่นดินไหวมาได้ แต่เหตุสึนามิไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเกิดน้ำท่วมที่ชั้นใต้ดินของตัวโรงงาน จนเครื่องปั่นไฟสำรองเสียหายไม่ทำงาน ส่งผลให้ไม่มีน้ำเข้าไปหล่อเย็นที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และเป็นเหตุให้เกิดการระเบิดที่เตาปฏิกรณ์บางส่วน มีมลภาวะรั่วไหลออกมาภายนอก กระทบต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก ผลกระทบก็ยังคงมีอยู่ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 13 ปีแล้วก็ตาม
1
ในขณะที่โรงไฟฟ้าโอนากาวะอยู่รอดปลอดภัย แม้จะมีน้ำท่วมพื้นที่บางส่วนจนต้องปิดเตาปฏิกรณ์ และต้องเผชิญกับคลื่นสึนามิที่รุนแรงกว่าโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ เพราะอยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว นับเป็นสิ่งก่อสร้างเดียวในบริเวณนั้นที่ยังตั้งตระหง่านอยู่รอดได้
1
เพราะมาตรการป้องกันที่ฮิราอิได้สั่งเตรียมไว้ตั้งแต่ตอนสร้าง ทั้งการเลือกที่ตั้งโรงไฟฟ้าที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 15 เมตร และการสร้างกำแพงกั้นอีก 15 เมตร รวมทั้งการสร้างระบบฉุกเฉินสำรองทิ้งไว้หากแม้ระบบทุกอย่างเสียหาย โรงไฟฟ้าโอนากาวะจึงได้กลายเป็นที่พักพิงสำหรับชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงที่ไร้บ้านจากเหตุสึนามิ
3
ภายหลังเหตุการณ์ได้สงบลง คิโยชิ คุโรคาวะ ประธานคณะกรรมาธิการอิสระเพื่อการสืบสวนภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ (NAIC) ได้กล่าวว่า เหตุการณ์โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ไดอิจิ ไม่อาจนับเป็นภัยที่เกิดจากธรรมชาติ แต่เป็นหายนะอันใหญ่หลวงที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ที่ประมาท ทั้งๆ ที่มันสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและป้องกันได้
เป็นโชคดีที่บริษัทโทโฮคุ อิเล็กทริก ที่วันนั้นมี ยาโนะสุเกะ ฮิราอิ เป็นรองประธาน หาไม่แล้วโรงไฟฟ้าโอนากาวะก็อาจได้ผลกระทบเหมือนกับโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ หรือไม่ก็เลวร้ายกว่าก็เป็นได้ ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อประชาชนและประเทศญี่ปุ่นอีกมหาศาล
1
จากวันนั้นวันที่ ฮิราอิ ยืนกรานความคิดที่ต้องการเตรียมการป้องกันความปลอดภัยขั้นสูงสุดที่จะทำได้ ทุกคนมองว่าเขากลัวเกินเหตุ แต่มาวันนี้ทุกคนได้เห็นกับตาแล้วว่าเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นไม่ใช่ว่ามันจะไม่เกิด การเตรียมการป้องกันเหตุที่มีความเสี่ยงได้ย่อมดีกว่ารอให้มันเกิดผลเสียแล้วค่อยหาทางแก้ไข
2
เพราะถึงวันนั้นแล้วบางอย่างที่สูญเสียไปมันก็ไม่อาจหวนกลับคืนมาได้อีกแล้วครับ
อ้างอิง
หนังสือ Crossover Creativity by Dave Trott
1
โฆษณา