Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Blanket List
•
ติดตาม
4 ส.ค. เวลา 12:36 • ท่องเที่ยว
จัตุรัสพระราชวังบักตะปูร์
ภักตปุระ กับ โมนาลิซ่าแห่งเนปาล
เมืองภักตปุระ (Bhaktapur) เมืองหลวงเก่าของประเทศเนปาล เมืองนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงกาฐมาณฑุ เดินทางด้วยรถยนต์เพียง 1 ชั่วโมง เมืองนี้ได้สมยานามว่า “เมืองแห่งผู้มีจิตศรัทธา” คือการศรัทธาและภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า
เมืองภักตปุระเป็นหนึ่งในเมืองโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ที่แห่งนี้เต็มไปด้วยความสวยงามของสถานที่สำคัญต่างๆ ทั้งวัด พระราชวัง บ้านเรือน เป็นเมืองที่ผู้ไปเยือนจะรู้สึกถึงมนต์ขลังของความเก่าแก่ เหมือนเมืองที่ยังมีการดำเนินชีวิตไปเรื่อยๆ ในแบบของตน แม้โลกภายนอกจะก้าวล้ำหน้าไปมากแล้วก็ตาม โดยเมืองนี้มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ จัตุรัสบักตะปูร์ ดูรบาร์ (Bhaktapur Durbar Square)
แต่สำหรับวันนี้แอดมินจะมาแนะนำสถานที่อีกแห่งในเมืองนี้ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน “จัตุรัสทัตตาเตรยะ” (Dattatreya square) ซึ่งเป็นที่ตั้งของ วัดทัตตาเตรยะ (Dattatreya temple) วัดเก่าแก่ที่สุดของ Bhaktapur ถูกสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์ยักษ์มัลละ (King Yaksha Malla) ช่วงคริสตศตวรรษที่ 15 และเมื่อท่านมองไปรอบข้างจัตุรัสจะพบกับร้านค้าและคาเฟ่มากมายให้ท่านได้นั่งชมวิว ปล่อยใจ ดูวิถีชีวิตของคนในละแวกนั้น หรือเหม่อมองเครื่องบินที่บินผ่านผืนฟ้าเหนือโบราณสถานที่มีแทบทุกครึ่งชั่วโมง
และเมื่อคุณเดินอ้อมไปทางด้านหลังวัดแห่งนี้จะพบกับบ้านเรือนของชาวบ้าน ได้เห็นวิถีชีวิต การชุมนุมนั่งเล่นกันของผู้สูงวัย ได้เห็นงานฝีมือหรือภาพศิลปะที่หลายๆบ้านกำลังสร้างสรรค์
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อยากให้พลาดชม คือ “หน้าต่างนกยูง” (Peacock window) แห่งเมืองภักตะปูร์ ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นโมนาลิซาแห่งเนปาล เพียงเดินเท้าเข้าไปในตรอกด้านหลังอาคารทรงฮินดูที่เป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์งานแกะสลัก คุณจะพบกับภาพนกยูงที่กำลังรำแพนหางเหนือศีรษะไปประมาณ 1-2 เมตร งานชิ้นนี้เป็นงานแกะสลักไม้ชั้นเลิศ ซึ่งสร้างตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 โดยฝีช่างเนปาลขนานแท้ดั้งเดิม และยังคงความงดงามสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน
แอดมินหมอ
#TheBlanketList #Bhaktapur #Nepal #เนปาล
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย