5 ส.ค. เวลา 04:59 • ข่าว
โรงพยาบาลพระรามเก้า

ด่วน! วูบด้วยอาการแบบนี้ รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

1. ผู้ป่วยมีอาการวูบแล้วหมดสติเป็นเวลานาน ให้เราประเมินการหมดสติ โดยการตะโกนเรียกดัง ๆ และเขย่าที่ไหล่ ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวหรือเคลื่อนไหว ควรรีบทำการช่วยชีวิต และนำส่งโรงพยาบาล
2. ผู้ป่วยวูบแล้วมีอาการชัก
3. ผู้ป่วยวูบแล้วหัวใจเต้นผิดปกติ อาจมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจหอบเหนื่อย
4. ผู้ป่วยวูบ แล้วมีอาการหน้าเบี้ยวร่วมด้วย
5. ผู้ป่วยมีอาการตกเลือด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ หรือมีเลือดออก
6. ผู้ป่วยท้องเสียหรืออาเจียนรุนแรงจนมีภาวะขาดน้ำ
7. ผู้ป่วยมีอาการอื่นร่วมด้วย อย่างน้อย 1 อย่าง ดังนี้ ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดศีรษะ วิงเวียน ตาเห็นภาพซ้อน พูดอ้อแอ้ กลืนลำบาก เดินเซ หรือแขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
8. ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ หรือทราบว่ามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
กรณีอาการวูบ หน้ามืด หมดสติ ที่ต้องเฝ้าระวัง
หากเป็นอาการวูบ หน้ามืด หมดสติ ที่ไม่รุนแรงนัก และฟื้นตัวได้เอง อย่าพึ่งชะล่าใจ ควรเฝ้าสังเกตอาการให้ดี หากพบว่าเข้าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ควรพาเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุ
1. วูบจากสาเหตุของหัวใจ
ผู้ป่วยที่เกิดอาการวูบจากสาเหตุของหัวใจนั้น มักมีอาการหน้ามืดใจสั่น มวนท้อง เหงื่อแตก ตัวเย็น คลื่นไส้อาเจียน ที่สำคัญคือผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการวูบในช่วงเวลาสั้น ๆ และเมื่อตื่นขึ้นมาก็ยังจำเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ได้ และกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง
แต่หากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้ ไม่เข้ารับการตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด และรักษาอย่างถูกวิธีแล้ว อาจส่งผลให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพาต หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคหัวใจ
2. วูบจากภาวะทางสมอง
โรควูบที่เกิดจากภาวะทางสมองนั้น ผู้ป่วยมักมีอาการวูบร่วมกับอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ เช่น อาการเกร็งชัก เหม่อ สับสน เมื่อตื่นจากอาการวูบ ผู้ป่วยไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ได้ หรืออาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเมื่อฟื้นขึ้นมา เช่น ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชาหรืออ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก เป็นต้น
ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของภาวะทางสมอง เช่นหลอดเลือดในสมองตีบได้ ด้วยสาเหตุนี้ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดควรต้องสังเกตอาการวูบที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ
โฆษณา