9 ส.ค. 2024 เวลา 01:00 • สุขภาพ

มีอยู่จริงหรอ ?! เครื่องดื่มที่ไม่มีสารปรุงแต่ง

ช่วงวัน Canicular Days (ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม – กลางเดือนสิงหาคม) ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุดของทั้งปี ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ เครื่องปรับอากาศ แตงโม และชานม ถูกคนกลุ่มวัยรุ่นจีนเรียกเป็น “สามสิ่งอย่างที่ช่วยชีวิต” การดื่มเครื่องดื่มแช่เย็นจึงเป็นทางเลือกที่นิยมการในลดอุณหภูมิความร้อนสำหรับคนกลุ่มวัยรุ่นจีน ทำให้ความต้องการเครื่องดื่มพุ่งสูงขึ้นและมียอดจำหน่ายดีที่สุดในทั้งปี
สำหรับตลาดเครื่องดื่มในช่วงฤดูร้อนปีนี้ เครื่องดื่มรูปแบบใหม่ (เครื่องดื่มที่ทำสดใหม่ในร้าน) เช่น ชานม ชาผลไม้ เครื่องดื่มรูปแบบใหม่ที่มีราคาสูงกว่าแก้วละ 30 หยวนในช่วงสองปีที่ผ่านมาได้ถอนตัวออกจากตลาดกระแสหลัก โดยมีเครื่องดื่มที่จำหน่ายในราคาแก้วละ 10-15 หยวนมาทดแทน ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีเหตุผลในการเลือกใช้จ่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชานมหรือชาขวด ที่มีแนวคิดอาหารเสริมหรือชนิดไม่มีสารปรุงแต่งได้รับความนิยมโดยเฉพาะ
  • ผู้บริโภคนิยมเครื่องดื่มขวดไร้น้ำตาล
ด้วยผู้บริโภคจีนให้ความสำคัญกับดูแลและการรักษาสุขภาพมากขึ้น ทำให้เครื่องดื่มขวดชนิด ไร้น้ำตาลได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในตลาดจีน จากร้านจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์และออฟไลน์ พบว่า เครื่องดื่มไร้น้ำตาลและเครื่องดื่มที่ไม่มีสารปรุงแต่งได้วางอยู่ในตำแหน่งที่โดดเด่นบนชั้นวางเครื่องดื่ม เช่น เครื่องดื่มชา น้ำผลไม้ที่ไม่มีสารปรุงแต่ง น้ำสกัดจากสมุไพร ได้แทนที่ตำแหน่งของเครื่องดื่มน้ำอัดลม
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น น้ำนมต้นเบิร์ช ที่จำหน่ายในร้านทางออนไลน์ทั่วไปจำนวนหนึ่งร้าน ราคาจำหน่ายอยู่ที่ขวดละ 14 เครื่องดื่มที่ไม่มีสารปรุงแต่งเป็นที่นิยมในตลาดจีนหยวน ได้มีการจำหน่ายมากกว่าหมื่นครั้ง
ในหนึ่งสัปดาห์มีผู้ซื้อสูงถึง 400 คน น้ำนมต้นเบิร์ชผลิตจากต้นเบิร์ช 100% คุณประโยชน์สูงประกอบด้วย 0 แคลอรี่ 0 โปรตีน 0 ไขมัน 0 เกลือ และคาร์โบไฮเดรต 0.7 กรัม โดยมีผู้ซื้อให้ข้อคิดเห็นว่าน้ำนมต้นเบิร์ชมีประโยชน์ช่วยรักษาอาการไอและขับเสมหะ และมีรสหวานเล็กน้อย ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีหลังจากดื่ม
นอกจากนี้เครื่องดื่มชาไร้น้ำตาลกลายเป็นประเภทเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงฤดูร้อนนี้ แบรนด์เครื่องดื่มต่างๆ ได้มีการลดราคาจำหน่ายเพื่อครองสัดส่วนทางการตลาด ทำให้ราคาของเครื่องดื่มชาจาก 5-6 หยวนต่อขวดลดเหลือเป็น 3-4 หยวนต่อขวด ขณะที่มีสินค้าบางส่วนลดราคาไม่ถึง 3 หยวนต่อขวด ซึ่งราคาใกล้เคียงกับน้ำเปล่าขวด
  • ผู้บริโภคนิยมชาผลไม้ที่ทำสดในร้าน
ความต้องการด้านรักษาสุขภาพของผู้บริโภคไม่เพียงแต่อยู่กับการเลือกเครื่องดื่มขวดยังอยู่กับการเลือกเครื่องดื่มชานมในการบริโภคด้วย จากข้อมูลการค้นหาในแอปพลิเคชั่นจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มของจีน เช่น Meituan และ Dazhong Dianping พบว่าคำค้นหา “เผือกบดทำใหม่” “ผลไม้หั่นสด” “นมสดต้มชา” เป็นสินค้าที่ส่งเสริมให้ร้านชานมที่ได้รับความนิยม โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่จะพิจารณาคุณภาพของร้านจากการเลือกใช้วัตถุดิบในการทำเครื่องดื่ม อาทิ ผลไม้สด นมสด และเป็นต้น
นอกจากนี้ ความต้องการบำรุงสุขภาพจากเครื่องดื่มชานมก็เพิ่มขึ้น ทำให้ร้านชานมต่างๆ มีการปรับเมนูที่ใส่แนวคิดดั้งเดิม เช่น เครื่องดื่มที่มีบทบาททั้งเป็นอาหารและยา โดยนำโสม เก๋ากี่ ข้าวบาร์เลย์ ฟักทอง ถั่วฝักยาว ถั่วแดง และถั่วเขียว เป็นต้น มาปรุงเป็นเครื่องดื่มชนิดใหม่ที่เหมาะกับช่วงฤดูฤดูร้อน
ในขณะเดียวกัน มีร้านเครื่องดื่มตั้งชื่อแบรนด์เป็น “ชานมสมุนไพร” ซึ่งนำสมุนไพรนานาชนิดมาต้มสุกหรือสกัดแล้วผสมกับชานม ทำให้ชานมเกิดผลประโยชน์ดีต่อร่างกาย อาทิ ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย บำรุงกระเพาะอาหารและลําไส้ ส่งเสริมการย่อยอาหาร เป็นต้น
รวมถึงใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม เช่น การออกแบบที่สร้างสรรค์ ขวดแก้วประเภทต่างๆ เพื่อให้ดูทันสมัยเหมาะสมกับการถ่ายรูป และสามารถแบ่งปันบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นเป็นอย่างมากเครื่องดื่มที่ไม่มีสารปรุงแต่งเป็นที่นิยมในตลาดจีน
หลายปีที่ผ่านมา แบรนด์ชานมต่างๆ ให้ความสำคัญกับการยกระดับ การสร้างความหรูหราให้ชานมทั้งทางด้านบรรจุภัณฑ์และวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับชานมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาจำหน่ายของชานมสูงเป็น 20-30 หยวนต่อแก้ว แต่ปีนี้ราคาจำหน่ายของชานมมีการลดลงและกลับสู่ราคาปกติ แบรนด์ Chain store หลายแบรนด์มีการลดราคาจำหน่ายของสินค้าตัวหลักเหลือเพียง 10-15 หยวนต่อแก้ว รวมถึงลดเมนูที่มีแคลอรี่สูงลง เช่น เมนูประเภทนม และชีส
ความเห็น ของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง
หลายปีที่ผ่านมาเครื่องดื่มที่จีนนำเข้าจากไทยส่วนใหญ่เป็นน้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำมะพร้าวได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดจีน ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ 100% และไม่มีสารปรุงแต่งใดๆ ถ้าค้นหา “น้ำมะพร้าว” ที่แพลตฟอร์ม Taobao พบว่าน้ำมะพร้าวที่จำหน่ายส่วนมากเป็นแบรนด์ของไทย
โดยน้ำมะพร้าวมีความนิยมทั่วประเทศจีน ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมาปริมาณการสั่งซื้อน้ำมะพร้าวในรูปแบบรวมกลุ่มมีการเพิ่มขึ้นมากกว่า 300% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ร้านที่เพิ่มการจำหน่ายน้ำมะพร้าวทางออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 368% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำมะพร้าวของไทยมีโอกาสและมีศักยภาพในตลาดจีนอย่างมหาศาล
ด้วยผู้บริโภคจีนให้ความสำคัญดับการรักษาสุขภาพมากขึ้น เครื่อมดื่มที่ไม่มีสารปรุงแต่งได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น น้ำมะพร้าวที่เป็นน้ำผลไม้ธรรมชาติ รวมถึงมีสารอาหารอย่างมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โปรตีน กรดอะมิโน วิตามินซี และแร่ธาตุ อีกทั้งมีกลิ่นหอมและรสชาติดี ที่สามารถตอบสนองความต้องการและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค โดยเฉพาะเป็นผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่น
อย่างไรก็ตามด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ อันจะเป็นแนวคิดเพื่อการพัฒนาสินค้าสำหรับผู้ประกอบไทยที่ประสงค์นำเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ไทยมาทดลองตลาดในจีน
Reference : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง
อ่านเพิ่มเติม : https://www.ditp.go.th/post/178594
โฆษณา