6 ส.ค. เวลา 08:51 • กีฬา

สรุปเรื่อง “บ้านทองหยอด” โรงเรียนปั้นนักแบดมินตันไทย ไประดับโลก

หากเอ่ยถึงชื่อ ทองหยอด หลายคนอาจจะนึกถึงขนมไทยรสชาติหวาน ๆ อร่อย ๆ
แต่สำหรับวงการแบดมินตันโลกแล้ว “บ้านทองหยอด” คือชื่อของโรงเรียนแบดมินตันในไทย ที่สร้างนักกีฬาระดับโลกมาแล้วมากมาย
7
เช่น เมย์-รัชนก อินทนนท์ และล่าสุด วิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์ เจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิก 2024
แล้วอะไรคือเบื้องหลังความสำเร็จของ โรงเรียนแบดมินตัน บ้านทองหยอด ?
ทำไมโรงเรียนแห่งนี้ถึงสามารถผลิตนักแบดมินตันระดับโลกออกมา ได้อย่างต่อเนื่อง ?
BrandCase จะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ
โรงเรียนแบดมินตัน บ้านทองหยอด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดย คุณกมลา ทองกร
โดยปัจจุบัน ตั้งอยู่บริเวณ ถนนพุทธมณฑลสาย 3 เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ คุณกมลา ชื่นชอบและรักในกีฬาแบดมินตัน
บวกกับต้องการส่งเสริมให้ลูก ๆ และเพื่อน ๆ มีโอกาสได้เล่นกีฬาอย่างจริงจัง
จึงได้ก่อตั้งชมรมขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า “ชมรมแบดมินตันบ้านทองหยอด”
โดยเหตุผลที่ใช้ชื่อว่า บ้านทองหยอด ก็มาจากธุรกิจขายขนมไทยของคุณกมลานั่นเอง
1
ในช่วงแรกของชมรมแบดมินตันบ้านทองหยอด มีสนามฝึกซ้อมเพียง 1 สนาม
และถูกสร้างขึ้นภายในบริเวณบ้าน โดยมีนักกีฬาในสังกัดเพียง 4 คนเท่านั้น
โดยมี คุณพรโรจน์ บัณฑิตพิสุทธิ์ อดีตโคชแบดมินตันทีมชาติไทย เป็นผู้ฝึกสอนคนแรก
แต่เมื่อโคชพรโรจน์จำเป็นต้องย้ายไปรับตำแหน่งครูที่จังหวัดกระบี่ คุณกมลาจึงมองหาโคชมืออาชีพคนใหม่ ซึ่งก็คือ “เซียะ จือหัว” โคชชาวจีนผู้ทุ่มเทให้กับบ้านทองหยอดมานานกว่า 3 ทศวรรษ
ต่อมาบ้านทองหยอดเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้น มีคนเข้ามาสมัครเรียนจำนวนมาก ส่งผลให้สนามฝึกซ้อมเริ่มไม่พอต่อจำนวนนักเรียน จึงทำให้บ้านทองหยอดต้องย้ายสถานที่ฝึกซ้อมหลายครั้ง ผ
เริ่มจากการเช่าสนามแบดมินตันเพชรเกษม 59 เป็นเวลา 3 เดือน
จากนั้นย้ายไปเปิดสอนที่สนามแบดมินตันหรรษา เป็นเวลาประมาณ 7 ปี และสุดท้ายย้ายไปสอนที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี อีก 4 ปี
1
แต่เนื่องจากพื้นที่ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ไม่เอื้ออำนวยต่อการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง
ในปี พ.ศ. 2546 คุณกมลา จึงตัดสินใจเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นแค่ชมรม
กลายเป็นจดทะเบียนก่อตั้ง “โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด” ขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อรองรับการเติบโตและพัฒนานักกีฬาอย่างเต็มศักยภาพ
โดยสิ่งที่ทำให้บ้านทองหยอดแตกต่างจากโรงเรียนแบดมินตันอื่น ๆ คือปรัชญาในการสอนที่ไม่ใช่แค่เน้นการฝึกฝนทักษะการเล่น
แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักกีฬาอาชีพ
ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ และระเบียบวินัย รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาอีกด้วย
โดยความสำเร็จของนักกีฬาบ้านทองหยอดในการแข่งขันระดับโลกเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของระบบการฝึกสอนและการสนับสนุนของโรงเรียน
ยกตัวอย่างผลผลิตระดับโลกที่เกิดมาจากบ้านทองหยอด เช่น
เมย์-รัชนก อินทนนท์ ที่เป็นอดีตมือวางอันดับ 1 ของโลกประเภทหญิงเดี่ยว
และสร้างสถิติเป็นนักแบดมินตันหญิงคนแรกที่คว้าแชมป์ซูเปอร์ซีรีส์ 3 รายการติดต่อกัน
2
และล่าสุด วิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ที่เพิ่งคว้าเหรียญเงิน ในโอลิมปิก 2024 ที่ปารีส มาหมาด ๆ
แถมยังเป็นนักแบดมินตันชายไทยคนแรกที่คว้าแชมป์โลกได้อีกด้วย
2
ซึ่งนอกจากเมย์-รัชนก และวิว-กุลวุฒิ ก็ยังมีนักกีฬาอีกหลายคนที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ
และในอนาคต เราอาจจะได้เห็นนักแบดมินตันระดับโลกที่มาจากบ้านทองหยอดอีกก็ได้..
โฆษณา