9 ส.ค. เวลา 07:15 • กีฬา

แด่อาจารย์ผู้หล่อหลอม "โค้ชเช" ให้กลายเป็นโค้ชเทควันโด้ระดับโลก

ถ้าโค้ชเช เป็นคนที่หล่อหลอม เทนนิส-พาณิภัค ให้กลายเป็นนักกีฬาระดับโลก แล้วใครล่ะ ที่หล่อหลอม เช ย็องซอก ให้กลายเป็นยอดโค้ชแบบนี้?
1
เช ยองซ็อก เกิดที่เมืองซ็องนัมในประเทศเกาหลีใต้ กับครอบครัวเล็กๆ ที่มีอยู่แค่ 4 คน คือคุณแม่ คุณย่า และ พี่สาว โดยคุณพ่อของเขาเสียชีวิตไปนานแล้ว จากโรคมะเร็งตับ ตั้งแต่โค้ชเชอายุ 7 ขวบ
เมื่อไม่มีพ่อ ทำให้คุณแม่ของเช ย็องซอก ต้องทำงานคนเดียว เพื่อหาเลี้ยงทั้ง 4 คนในครอบครัว
คุณแม่ต้องตื่นตั้งแต่เช้ามืดเพื่อเตรียมอาหารให้ทุกคน จากนั้น 6.30 น. ขึ้นรถเมล์ไปโรงงานขนม พอเลิกงาน 17.00 ก็นั่งรถเมล์กลับบ้าน เตรียมอาหารเย็นให้ทุกคน แล้วออกไปทำงานอีกรอบในตำแหน่งพนักงานทำความสะอาด กว่าจะกลับมาอีกที ทุกคนก็นอนหมดแล้ว
3
เธอทำงานซ้ำๆ วนไปวนมา ต้องตื่นคนแรกและนอนคนสุดท้ายเสมอ เป็นแบบนี้อยู่นานหลายปี
3
ความฝันสูงสุดในชีวิตของโค้ชเช จึงมีเพียงอย่างเดียว คือ "อยากให้แม่ไม่ต้องทำงานหนัก และมีเวลาพักผ่อนมากๆ" ดังนั้นเขาจะพยายามผลักดันตัวเอง ให้ประสบความสำเร็จ และมีเงินใช้โดยเร็วที่สุด แม่จะได้สบายเสียที
3
โค้ชเชรู้จักเทควันโด้ครั้งแรกในสมัยประถม เพราะมีโรงฝึกอยู่ใกล้กับโรงเรียน
วันหนึ่งเขาเดินผ่าน แล้วได้เห็นคนเรียนในคลาส มีการออกท่าทางต่อสู้ ดูแข็งแรง คล่องแคล่ว ทำให้รู้สึกอยากลองเล่นบ้าง
ที่โรงฝึกมีโปรโมชั่น เรียนฟรีในช่วงแรก แต่ถ้าหากหมดช่วงทดลอง ก็ต้องจ่ายเงินค่าเล่าเรียน จำนวน 3 หมื่นวอนต่อเดือน (770 บาท)
3
เมื่อเช ยองซ็อก ได้ลองเล่นเทควันโด้ ก็รู้สึกมีความสุข มันคือสิ่งที่เขาชอบจริงๆ
ตอนเช้าไปเรียน ตอนเย็นไปซ้อมเทควันโด้ เขาทำแบบนี้ต่อเนื่องจนหมดช่วงทดลองเรียน จากนั้นก็ต้องจำใจเลิกเล่นเพราะรู้ดีว่าที่บ้านไม่มีเงิน เขาไม่ควรไปขอแม่เดือนละ 3 หมื่นวอน มาใช้จ่ายอะไรแบบนี้
3
เช ยองซ็อกเล่าว่า "เทควันโด เป็นกีฬาที่ต้องลงทุนพอสมควร มันไม่ใช่สิ่งที่ผมคู่ควรแม้แต่น้อย"
1
นั่นคือเหตุผลที่ พัค จู-ชอล โค้ชในโรงฝึกที่เห็นพรสวรรค์ของเช ยองซ็อก เข้าไปคุยกับคุณแม่ถึงบ้าน "ครูพัคบอกแม่ว่า ผมมีพรสวรรค์ อยากให้ผมเอาดีทางด้านนี้ และเทควันโด้อาจเป็นใบเบิกทาง ให้ผมได้เรียนต่อ โดยไม่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนอีกด้วย"
2
"ผมอยู่ตรงนั้น และคิดว่า ต่อให้ครูกล่อมอย่างไร แม่ก็คงไม่ยอม แต่ผิดคาด แม่หันมาถามผมว่า 'อยากเรียนไหม?' ผมไม่เก็บอาการใดๆ ทั้งสิ้น ตอบไปตามตรงว่า 'อยากเรียน' และในที่สุดคุณแม่ก็ยินยอมให้เรียนได้"
4
สิ่งที่เช ยองซ็อก ยังไม่เข้าใจในตอนนั้น คือคนเป็นแม่ ขอแค่รู้ว่าอะไรที่ทำแล้ว ลูกจะมีความสุข เธอก็พร้อมจะทำอย่างไม่ลังเล
8
"ผมดีใจจนพูดไม่ออก ที่คุณแม่ยอมเสียสละความสุข และความสบายส่วนตัว ยอมเหน็ดเหนื่อยมากขึ้นไปกว่าเดิมไม่รู้กี่เท่า เพื่อหาเงินเพิ่ม ให้ผมได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียน"
9
"สิ่งที่วนเวียนอยู่ในหัวขณะนั้น ก็คือ แม่จะต้องไม่เหนื่อยเปล่า ผมจะทุ่มเทต่อการเรียน และการฝึกซ้อมอย่างเต็มที่"
8
เช ยองซ็อก ทำตามที่พูด เขาฝึกซ้อมอย่างหนัก จนสามารถเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์เทควันโด้แห่งชาติ ในระดับนักเรียนประถม สุดท้ายคว้าเหรียญทองแดงมาได้ จึงได้ทุนการศึกษาเรียนฟรี ที่โรงเรียนมัธยมต้นซ็องนัมซอ
5
จากนั้นเมื่อขึ้น ม.ต้น เขาลงแข่งอีก ในการแข่งชิงแชมป์แห่งชาติ ระดับมัธยมต้น คราวนี้ เช ยองซ็อก ได้อันดับ 3 ของประเทศอีกครั้ง จึงได้ทุนการศึกษา เข้าเรียนในสถาบันชื่อดังของประเทศเรื่องเทควันโด้ ที่ชื่อ มัธยมปลายพุงแซง
2
ที่มัธยมปลายพุงแซง เช ย็องซอก ได้เจอกับคนสำคัญ ที่ช่วยเปลี่ยนชีวิตของเขาไปเลย คนคนนั้น มีชื่อว่า ลี คยองแบ หรือที่เด็กๆ เรียกกันว่า "ครูลี"
2
ครูลี เป็นโค้ช และอาจารย์ที่ปรึกษาของชมรมเทควันโด้ เขาสอนเด็กๆ ไม่เพียงแค่เรื่องการต่อสู้ แต่ยังรวมถึงการปฏิบัติตัวนอกสนามด้วย
2
เช ยองซ็อก เล่าว่า "ครูลีจะปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีใครถูกดูแลเป็นพิเศษ เวลาลงโทษก็ไม่มีแบ่งแยก ว่ารุ่นพี่โดนน้อย รุ่นน้องโดนเยอะ แต่ทุกคนจะเสมอภาคกันเสมอ โดนเท่ากันทุกอย่าง เรื่องนี้ผมยึดถือท่านเป็นแบบอย่าง"
4
ครูลีไม่ได้มีแต่ไม้อ่อน แต่หลายครั้งก็ใช้ไม้แข็ง เขาจะถือไม้เบสบอล เตรียมลงโทษเด็กๆ ที่ไม่ตั้งใจ เป็นการแสดงออกถึงความรักแบบ Tough Love "ถ้าใครไม่ตั้งใจตอนแข่งก็โดนไม้กันทุกคน แต่ถ้าคุณตั้งใจสุดความสามารถแล้ว จะแพ้หรือชนะ ก็ไม่โดนลงโทษ วิธีการสอนของครูอาจจะแตกต่างจากคนอื่น แต่ก็ไม่มีนักเรียนคนไหนถอนตัว หรือเลิกเล่นเทควันโด้กลางคันแม้แต่คนเดียว"
5
อีกเรื่องที่ครูลี เป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้เช ยองซ็อก คือเรื่องภาษาอังกฤษ
4
ครั้งหนึ่งเขาเดินไปหาครูลี ที่ห้องพักอาจารย์ แล้วไปเจอหนังสือเรียนภาษาอังกฤษวางอยู่บนโต๊ะ ก็เลยถามไปว่า ทำไมครูยังต้องมาเรียนภาษาอังกฤษอีก ซึ่งครูลีตอบกลับไปว่า "ก็เตรียมไว้ เผื่อเป็นประโยชน์ในอนาคต เพราะภาษาอังกฤษใช้ได้ทั่วโลก อนาคตถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงาน ก็อาจได้ใช้ การหาความรู้ไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เป็นเรื่องหนักหนาอะไรนี่นา"
10
อิทธิพลจากครูลี จุดประกายเช ยองซ็อก ให้หันมาตั้งใจเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เขาพยายามจนสามารถสื่อสารได้ โดยที่ไม่รู้เลยว่า อนาคตจะได้ใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้จริงๆ
2
ชื่อเสียงของ เช ย็องซอก เป็นที่รู้จักในระดับประเทศ เมื่อลงแข่งขันเทควันโด้แห่งชาติในระดับมัธยมปลาย นี่เป็นอีเวนต์ที่มีการถ่ายทอดสดจากทีวีด้วย และสามารถคว้าเหรียญทองได้สำเร็จ จึงได้รับทุนการศึกษา ให้เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติคังวอน
4
โดย เช ย็องซอก เรียนปริญญาตรีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ควบคู่กับการซ้อมเทควันโด้ไปด้วย
1
ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยปีสุดท้าย มีการเปิดคัดตัวผู้เล่นทีมชาติเกาหลีใต้ แต่โชคไม่ดี ที่วันคัดตัวตรงกับวันสอบไฟนอลที่คณะพอดี เช ย็องซอก จึงจำเป็นต้องเลือก
และ เขาเลือกสอบ ไม่ไปร่วมแข่ง โดยอธิบายเหตุผลว่า "ผมอยากรับใช้ชาตินะ แต่รู้ตัวว่า มีคนเก่งกว่าเราอีกมากมาย แล้วคนที่จะเป็นทีมชาติได้ ก็มีแค่คนเดียว คือผมเองยังไม่ใช่มือหนึ่งในชมรมที่มหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงในระดับประเทศ ที่มีคู่แข่งอีกมหาศาล ผมจึงคิดว่า เราควรเรียนให้จบ เอาวุฒิการศึกษา และหาอาชีพที่ทำเงินได้เยอะๆ แม่จะได้สบายเสียที"
8
นั่นทำให้ เช ย็องซอก จึงไม่เคยเป็นผู้เล่นทีมชาติเกาหลีใต้ เพราะเขาไม่เข้าร่วมคัดตัวด้วยนั่นเอง
จริงอยู่ ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ แต่นั่นเป็นสิ่งที่เขาเลือกแล้ว เมื่อหักลบเหตุผลแล้ว ขอเอาวุฒิการศึกษาดีกว่า
4
เมื่อเรียนจบจากมหาวิทยาลัย เช ย็องซอก ไปเกณฑ์ทหาร 2 ปี พอออกจากกรม ก็ได้งานประจำ โดย "ครูลี" ชวนมาเป็นผู้ช่วยโค้ชที่มัธยมปลายพุงแซง ซึ่งเขาก็ตอบตกลงโดยทันที
3
หลังจากเป็นโค้ชผู้ช่วยที่โรงเรียนได้ระยะหนึ่ง สมาคมเทควันโด้เกาหลีใต้แจ้งว่า ต้องการโค้ชชาย 1 คน ไปทำงานเป็นเฮดโค้ชของทีมชาติบาห์เรน ในตะวันออกกลาง ซึ่งจะได้รับค่าจ้างเบื้องต้นที่ 4,000 ดอลลาร์ต่อเดือน (140,000 บาท) แต่ต้องแลกกับการเดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศ
4
ครูลี บอกกับเช ย็องซอกว่า "ครูอยากให้เธอ ลองพิจารณาโอกาสนี้หน่อย"
ตัวเช ย็องซอก มองว่าเป็นโอกาสดี คือตอนนี้คุณแม่ของเขา เพิ่งรวบรวมเงินทั้งชีวิต เปิดร้านโพจังมาชา แผงอาหารเล็กๆ ที่ขาย ต็อกบกกี, โอเด้ง, คิมบับ และต้องจ่ายค่าเช่าที่ทุกเดือน ถ้าหากเขาได้งานเป็นโค้ชบาห์เรน ที่จ่ายค่าเหนื่อยสูงระดับนั้น ก็น่าจะช่วยแบ่งเบาภาระของที่บ้านได้เยอะมาก
1
เช ย็องซอก จึงไปเข้าร่วมการคัดตัวกับสมาคมเทควันโด้ โดยมีผู้มาสมัครทั้งหมด 8 คน บางคนมีดีกรีระดับแชมป์โลก บางคนเป็นนักกีฬาอาชีพที่มีชื่อเสียง ตอนนั้นย็องซอก เป็นผู้สมัครอายุน้อยที่สุด คือ 27 ปี และมีดีกรีน้อยที่สุดอีกต่างหาก
4
อย่างไรก็ตาม จุดเด่นที่สุดเพียงอย่างเดียว ที่ทำให้ย็องซอก เอาชนะคู่แข่งทั้งหมด คือเขา "สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี" ในขณะที่คนอื่นทำไม่ได้
8
การทำงานในต่างแดน ถ้าคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องก็จบสิ้นแล้ว ดังนั้นสมาคมเทควันโด้ จึงเลือกเช ย็องซอก ให้รับงานเป็นโค้ชทีมชาติบาห์เรนในที่สุด
5
โค้ชเชกล่าวว่า "หนังสือภาษาอังกฤษบนโต๊ะครูลี เปลี่ยนชีวิตผม ผมดีใจที่ทำได้ ในความคิดมีแต่คำขอบคุณถึงครูลี วนเวียนไปมา"
12
ปฏิเสธไม่ได้ ว่าการทำงานในระดับนานาชาติ ภาษาสากลอย่างอังกฤษ มีความสำคัญมาก การเรียนรู้เอาไว้ มันเป็นข้อได้เปรียบในอาชีพการงานจริงๆ
1
เมื่อถูกจ้าง โค้ชเชเริ่มต้นงานที่บาห์เรน และมีผลงานไม่เลว พาบาห์เรนได้เหรียญในรายการต่างๆ ครั้งหนึ่งเขาเคยได้โบนัสพิเศษเป็นนาฬิกาหรูจากสมาคมเทควันโด้บาห์เรนมาแล้ว
1
อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกของโค้ชเชจริงๆ คือไม่ค่อยชอบการทำงานในตะวันออกกลาง เพราะอากาศร้อนจัด 50 องศาเซลเซียส แถมอาหารการกินก็ไม่ถูกปาก
1
นอกจากนั้น ยังรู้สึกโดดเดี่ยว ที่บาห์เรนแทบไม่มีคนเกาหลีเลย เขาคิดถึงครอบครัว อยากกลับบ้าน แต่ก็ทนทำงานต่อไป เพื่อส่งเงินกลับไปช่วยคุณแม่
1
หลังจากทำงานได้ 1 ปีครึ่ง ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2001 เข้าสู่ช่วงรอมฎอน สมาคมเทควันโด้บาห์เรน ประกาศพักเบรกจากการซ้อม 1 เดือน จึงเป็นโอกาสให้โค้ชเชกลับบ้านไปหาคุณแม่
2
ปรากฎว่า เมื่อเขากลับไป ก็เกิดเรื่องไม่คาดฝัน เพราะคุณแม่ล้มป่วยอย่างกะทันหัน ต้องเข้าโรงพยาบาล
3
และโดยไม่ทันตั้งตัว คุณแม่ก็เสียชีวิต หลังจากเข้ารับการรักษาได้เพียง 3 วันเท่านั้น
5
คุณแม่ของโค้ชเช ถึงแก่กรรมจากอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย เข้าใจว่าเกิดขึ้นจากการทำงานหนักมาตลอดช่วงชีวิต และไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ จนสั่งสมความเจ็บป่วยไว้ภายใน
3
เมื่อคุณแม่เสียชีวิต โลกของโค้ชเชจึงพังทลายทันที เขายังไม่ทันได้ตอบแทนบุญคุณของแม่ คือยังไม่ทันได้เห็นแม่สบายเลยด้วยซ้ำ
10
โค้ชเช อธิบายว่า "แม่คือชีวิตและจิตวิญญาณของผม ผมย้อนนึกถึงสมัยเด็ก คิดถึงอาหารของแม่ คิดถึงวันที่แม่ยอมให้ผมได้เล่นเทควันโด้"
8
จากนั้นโค้ชเช จัดการเรื่องงานศพ และเอกสารต่างๆ จนเรียบร้อย รู้ตัวอีกที ก็หมดช่วงรอมฎอน เขาต้องกลับไปทำงานที่บาห์เรนแล้ว เพราะเหลือสัญญาอีก 5 เดือน
1
แต่โค้ชเช ไม่สามารถคอนโทรลความรู้สึกที่สูญเสียคุณแม่ได้ ที่จู่ๆ ก็จากไปกะทันหันขนาดนี้
2
โค้ชเชจึงสติหลุด ไม่ยอมกลับไปทำงานที่บาห์เรนอีก โดยให้รุ่นน้องอีกคนไปทำแทน จากนั้นก็ใช้ชีวิตแบบปล่อยเวลาทิ้งไปวันๆ
2
เขาบอกว่า "ทุกอย่างที่ผมทำ ก็ทำเพื่อคุณแม่ ความอดทน ความพยายาม ล้วนมีแม่เป็นแรงบันดาลใจสำคัญ เมื่อไม่มีแม่แล้ว ความตั้งใจก็หายไปหมด อะไรๆ ก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป"
2
โค้ชเชเริ่มหันไปดื่มเหล้า เริ่มสำมะเลเทเมา "ตอนนั้นผมเป็นเพียงซากชีวิตที่เดินได้ ไม่มีความฝันอะไรอีกแล้ว ไม่มีเลย"
3
ในช่วงเวลาที่โค้ชเช โศกเศร้าอยู่นั้น ครูลี อาจารย์มัธยมที่โรงเรียนพุงแซง ทักมาหาเขาแล้วบอกว่า ตอนนี้ทีมชาติไทย กำลังต้องการโค้ชเทควันโด้คนใหม่ สนใจจะไปรับงานที่ต่างแดนอีกครั้งไหม
4
โค้ชเชตอบปฏิเสธ เพราะมองว่า จะไปต่างแดนอีกทำไม ถ้าไม่มีคุณแม่แล้ว การหาเงินทองเยอะๆ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรอีกแล้ว
2
ด้วยจิตใจที่ปล่อยเบลอ โค้ชเชเดินทางไปที่ชายหาดชูมุนจิน ที่เมืองกังเนือง เพียงคนเดียว พร้อมซื้อเบียร์ 2 กระป๋อง เขานั่งดื่มเบียร์ มองดูทะเล มองคลื่น มองท้องฟ้า นั่งคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อยแบบไร้จุดหมาย และไม่รู้จะเอายังไงดีกับชีวิต
2
ในขณะที่โค้ชเช รู้สึกพ่ายแพ้ และจมดิ่ง มีหนึ่งคนที่ยังไม่ยอมตัดใจง่ายๆ
1
คนคนนั้นคือ ครูลี
5
ครูลี ติดต่อหาเขาอีกครั้ง แล้วบอกโค้ชเชให้พิจารณาเรื่องการทำงานกับทีมชาติไทย โดยพูดตรงๆ ว่า "ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เธอพยายามดูแลคุณแม่ ดูแลครอบครัวอย่างเต็มที่มาตลอด แต่ตอนนี้คุณแม่จากไปแล้ว การที่เธอใช้ชีวิตแบบไร้ความหมายและเต็มไปด้วยความโศกเศร้า ถ้าคุณแม่รู้ แม่คงเสียใจมาก ลองคิดดูดีๆ"
9
"ถ้าเธอจมอยู่แต่กับความทุกข์ คุณแม่ที่อยู่บนสวรรค์ต้องเสียใจแน่ๆ"
3
คำพูดของคุณครูที่อยู่เคียงข้างเขามาเป็นสิบปี ตั้งแต่มัธยมปลายจนถึงวัยทำงาน มันกระทบใจของโค้ชเชเข้าอย่างจัง
5
ใช่ ครูพูดถูกทุกอย่าง มานั่งเมากินเหล้า ทำตัวไร้ค่าแบบนี้ มันไม่ได้ทำให้แม่มีความสุขแน่
3
โค้ชเชขอเวลาคิดอีก 2 วัน ว่าจะรับงานโค้ชทีมชาติไทยดีหรือไม่
หลังจากผ่านไป 2 วัน เขาตอบกลับครูลีว่า "ผมจะไปทำงาน ผมจะตั้งใจทำงาน และจะกลับมาหาครูอีกครั้งเมื่อหมดสัญญากับทีมชาติไทย" นี่ไม่ใช่เวลาที่จะทำตัวเศร้าซึม เขาต้องมูฟออนไปข้างหน้า ต้องเข้มแข็ง ไม่ให้แม่ที่อยู่บนฟ้าต้องเป็นห่วง
3
และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2002 เช ย็องซอก วัย 28 ปี ก็ตอบรับงาน เขาบินมาที่ดอนเมือง เริ่มต้นการเป็นโค้ชทีมชาติไทยตั้งแต่วันนั้น
5
และใครจะไปรู้ ว่ามันคือการตัดสินใจที่ดีที่สุดในชีวิตของเขา
2
จนถึงปัจจุบัน ผ่านมาแล้ว 22 ปี โค้ชเช ไม่เคยเปลี่ยนงานอีกเลย
4
จากหนุ่มวัย 28 ปีตอนที่รับงานวันแรก ในวันนี้เขาอายุ 50 ปีแล้ว และกลายเป็นปูชนียบุคคลของวงการเทควันโด้ไทยอย่างแท้จริง รับรองได้เลยว่า คุณแม่ของเขาบนสวรรค์ต้องภาคภูมิใจมากแน่ๆ
14
ความสำเร็จของโค้ชเชในวันนี้ เขาไม่เคยลืมว่า มีจุดเริ่มต้นจากพระคุณของครูลี
6
ถ้าหากวันนั้น ครูลีไม่ผลักดันให้เขาไปรับงานทีมชาติไทย และไม่โทรศัพท์มาหาตอนเขานั่งเมาอยู่ริมทะเล บางทีเขาอาจจะกลายเป็น Loser อยู่ข้างถนนที่ไหนสักแห่ง ไม่ได้กลายเป็นคนสำคัญขนาดนี้ก็ได้ โทรศัพท์สายนั้น เป็นสายเปลี่ยนชีวิตของเช ย็องซอกอย่างแท้จริง
7
โค้ชเชเล่าว่า "ผมเรียนรู้จากท่านมากมาย ทั้งเรื่องแนวคิด เรื่องการดำเนินชีวิต ทักษะเทควันโด้ รวมถึงการปฏิบัติตัวต่อลูกศิษย์ การวางตัวกับนักกีฬา การทำงานร่วมกับโค้ชคนอื่นๆ รวมถึงการให้โอกาสทุกคนอย่างเสมอภาค นี่คือสิ่งที่ผมได้ซึมซับจากครูลี คยองแบ และยึดถือสิ่งนั้นเสมอ"
6
ในชีวิตของคนเรา จะมีบางคนที่ช่วยเหลือเรา โอบอุ้มเรา ด้วยความรักและความปรารถนาดี เป็นคนที่เรารู้สึกว่าขอบคุณเท่าไหร่ก็ไม่พอ
13
สำหรับเทนนิส คือโค้ชเช และ สำหรับโค้ชเช ก็คือครูลี
3
วันหนึ่งโค้ชเชเคยได้รับความหวังดีมาอย่างไร เมื่อโตขึ้น เขาก็ส่งต่อสิ่งนั้นให้ลูกศิษย์ของตัวเอง
3
โค้ชเชเคยเขียนไว้ในอัตชีวประวัติว่า "ครูลี มีอิทธิพลกับความคิดและการสอนเทควันโด้ของผม ดังนั้นผมจะทำให้ครูผิดหวังไม่ได้"
5
จริงๆ ถ้าครูลี ได้เห็นว่าเช ย็องซอก ในวันนั้น ได้เป็นยอดโค้ชที่ช่วยให้นักกีฬาเทควันโด้ คว้าเหรียญมากมายในกีฬาโอลิมปิกแบบนี้
1
นอกจากครูลีจะไม่ผิดหวังแล้ว คงภูมิใจมากๆ ที่ลูกศิษย์ที่ตัวเองรักและห่วงใย วันนี้กลายมาเป็นบุคลากรที่ล้ำค่าของสังคมได้จริงๆ
4
#PROUDOFYOU
โฆษณา