“ชะนี” แห่งผืนป่าศรีพังงา

“ชะนี” จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มเดียวกับลิงที่ไม่มีหาง มีขนาดตัวที่เล็ก อยู่ในวงศ์ Hylobatidae ไม่มีการสร้างรังสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว และว่องไวโดยวิธีการห้อยโหนเกือบตลอดเวลา โดยการแกว่งแขนทั้งสองข้าง โหนตัวจากกิ่งหนึ่งสู่อีกกิ่งหนึ่ง ขณะที่โหนนั้นแต่ละแขนที่แกว่งไปจะหดกลับมาอยู่ในระดับใต้หัวไหล่ก่อนที่จะยื่นแขนออกไปโหนอีกครั้งหนึ่ง
อาหารของชะนีจะกินผลไม้เป็นหลัก โดยเฉพาะผลไม้สุก ใบไม้ หน่อ ยอดอ่อน รวมทั้งแมลง พฤติกรรมของชะนีจะดื่มน้ำโดยการใช้มือจุ่มลงไปในแอ่งน้ำตามคาคบไม้แล้วเลียกินจากมืออีกต่อหนึ่ง หรืออาจเลียตามใบหรือกิ่งไม้ที่มีหยดน้ำเกาะอยู่ นอกจากการกินและหาอาหารแล้ว ชะนีจะพักผ่อนโดยวิธีนั่งและหลับนอนอยู่บนง่ามไม้บนต้นไม้ใหญ่อย่างอิสระและปลอดภัย ชะนีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสังคมแบบผัวเดียวเมียเดียว (monogamous)
อีกทั้งพวกมันยังอยู่กันเป็น “ครอบครัว” ซึ่งโดยปกติแล้วครอบครัวหนึ่งจะมีจำนวนชะนีเฉลี่ยประมาณ 2-4 ตัว ต่อครอบครัว และอาจมีสมาชิกได้มากถึง 6 ตัว
ปัจจุบันชะนียังเป็นสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกล่าและแหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นไม้ใหญ่เริ่มลดลง สถานภาพปัจจุบันของชะนีในไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๖๒
ที่มา : หนังสือเทคนิคการประเมินประชากรชะนี และสถานภาพถิ่นอาศัย โดย สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย, ดร.จันทร์เพ็ญ ศรลัมพ์ อาจารย์จากสาขาวิชาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
📷 : เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพ Smart Patrol ชุดที่ 1 (น้ำตกสวนใหม่) อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
#ชะนี #อุทยานแห่งชาติศรีพังงา #พังงา #สัตว์ป่า #กรมอุทยานแห่งชาติ
📷 : เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพ Smart Patrol ชุดที่ 1 (น้ำตกสวนใหม่) อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
#ชะนี #อุทยานแห่งชาติศรีพังงา #พังงา #สัตว์ป่า #กรมอุทยานแห่งชาติ
ที่มา : ส่วนอุทยานแห่งชาติ
สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
อุทยานแห่งชาติศรีพังงา จ.พังงา
โฆษณา