10 ส.ค. เวลา 08:30 • ธุรกิจ

วิกฤติ Intel ทำอะไรก็ล้มเหลว จนกำไรหาย 90% ใน 3 ปี

Intel, Nvidia, AMD
3 ชื่อนี้ คือแบรนด์ชิปที่หลายคนรู้จักกันดี เพราะอยู่คู่กับการเติบโตของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่อดีต
1
แต่ปัจจุบัน ยักษ์ใหญ่อย่าง Intel
กลับเจอมรสุมรอบทิศ จนทำกำไรหายไปกว่า 90%
1
จาก 7 แสนล้านบาท ในปี 2021
เหลือเพียง 6 หมื่นล้านบาท ในปี 2023
และจากตอนต้นปี จนถึงตอนนี้
มูลค่าบริษัท ก็หายไปกว่า 60%..
ที่สำคัญ แทนที่จะได้ประโยชน์จากกระแส AI เหมือนคนอื่น
ดูเหมือนว่า Intel จะถูกคู่แข่งแซงหน้า และทิ้งห่างไปเรื่อย ๆ
Intel ทำผิดพลาดอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า Intel ทำธุรกิจอะไรบ้าง จากโครงสร้างรายได้ของบริษัท
- 54.0% จากชิป PC และ Notebook
- 28.6% จาก Data Center และ AI
- 10.6% จาก Network และ Edge
- 3.8% จาก Mobileye ธุรกิจผลิตชิปสำหรับรถยนต์
- 1.8% จากการรับจ้างผลิตชิป
- 1.2% รายได้อื่น ๆ
1
จะเห็นได้ว่า รายได้หลักของ Intel จะมาจากธุรกิจชิป PC และ Notebook กับธุรกิจ Data Center และ AI เป็นหลัก
คำถามคือ จากสภาพบอบช้ำที่เราเห็นในวันนี้ มีธุรกิจไหนของ Intel โดนตีแตกไปแล้วบ้าง ?
1
เริ่มตั้งแต่ ธุรกิจชิป PC และ Notebook ที่โดน AMD บริษัทออกแบบชิปขโมยส่วนแบ่งตลาดไป
ตอนที่ Intel ยังโฟกัสกับการพัฒนาเทคโนโลยีผลิตชิปให้เล็กลง จนมีขนาด 7 นาโนเมตร
1
ซึ่งในการผลิตชิปมันก็มีทฤษฎีที่ชื่อว่า Moore’s Law ที่บอกเอาไว้ว่า ชิปจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ แต่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีต้นทุนที่ต่ำลง
ในขณะที่ Intel กำลังวุ่นอยู่กับการออกแบบและผลิตชิปให้เล็กลงด้วยตัวเอง
AMD ก็ได้อาศัยจังหวะนี้โฟกัสเฉพาะการออกแบบชิปประมวลผล แล้วไปจ้าง TSMC ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตชิปจากไต้หวัน ที่เป็นบริษัท OEM รับจ้างผลิตชิปให้แทน
1
ตอนนั้น TSMC เองก็มีเทคโนโลยีการผลิตชิปได้เล็กสุดอยู่ที่ 5 นาโนเมตร
แม้จะยังเป็นที่ถกเถียงถึงประสิทธิภาพที่แท้จริงของชิปจาก AMD ที่แม้จะผลิตด้วยเทคโนโลยีที่เล็กกว่า แต่ก็อาจไม่ได้ดีไปกว่า Intel
3
แต่ในมุมด้านการตลาดแล้ว การที่ AMD ออกมาประกาศเปิดตัวชิปขนาด 5 นาโนเมตรได้ก่อน ก็เหมือนว่า AMD คว้าชัยชนะในสงครามชิประหว่างทั้ง 2 ค่ายไปได้
นับจากนั้น ยอดขายชิป PC ของ AMD ก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และแย่งส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น
1
ไตรมาส 3 ปี 2016
- Intel 76.6%
- AMD 23.4%
ไตรมาส 3 ปี 2024
- Intel 52.6%
- AMD 44.9%
2
ตัดภาพมาที่ตอนนี้ หากมองในด้านเทคโนโลยีการผลิตชิปของ Intel ก็ยังตามหลัง TSMC อยู่ดี
เพราะถึง Intel จะพัฒนาขึ้นมาจนสามารถผลิตชิปที่มีขนาดเล็กลงที่ 5 นาโนเมตรได้ แต่ตอนนี้ TSMC ก็ข้ามไปเป็นขนาด 3 นาโนเมตร และกำลังจะทำขนาด 2 นาโนเมตร
นั่นก็เลยทำให้ธุรกิจรับจ้างผลิตชิปที่คุณ Pat Gelsinger ซีอีโอของ Intel คาดไว้ว่าจะเป็นความหวังใหม่ ก็ไม่ได้เติบโตมากเท่าที่ควร และยังเข้ามาช่วยแบกบริษัทไว้ไม่ได้..
มาต่อกันที่ธุรกิจ Data Center ซึ่งธุรกิจนี้ Intel ก็โดนทั้ง AMD และ Nvidia แซงหน้าไป
จากที่แต่ก่อน Data Center จะใช้ชิปประมวลผล CPU ของ Intel เป็นหลัก แต่มาวันนี้เทรนด์กำลังเปลี่ยนมาใช้ชิป GPU หรือการ์ดจอในการประมวลผลแทน
1
Nvidia ที่ครองตลาดชิป GPU มานาน ก็กลายเป็นผู้ชนะในตลาดนี้ไป
ส่วนชิป CPU ที่ยังใช้อยู่ใน Data Center ก็เริ่มโดน AMD ตีส่วนแบ่งไปอีก จากเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่า
1
ต่อไปเราลองมาดูรายได้-กำไร ย้อนหลังของ Intel กัน
ปี 2021 รายได้ 2,813,000 ล้านบาท กำไร 707,000 ล้านบาท
ปี 2022 รายได้ 2,245,000 ล้านบาท กำไร 285,000 ล้านบาท
ปี 2023 รายได้ 1,930,000 ล้านบาท กำไร 60,100 ล้านบาท
ทั้งรายได้ กำไร ลดลงทุกปี สาเหตุก็มาจากรายได้ในธุรกิจหลักทั้ง 2 ที่ลดลง
ส่วนธุรกิจรับจ้างผลิตชิปที่เป็นธุรกิจใหม่ เหมือน TSMC ก็ยังมีรายได้ไม่มากพอที่จะแบกบริษัท
และ Intel ยังไม่ใช่ Top-of-mind ที่ลูกค้าจะเลือกจ้างให้ผลิตชิปให้
เรื่องนี้บอกอะไรกับเรา ?
Intel เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า การที่บริษัทเป็นผู้นำในอดีต ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผู้นำในอนาคต
เพราะแม้ว่า Intel ทุ่มงบไปกับการลงทุนวิจัยและพัฒนา เป็นเบอร์ต้น ๆ ของอุตสาหกรรม ปีละ 5-6 แสนล้านบาท แต่ในภาพรวมแล้วก็ยังตามหลังคู่แข่งอยู่ดี
1
ซึ่งจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ก็น่าจะเป็นเรื่องของการโฟกัส ซึ่ง AMD รู้ตัวก่อน และทำได้ดีกว่า
1
เพราะถ้าย้อนไปในอดีต AMD ก็เคยเป็นทั้งผู้ออกแบบและผลิตชิปด้วยตัวเองเหมือน Intel
แต่ปัจจุบัน AMD โฟกัสไปที่การออกแบบชิป แล้วจ้างผู้เชี่ยวชาญอย่าง TSMC เป็นผู้ผลิตชิปให้
1
AMD จึงพัฒนาชิปได้ดีกว่า และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ได้เร็วกว่า จึงสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดมาจาก Intel และสร้างการเติบโตให้บริษัทได้
2
ในขณะที่ Intel เลือกจับปลาหลายมือ ทุ่มงบลงทุนและแก้ปัญหา ทั้งเรื่องการออกแบบชิป และการผลิตชิป
1
ซึ่งดูเหมือนว่าจะติดหล่ม และวิ่งตามคู่แข่งในแต่ละสนาม ไม่ทันสักที..
โฆษณา