Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
12 ส.ค. เวลา 14:00 • ธุรกิจ
“เก่าจากไป ใหญ่ลงมา”
สงครามธุรกิจอาหารกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง เน้นความหลากหลาย คุ้มค่า ในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
การปิดตัวของ #ไดโดม่อน (Daidomon) บุฟเฟต์ปิ้งย่างระดับตำนาน สร้างความสะเทือนใจให้แฟนคลับ โดยเฉพาะนักศึกษายุค 90’s และมิลเลนเนียมไม่น้อย
❓แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้ร้านชื่อดังในอดีตแบบนี้ต้องจากไป วันนี้ #aomMONEY จะพาเพื่อนๆ ไปดูสมรภูมิธุรกิจอาหารอันแสนดุเดือด ที่ไม่มีที่ว่างให้คนที่ปรับตัวช้า การเกิดขึ้นของหน้าใหม่ และการเคลื่อนไหวของเจ้าตลาด
⚠[[ #ปิดตำนาน 41 ปี]]
ไดโดม่อนประกาศปิดตำนาน 41 ปี ร้านบุฟเฟต์ปิ้งย่างแห่งแรกในไทย โดยหยุดให้บริการสาขาสุดท้ายที่ฟิวเจอร์พาร์ครังสิตในวันที่ 5 สิงหาคม 2567 ซึ่งการปิดตัวนี้เป็นการชี้ให้เห็นถึงความท้าทายในธุรกิจอาหาร
แม้จะไม่มีการประกาศสาเหตุการปิดตัวที่ชัดเจน แต่หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า สาเหตุน่าจะมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ขาดทุนสะสม รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น การมีคู่แข่งรายใหม่ ที่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคมากกว่า และสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปีนี้
ผลประกอบการของไดโดม่อน (บริษัท เจซีเค ฮอสพิทอลลิตี้ จำกัด (มหาชน))
ปี 2563 รายได้ 701 ล้านบาท ขาดทุน 142 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 440 ล้านบาท ขาดทุน 257 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 547 ล้านบาท ขาดทุน 214 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 370 ล้านบาท ขาดทุน 125 ล้านบาท
*ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจ
🎯[[ #สถานการณ์ธุรกิจอาหารไทย ]]
เมื่อพูดถึงสภาพเศรษฐกิจแล้ว แวะไปดูภาพรวมสถานการณ์ธุรกิจอาหารไทยในปี 2567 กันบ้าง
คุณฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า แม้ต้นปี 2567 ธุรกิจร้านอาหารจะเริ่มต้นได้ดี แต่ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่า มีการใช้จ่ายลดลง จากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยมีปัจจัยลบที่ส่งผลต่อธุรกิจอาหาร ได้แก่
1
- การที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้รับการปล่อยกู้
- ตลาดทุน ตลาดหุ้นตก เงินลงทุนไม่เข้ามา
- ธุรกิจยานยนต์ซบเซา โรงงานญี่ปุ่นปิด ธนาคารไม่ปล่อยกู้
- การปิดตัวของโรงงานและภาคการผลิต แรงงานถูกปลดออกจากงาน
- ราคาวัตถุดิบและแรงงานที่สูงขึ้น
1
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจติดขัด ประชาชนไม่มีกิจกรรม หรือการเฉลิมฉลอง กู้ซื้อบ้านก็ไม่ผ่าน ลงทุนในหุ้นก็ขาดทุน กิจการก็ไปต่อไม่ได้ แรงงานถูกเลิกจ้าง ทำให้เกิดแรงกดดันให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างรัดกุม
ประกอบกับหน้าฝนที่เป็นช่วง Low Season ยอดขายก็ไม่ดีอยู่แล้ว ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจอาหารตอนนี้เข้าขั้นวิกฤต ผู้เล่นหลายรายต่างทยอยปิดตัว
✅[[ #จับเทรนด์ได้ กำไรงาม ]]
เมื่อมีแบรนด์สะดุด ก็มีแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน กับการมองเห็นโอกาสการทำบุฟเฟต์ราคาที่เข้าถึงง่าย ให้ความคุ้มค่า จนกลายเป็นขวัญใจของใครหลายคนกับ #สุกี้ตี๋น้อย บุฟเฟต์สุกี้ราคาย่อมเยาที่ก่อตั้งในปี 2561
โดยสุกี้ตี๋น้อยใช้กลยุทธ์การตั้งราคาให้เข้าถึงง่าย แต่ให้ทั้งบรรยากาศเหมือนร้านในห้างใหญ่ๆ รสชาติดี วัตถุดิบเยี่ยม สถานที่กว้างใหญ่และเปิดให้บริการตั้งแต่ 12.00 น. ถึง 5.00 น. มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกลยุทธ์อยู่เสมอ
1
นอกจากนี้ยังมีการแตกไลน์เป็นแบรนด์อื่นออกมาทั้ง “ข้าวแกง ตี๋น้อยปันสุข” ราคาเริ่มต้น 39 บาท เพื่อใช้บริหารจัดการวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด “ตี๋น้อย ป๊อปอัพ คาเฟ่” ร้านเครื่องดื่มและขนมหวาน, “ตี๋น้อย เอ็กซ์เพรส” ที่ราคาสูงขึ้นอีกนิดที่ 439 บาท เพื่อมาเป็นอีกตัวเลือกให้ลูกค้าในกลุ่มพรีเมียม สร้างรายได้ ลดของเสียได้ไม่น้อย
1
รายได้ของสุกี้ตี๋น้อย (บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด)
ปี 2563 รายได้ 1,223 ล้านบาท กำไร 140 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 1,572 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 3,976 ล้านบาท กำไร 591 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 5,262 ล้านบาท กำไร 907 ล้านบาท
2
*ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจ
(ที่จริงแล้วแม้งบปี 67 ของ สุกี้ตี๋น้อยยังไม่ออก แต่ด้วยความที่ JMART ถือหุ้นอยู่ 30% และ JMART อยู่ในตลาดหุ้นไทย รายงานช่วงครึ่งแรกของปีได้กำไรจากการลงทุนในสุกี้ตี๋น้อยมา 183 ล้านบาท นั่นหมายความว่าถ้าคิดเป็น 100% ครึ่งปี 67 สุกี้ตี๋น้อยก็ทำกำไรไปแล้วกว่า 620 ล้านบาท ซึ่งถ้าแนวโน้มยังเป็นเหมือนเดิม นี่จะเป็นปีแรกที่สุกี้ตี๋น้อยได้กำไรเกิน 1,000 ล้าน)
🍲[[ #เจ้าตลาดต้องขยับ ]]
จะเห็นได้ว่า การปรับตัว เปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ #เอ็มเค เอ็มเค เรสโตรองต์ (MK Restaurants) จึงประกาศเปิดตัวแบรนด์ #เอ็มเคบุฟเฟต์ (MK Buffet) อย่างเป็นทางการ แม้ทางเอ็มเคจะให้บริการสุกี้แบบบุฟเฟต์ในบางสาขาอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เป็นการลงสนามอย่างเต็มรูปแบบ
2
มีการวิเคราะห์ว่าการเปิดตัวนี้เป็นกลยุทธ์ #หนีตาย จากสมรภูมิที่คู่แข่งไล่ต้อนจนอาจเสียบัลลังก์ #เจ้าแห่งสุกี้ โดยภาพจำของเอ็มเคนั้นเป็นความอร่อยที่มีมายาวนานจนหลายคนรู้สึกจำเจ รวมถึงภาพรวมของราคาที่ต้องจ่าย ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า การเดินเข้าไปเอ็มเคแต่ละครั้งนั้น ใช้เงินไม่น้อย
ยอดขายของ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ปี 2563 รายได้ 11,584 ล้านบาท กำไร 908 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 9,822 ล้านบาท กำไร 280 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 13,559 ล้านบาท กำไร 1,312 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 14,413 ล้านบาท กำไร 1,511 ล้านบาท
3
*ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจ
ทั้งนี้ทาง บริษัทหลักทรัพย์ #พาย (Pi Securities Public Company Limited) ให้ข้อมูลว่า ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ทางเอ็มเคและเครือทั้งหมดมียอดขายสาขาเดิม (SSSG) -6.1% และอาจจะติดลบถึง 12% ในไตรมาส 2 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เอ็มเคเผชิญมรสุมด้านยอดขายอย่างเห็นได้ชัด จนต้องเดินเกมลงมาเล่นในตลาดอาหารบุฟเฟต์อย่างเต็มตัว
การปิดตัวของไดโดมอน การมาของสุกี้ตี๋น้อย และการลงตลาดบุฟเฟต์ของเอ็มเค เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับความท้าทายในอุตสาหกรรมร้านอาหาร
แม้ว่าตลาดบุฟเฟต์โดยรวมจะยังคงเติบโต แต่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อน ทั้งจากการแข่งขันที่รุนแรง ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การปรับตัวและสร้างความแตกต่างจึงเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่รอดและเติบโตในตลาดนี้
เรียบเรียงโดย อติพงษ์ ศรนารา
อ้างอิง :
https://www.amarintv.com/.../business-marketing/detail/67612
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1031264
https://www.prachachat.net/marketing/news-1558403
https://www.ttbbank.com/.../ttba-restaurant-market-2024
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1138404
https://www.facebook.com/profile/100064733826565/search/
...
https://www.pi.financial/.../%E0%B9%8Cm-buy-fair-price-bt
...
https://www.krungsri.com/.../io-food-beverage-restaurant
...
https://www.youtube.com/watch?v=Q2ufBcoDfQI
https://www.brandbuffet.in.th/.../suki-teenoi-success.../
https://weblink.set.or.th/.../1007NWS090820242215380217T.pdf
#aomMONEY #MakeRichGeneration #การเงิน #การลงทุน #บุฟเฟต์ #MK #สุกี้ตี๋น้อย #Daidomon #สมรภูมิร้านอาหาร #การแข่งขัน
7 บันทึก
27
1
10
7
27
1
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย