Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Knowledge Is Power
•
ติดตาม
11 ส.ค. 2024 เวลา 15:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มีเงินอยู่หนึ่งก้อน...ลงทุนอะไรดีน้าาา???
นี่คือคำถามยอดฮิตเลยครับในโลกการเงิน ถ้าให้ผมตอบผมก็จะตอบว่าก่อนที่เราจะลงทุนใดๆก็เเล้วเเต่ต้องลงทุนในความรู้ก่อน เเต่ๆ มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆครับเป็นสิ่งสำคัญขนาดที่ว่าถ้าเกิดวิกฤต หรือ รายได้ขาดหายเราอยู่ไม่ได้เเน่นอนครับนั้นก็คือ
"เงินสำรองฉุกเฉิน"เป็นสิ่งเเรกที่ทุกคนควรมีก่อนจะลงทุนครับ เป็นเป้าหมายเเรกของการออมเลยก็ว่าได้ครับ
.
เหตุผลที่เราควรให้ความสำคัญกับเงินสำรองฉุกเฉินก็เพราะว่า มันเป็นส่วนหนึ่งที่เอาไว้ป้องกันสภาพคล่อง เผื่ออนาคตอันไม่เเน่นอน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่รายได้ขาดหายหรือตอนที่เราไม่มีรายได้เราก็จะได้นำเงินตัวนี้มาใช้
บางคนกระโดดเข้าลงทุนโดยไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน สุดท้ายพอเกิดวิกฤตหรือหุ้นตก
พวกเขาก็ไม่มีเงินใช้จ่าย ก็ต้องไปกู้ยืมเงินคนอื่น ก็กลายเป็นหนี้เป็นสินกันเลย
เพราะฉะนั้นการเก็บเงินสำรองฉุกเฉินนั้นสำคัญมากๆ
.
เเล้วเงินสำรองควรจะเก็บเท่าไหร่ ขนาดของตะกร้าเงินสำรองฉุกเฉินที่เหมาะสมควรเก็บ 6-12ของค่าใช้จ่ายต่อเดือนครับ เช่น
สมมุติว่า รายจ่ายทั้ง6เดือนเราเป็น 20,000 เราก็นำ20,000 คูณ 6 =120,000บ.
*หมายเหตุถ้ารายจ่ายเราเพิ่ม เงินสำรองเราก็ต้องเพิ่มเหมือนกัน*
.
เเล้วเราควรเก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้ที่ไหน
ถ้าให้ผมเเนะนำเราควรเก็บไว้ที่ที่มีสภาพคล่องสูง ลืมพวก หุ้น ทอง อนุพันธ์ ได้เลยครับเพราะเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงมากครับ
ผมเเนะนำว่าควรเป็น
1.เงินฝาก จะออมทรัพย์หรือฝากประจำก็ได้ครับ เพราะถอนได้ตลอดเวลา
2.กองทุนรวมตลาดเงิน หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้ พวกนี้มีสภาพคล่องที่ดีมากครับ
ถอนออกวันนี้ พรุ่งนี้ก็ได้เงินเเล้วครับผม
.
โดยความรู้ทั้งหมดนี้ผมได้มาจากหนังสือ MONEY101 เขียนโดย
โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ The money coach
สำหรับใครที่อยากได้ความรู้เพิ่มเติมสั่งซื้อได้ครับ
https://s.shopee.co.th/2frULOSw4j
.
สุดท้ายนี้การเก็บเงินสำรองฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ มีวินัย อดทน เก็บทุกวันครับ เราก็จะมีเงินสำรองฉุกเฉินที่เราตั้งใจไว้ครับ
พัฒนาตัวเอง
การเงิน
หุ้น
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย