12 ส.ค. 2024 เวลา 01:47 • ความคิดเห็น

มุมมองของนักคิด 3 คนผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า

Atheism อ่านว่า เอ-ธี-อิซึม แปลว่าอเทวนิยม หรือทัศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า
Atheist อ่านว่า เอ-ธี-อิสท แปลว่าคนที่ไม่เชื่อในพระเจ้า
ช่วงนี้คนที่ผมติดตามผลงานหลายคนมักจะประกาศตัวเป็น atheist และบางมุมมองก็น่าสนใจและอยากเอามาแชร์เอาไว้ในบล็อกนี้
บางท่านได้อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วอาจอารมณ์เสียและไม่เห็นด้วย ซึ่งผมต้องขออภัยล่วงหน้า
บางข้อความอ่านแล้วคุณอาจจะไม่ชอบ แต่ผมเชื่อว่าคุณจะไม่ลืมครับ
.
2
1. Naval Ravikant
นาวาล รวิกานต์ เป็นเจ้าของ AngelList ที่ลงทุนในสตาร์ตอัพอย่าง Twitter และ Uber เคยให้สัมภาษณ์ต่อคำถามที่ว่า "ความหมายของชีวิตคืออะไร?"
"ชีวิตไม่มีความหมาย ชีวิตไม่มีจุดประสงค์ โอโช กล่าวว่า "มันเหมือนกับการเขียนลงบนน้ำ หรือการสร้างปราสาททราย"
ความจริงก็คือ เราเคยไร้ชีวิตมาตลอดประวัติศาสตร์ของจักรวาลหนึ่งหมื่นล้านปีหรือมากกว่านั้น และเราจะไร้ชีวิตไปอีกประมาณเจ็ดหมื่นล้านปีจนกว่าจะถึงการสิ้นสุดของจักรวาล
"The reality is you’ve been dead for the history of the Universe, 10 billion years or more. You will be dead for the next 70 billion years or so, until the heat death of the Universe."
1
ทุกสิ่งที่เราทำจะเลือนหายไป มันจะหายไปเช่นเดียวกับที่มนุษยชาติจะหายไปและโลกนี้จะหายไป แม้แต่กลุ่มคนที่ไปตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคารก็จะหายไป จะไม่เหลือใครที่จดจำเราได้หลังจากผ่านไปหลายชั่วอายุคน ไม่ว่าเราจะเป็นศิลปิน กวี ผู้พิชิต คนยากจน หรือใครก็ตาม ไม่มีความหมายใดๆ เลย
2
เราจึงต้องสร้างความหมายของตัวเองขึ้นมา เพราะไม่มีความหมายที่เป็นจุดประสงค์อย่างแท้จริงและเป็นแก่นแท้ของจักรวาล
ผมไม่เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายอันเป็นนิรันดร์ ผมว่ามันเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล ไม่มีหลักฐานอะไรเลยที่จะทำให้ผมเชื่อว่าวิธีที่เราใช้ชีวิตเจ็ดสิบปีบนโลกนี้จะส่งผลกับโลกหลังความตายที่ยาวนานชั่วกัลปาวสาน พระเจ้าแบบไหนกันที่ตัดสินคุณไปชั่วนิจนิรันดร์โดยอิงจากช่วงเวลาเพียงสั้นๆ บนโลกใบนี้?
3
ผมคิดว่าหลังจากชีวิตนี้จบลงแล้วมันก็คงจะเหมือนกับก่อนที่เราจะเกิดมา คุณจำอะไรได้ไหมล่ะ? ชีวิตหลังความตายมันก็จะเป็นแบบนั้นแหละ
ก่อนที่เราเกิด เราไม่เคยแคร์อะไรหรือใครเลย ทั้งคนที่เรารัก ทั้งตัวเราเอง รวมถึงมนุษยชาติ รวมถึงว่าเราจะไปดาวอังคารหรือจะอยู่บนโลก หลังความตายเราก็ไม่แคร์อะไรเลยเช่นกัน"
-----
1
2. Mark Manson
มาร์ค แมนสัน เป็นผู้เขียนหนังสือ The Subtle Art of Not Giving a F* และ หนังสือ Everything Is F*: A Book About Hope
Manson กล่าวเอาไว้ในหนังสือ Everything is F* (หน้า 85 & 120) ว่า
"มันมีเหตุผลอยู่นะที่ศาสนาใหญ่ๆ มักจะส่งมิชชันนารีไปยังสถานที่ที่ยากจนและไร้ความหวังที่สุด ผู้คนที่หิวโหยย่อมพร้อมเชื่ออะไรก็ตามที่ทำให้พวกเขาอิ่มท้อง
1
ผู้นำทางศาสนาจะเทศนาให้กับคนยากจนและผู้ถูกกดขี่ และบอกพวกเขาว่าพวกเขาควรได้เข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ — โดยพื้นฐานแล้วมันก็คือการ "สู้กลับ" กับชนชั้นสูงในสมัยนั้นนั่นเอง
นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosophers) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกนักวิทยาศาสตร์ในยุคของไอแซค นิวตัน ได้ตัดสินใจว่า สิ่งที่มีหลักฐานสนับสนุนมากที่สุดคือสิ่งที่เชื่อถือได้มากที่สุด หลักฐานกลายมาเป็นคุณค่าสูงสุด และหากมีความเชื่อใดที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานอีกต่อไป ความเชื่อนั้นต้องถูกเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงใหม่ที่สังเกตเห็นได้
สิ่งนี้ได้สร้างศาสนาใหม่ที่เรียกว่า "วิทยาศาสตร์"
วิทยาศาสตร์อาจเป็นศาสนาที่มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะมันเป็นศาสนาแรกที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงตัวเองได้ มันเปิดกว้างสำหรับทุกคน ไม่ยึดติดกับหนังสือหรือคำสอนเพียงเล่มเดียว ไม่ผูกพันกับดินแดนหรือชนชาติใด ไม่ยึดติดกับจิตวิญญาณเหนือธรรมชาติที่การมีอยู่ของมันไม่สามารถพิสูจน์หรือหักล้างได้ (proven or disproven) มันเป็นองค์ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
1
การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกมากกว่าสิ่งใดๆ มันยกระดับมนุษย์หลายพันล้านคนให้พ้นจากโรคภัยและความยากจน และปรับปรุงทุกด้านของชีวิต
แต่วิทยาศาสตร์ได้ทำสิ่งที่น่าทึ่งยิ่งกว่า: มันได้นำเสนอแนวคิดเรื่อง "การเติบโต" มาสู่โลก สำหรับประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของมนุษยชาติ "การเติบโต" นั้นแทบไม่เคยมีอยู่จริง การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า แทบทุกคนเกิดมามีฐานะอย่างไร ก็จบชีวิตลงไปด้วยฐานะเดียวกันนั้น
เมื่อสองพันปีที่แล้ว ผู้คนใช้ชีวิตไปทั้งชีวิตโดยไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย - ไม่มีการพัฒนาใหม่ๆ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ผู้คนเกิดแก่เจ็บตายบนผืนดินแห่งเดิม ท่ามกลางคนกลุ่มเดิม และใช้เครื่องมือเดิมๆ โดยไม่มีอะไรดีขึ้น อันที่จริงแล้วโรคระบาด ความอดอยาก สงคราม และผู้ปกครองที่โหดเหี้ยมมักทำให้ทุกอย่างแย่ลงด้วยซ้ำ มันเป็นการดำรงอยู่ที่เนิ่นช้า เจ็บปวด และทุกข์ทรมาน
และเมื่อไม่มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงหรือมีชีวิตที่ดีขึ้นในชาตินี้ ผู้คนจึงยึดถือความหวังจากคำสัญญาของศาสนาว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นในชาติหน้า"
1
-----
3. Yuval Noah Harari
2
ยูวาล โนอา ฮารารี ผู้เขียนหนังสือ Sapiens: A Brief History of Humankind เคยให้สัมภาษณ์ไว้ใน Natalie Portman and Yuval Noah Harari in Conversation ดังนี้
2
"ศาสนาได้สร้างสิ่งดีๆ เอาไว้แน่นอน ทั้งด้านศีลธรรม ด้านมนุษยธรรม ด้านศิลปะ และการทำให้ผู้คนวางใจและร่วมมือกันก็เป็นผลจากศาสนา แต่ศาสนาก็ได้สร้างความเสียหายเอาไว้เช่นกัน สุดท้ายแล้วผมคิดว่าศาสนาไม่ได้มีความจำเป็นต่อการมีศีลธรรมหรือการร่วมมือกันอีกต่อไป
5
จริงๆ แล้วศีลธรรม (morality) ก็คือการพยายามลดความทุกข์ร้อนบนโลกใบนี้ คุณไม่จำเป็นต้องเชื่อในพระเจ้าองค์นี้หรือพระเจ้าองค์นั้นเพื่อที่จะประพฤติตนให้ดี แต่คุณต้องมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความทุกข์ยาก (suffering)
สำหรับผม ผมคิดว่าพวกเราจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจทางจิตวิญญาณ (spirituality) มากกว่าการมีศาสนา (religion) เพราะสองอย่างนี้แตกต่างกันหรือแทบจะตรงกันข้ามกันด้วยซ้ำ
1
Spirituality เป็นเรื่องของคำถาม
ส่วน Religion เป็นเรื่องของคำตอบ
Spirituality คือเวลาที่คุณมีคำถามใหญ่ๆ เช่นความตระหนักรู้คืออะไร ความหมายของชีวิตคืออะไร ความดีงามคืออะไร และคุณก็เริ่มออกเดินทางไปแสวงหาคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ และคุณก็มีความกล้าและความพร้อมที่จะไปในที่ใดก็ตามที่คำถามจะพาคุณไปเพราะว่ามันสำคัญสำหรับคุณมาก
Religion เป็นเรื่องของคำตอบ มันคือการที่มีคนเดินมาบอกคุณว่า นี่แหละคือคำตอบ คุณต้องเชื่อสิ่งเหล่านี้ ถ้าคุณไม่เชื่อคุณก็จะถูกแผดเผาในนรกหรือไม่เราก็จะจับคุณเผาเสียเอง ผมมองว่าวิธีคิดแบบนี้มันเป็นคนละขั้วกับ spirituality เลย
ผมคิดว่าศาสนาได้ทำสิ่งดีๆ และสิ่งแย่ๆ เอาไว้หมดแล้ว และมันกำลังสูญเสียบทบาทของมันไป ในสมัยก่อนนั้นถ้าคุณป่วยคุณก็ไปหานักบวช ถ้าฝนไม่ตกคุณก็เข้าโบสถ์เพื่อสวดมนต์อ้อนวอน แต่โจทย์เหล่านี้กลับถูกแก้ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรและคุณหมอไปแล้ว"
1
-----
ผมเองไม่ได้เห็นด้วยกับทุกข้อความที่กล่าวมา แต่ผมชอบเพราะว่ามันกระตุกต่อมคิดและทำให้เราเห็นที่มาที่ไปของศาสนาได้ชัดเจนขึ้น
ยูวาล ฮารารีเคยบอกไว้ว่า เราไม่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อจะได้ทำนายอนาคต เราเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อจะได้เป็นอิสระจากมัน
4
ผมคัดสรรข้อความเหล่านี้มาให้อ่าน โดยหวังว่าเราจะเปิดใจและเกิดคำถามว่าสิ่งที่เรารู้และเชื่อมั่นอาจไม่ใช่ความจริงแท้ทั้งหมด
และหากเรานำสิ่งเหล่านี้ไปคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราอาจแน่นแฟ้นในศรัทธาของเรามากกว่าเดิมก็เป็นได้ครับ
โฆษณา