Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mao-Investor
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
12 ส.ค. 2024 เวลา 09:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ย้อนรอย Black Monday 1987 วันที่ตลาดหุ้นสหรัฐ ร่วงหนักสุดในประวัติศาสตร์
เมื่อวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นญี่ปุ่น -12.4% ถือว่าหนักสุดในรอบกว่า 37 ปี
และไม่ได้มีเพียงตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ลง แต่ตลาดหุ้นในเอเชียลงหนักกันเกือบทั้งตลาด เช่น
-ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ -8.8%
-ตลาดหุ้นไต้หวัน -8.4%
-ตลาดหุ้นเวียดนาม -3.9%
ส่วน SET ของไทย ก็ไม่ยอมตกเทรนด์ โดนไป -3%
ในวันนั้นมีแต่คนพูดถึงคำว่า “Black Monday” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในปี 1987 ที่หุ้นตกกันทั่วโลก
แล้วเหตุการณ์นี้มีต้นตอเป็นยังไง ลองไปดูกัน..
ในช่วงเวลานั้น “Program Trading” กำลังเป็นที่นิยมของกองทุนทั้งหลาย รวมถึงพวก Hedge Fund ด้วย
โดยจะใช้ Algorithm ในการเทรด
ถ้าถึงจุดที่ควรจะซื้อ โปรแกรมก็จะสั่งให้ซื้อ
ถ้าถึงจุดต้องขายหรือ Stop Loss โปรแกรมก็จะสั่งขายทันที โดยไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง
ไม่เหมือนกับพวกเรา ที่ยิ่งขาดทุนก็ยิ่งเสียดาย ไม่กล้าคัท..
ปรากฏว่า เช้าวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 1987 ได้เกิดการเทขายหุ้นจำนวนมาก จนทำให้ดัชนีที่สะท้อนสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่าง DJIA ติดลบถึง -22.6% ภายในวันเดียว
ถือว่าหนักที่สุดในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้
จนถูกเรียกว่า Black Monday..
ซึ่งคาดว่าสาเหตุมาจาก Program Trading หรือ Algorithm Trading เกิดความผิดปกติ และส่งคำสั่งขายเข้ามาพร้อมกันจำนวนมาก
พอหุ้นลงมามาก ๆ ถึงจุด Stop Loss ก็ยิ่งเกิดแรงขายเพิ่มอีกระลอก
พอเป็นแบบนี้ นักลงทุนรายใหญ่ และรายย่อย ก็พากันเทขายตามไปด้วย เป็นโดมิโน่..
จริง ๆ นอกจากความผิดพลาดของ Program Trading แล้ว การที่ตลาดหุ้นตกลงมาเยอะแบบนี้ ก็มีการวิเคราะห์กันว่า ยังมาจากสาเหตุอื่นด้วย เช่น
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ร้อนแรงเกินไป ดูได้จาก ดัชนี DJIA ที่บวกถึง +43% ในครึ่งปีแรก
รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดูน่ากังวล หลังเผชิญปัญหาขาดดุลการค้า และเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า
จากเหตุการณ์ Black Monday ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังส่งผลไปยังตลาดหุ้นทั่วโลก เช่น
-ตลาดหุ้นสหราชอาณาจักร -26.5%
-ตลาดหุ้นญี่ปุ่น -14.9%
-ตลาดหุ้นไทย -3%
ผลกระทบจาก Black Monday ทำให้เกิดความเสียหายทั่วโลก ที่มีมูลค่ากว่า 167 ล้านล้านบาท (หลังปรับเงินเฟ้อ)
จากเหตุการณ์นี้ หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดการเงิน ได้ออกมาตรการ Circuit Breaker ที่เป็นกลไกในการหยุดการซื้อ-ขาย ชั่วคราว เมื่อตลาดเกิดความผันผวนรุนแรง เพื่อให้นักลงทุนได้กลับมาตั้งสติ ก่อนจะเริ่มเปิดการซื้อ-ขายอีกครั้ง โชคดีที่รอบนี้ ไม่ได้รุนแรงเหมือนเมื่อ 37 ปีผ่านมา
วิกฤตการเงินโลก
การลงทุน
1 บันทึก
4
1
1
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย