12 ส.ค. เวลา 12:29 • ท่องเที่ยว
อำเภอวังจันทร์

🍄 เห็ดป่าหน้าฝน คุณค่าไม่ใช่เพียงความสวยงาม 🍄

เช้าวันที่ 11 ส.ค. 67 นักวิจัยสองคน ได้รับเชิญไปนำสำรวจเก็บตัวอย่างเห็ดเพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายและหาแนวทางการใช้ประโยชน์ ณ อ.วังจันทร์ จ. ระยอง
นึกว่าจะเจอกับฝน แต่เจออากาศร้อนเปรี้ยงมากคะ
อาจารย์ป๊อป
วันนั้นร้อนอบอ้าว พ้นฝนไปได้สามวัน แต่แดดร้อนทำให้ฟ้าเปิดเหมาะกับทัศนวิสัยในการเดิน ป่านี้คือป่าชุมชน ภายใต้ พรบ.กรมป่าไม้ ชาวบ้านช่วยดูแล ไม่ให้ไฟป่าเข้ามามากกว่า 6 ปี ป่ากำลังเปลี่ยน บางจุดไม้พุ่มเตี้ยพื้นล่างเริ่มหายไป เหลือเพียงไม้อายุ 6 ปี เริ่มตั้งต้นสูงแข่งกันให้ได้แสง
ไม้พุ่มจะเริ่มหายไปครับ เพราะไม่ใหญ่กำลังโตได้ระดับ แข่งขึ้นหาแสง ทำให้ไม้พุ้มเตี้ยแสงลดลง แล้วเริ่มหายไปจากพื้นที่ หรือมีน้อยลง เรียกว่าเกิด succession หรือการแทนที่แบบธรรมชาติ
อาจารย์นัย กล่าว
ป่านี้เริ่มกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งด้วยเจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้านช่วยกัน จัดคิวกันปลูกป่า ถางหญ้า เถาวัลย์เล็กๆ ได้อาศัยของป่าเช่น หน่อไม้ สมุนไพรเล็กน้อยกินอยู่
เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาป่า ป่าเปลี่ยนไปในทางที่เราเห็นกันชัดขึ้น ข้างเข้ามานอนเป็นฝูง บางวันก็ขึ้นไม่ได้ต้องส่งสายสืบมาก่อน
พี่ชัยกฤษ กล่าว
ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ป่าบ้านวังม่วง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง
สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านอยากให้กลับมาคือ "เห็ด" เพราะนอกจากจะเป็นวัตถุดิบทาง 🍄‍🟫 อาหารที่เริศรศแล้วคุณค่าทางโภชนาการก็ล้ำเลิศมากเช่นกัน โปรตีนสูง ไขมันต่ำ ตามด้วยสารพัดวิตตามิน แถมมีรสหวานอร่อยเวลาแกง ยากที่จะได้คุณสมบัติแบบนี้จากวัตถุดิบธรรมชาติที่มาจากทรัพยากรกลุ่มอื่นๆ
โอ้ยมันอร่อยนะ โดยเฉพาะเห็ดมันปู
แม่ๆ ชาวบ้านบอกทีมงาน
เห็ดมันปู Cantharellus cf. cibarius
เห็ดหลายชนิดที่ชาวบ้านสนใจ โดยมากเป็นเห็ดอิงอาศัยกับต้นไม้หรือเรียกว่า Ectomycorrhiza mushroom ซึ่งจะมีเส้นใยเห็ดขึ้นห่อหุ้มรากตเนไม้ใหญ่ มีบทบาทช่วยให้ต้นไม้ทนความแห้งแล้ง ทนโรคได้ดีกว่าต้นไม้ที่ไม่มีเห็ดพวกนี้ขึ้น ดังนั้นป่าที่มีเห็ดป่าที่กินได้ชุก ต้นไม้ต้องมีเยอะชนิดตาม
ป่าต้องสมบูรณ์ ต้นไม้ใหญ่ต้องมี อายุต้นไม้ต้องสัก 10 ปี ขึ้นไปถึงจะมีเห็ดที่รำไปทำอาหารพวกนี้เยอะ
อาจารย์ป๊อป กล่าวไว้
เห็ดน้ำนม เห็ดหาด Lactarius sp.
ป่านี้ใกล้เข้าสู่ระยะที่จะมีเห็ดเยอะแล้วอีกไม่กี่ปี แต่ต้นไม้ยังเล็กนัก หากไฟมาการรอดชีวิตขอวต้นไม้เหล้านี้จะยาก ชาวบ้านจึงจัดแนวกันไฟทุกปี เพื่อป้องกันไฟป่า ลาดตระเวนประจำ
ถ้าไฟป่ามา หมดแน่ครับ เราถึงพยายามดู เข้าเวรยาม เพราะต้นไม้ยังเล็กเกินจะทนไฟ
ผู้ใหญ่บ้านหนองม่วง กล่าว
จริงๆป่านี้ไก็รับการพิสูจน์ว่า สงบ เงียบ สมบูรณ์ ในระดับหนึ่งเพราะพี่ช้างแวะเวียนมาเป็นฝูงโดยตลอด ยกเว้นหน้าฝน แสดงให้เห็นว่าป่าหลักของพี่ๆเค้า น่าจะกลับมามีอาหารแล้วเค้าเลยไม่อยู่ในวันที่ทีมสำรวจได้เข้าป่านี้
กลางวันเค้าชอบมานอนครับ ตอนกลางคืนหายไป แต่ตอนนี้ไม่เห็นพี่ๆเค้ามาพักแถวนี้ได้สองสัปดาห์แล้วครับ ทางนั้นน่าจะอาหารดี แต่ทางนี้มันเงียบ สงบครับ เค้าชอบมาพักกัน
ท่านนายก อบต. หนองม่วง กล่าว
นอกจากเห็ดที่ขึ้นอิงอาศัย ทีมวิจัยได้พบกับเห็ดเป็นยาและเห็ดย่อยไม้ที่สามารถนำไปเพาะเลี้ยงเพิ่มรายได้ หรือเป็นธนาคารเห็ดในชุมชนได้ เห็ดที่พบเป็นอาหารได้เข่น เห็ดหูหนูป่า เห็ดตีนตุ๊กแก ส่วนเห็ดเป็นยา เช่น เห็ดกระด้าง เห็ดเปลือกไม้ เห็ดแส้ม้า เป็นต้น
ภาพเห็ดย่อยสลายไม้ที่มีคุณสมบัติเป็นยา เช่น เห็ดกระด้าง เห็ดเปลือกไม้ เห็ดแส้ม้า เป็นต้น
ตัวอย่างภาพเห็ดป่าที่เป็นอาหารได้ เช่น เห็ดตีนตุ๊กแก และเห็ดหูหนูแดงแบบหนา
จะเห็นว่าต่อให้ป่าอายุไม่มาก ป่านี้จากเขาหัวโลน สวนยาง แต่กลายเป็นป่าหลากหลายอายุ 6 ปีแบบป่านี้ หลังจากที่กรมป่าไม้ได้ขอคืนพื้นที่ ชาวบ้านได้ขอขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชน ณ วันนั้นได้รับการดูแลที่ดีจากชาวบ้าน
ชาวบ้านเห็นความสำคัญของป่า ร่วมกันอนุรักษ์ ปลูกป่า ถางหญ้า ถางทางเตรียมรับไฟ ตรวจสอบคนรุกป่าแบบสม่ำเสมอ วันหนึ่งป่าที่สมบูรณ์จะกลับมา และของป่าที่เป็นคลังอาหารธรรมชาติที่พวกเค้าได้ข่วยกันดูแลและสร้างขึ้นจะเพิ่มขึ้น เป็นที่พึ่งให้ยามยาก ยามที่ขัดสน ยามที่ต้องการอาหารคุณภาพ ยามที่ไม่ต้องซื้อหา กำลังของชาวบ้านที่ดูแลมันมีมากกว่าเจ้าหน้าที่รัฐ Food Bank หรือ ธนาคารอาหาร ที่ยั่งยืนแบบนี้ต้องอาศัยชุมชนเป็นแกนหลัก
ภาพทีมสำรวจ ประกอบด้วย นายก อบต., ผู้ใหญ่บ้าน, ชาวบ้านดูแลป่า และทีม สวทช.
บันทึกนี้ขอเป็นบันทึก ณ วันที่ 11 ส.ค. 67 ถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนจะช่วยให้การอนุรักษ์นั้นเป็นไปอย่างยั่งยืน เพราะนั่นคือบ้านของพวกเค้า
👉 ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนการทำงานครั้งนี้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) สำหรับการเดินทางและจัดทำ Biobank Mushroom 🍄 ของชาวบ้าน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง 🎉
👉 ติดต่อเรา ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สวทช. โทร 025647000 ต่อ 71471
โฆษณา