12 ส.ค. เวลา 15:51 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วิกฤติเศรษฐกิจ 2024 VS วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง (1997)

อะเเฮ่ม...ระหว่างรอปั่นผ้าแห้ง มือก็เผลอสไลด์โทรศัพท์กดนู้น กดนี่ แล้วก็บังเอิญไปสะดุดเจอ มีการกล่าวถึงวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน และพลันไปนึกถึงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ในปี 1997 โดยสาเหตุของการเกิดวิกฤติของสองยุคอาจแตกต่างกัน แต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรงและสาหัสไม่ต่างกัน
💸วิกฤติต้มยำกุ้ง (1997) เป็นวิกฤติทางการเงินที่มาจากการจัดการเงินทุนและอัตราแลกเปลี่ยนที่ล้มเหลว นำไปสู่การล่มสลายของภาคการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม
#สาเหตุหลัก: เกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วด้วยการกู้ยืมจากต่างประเทศ และการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น เมื่อเศรษฐกิจเริ่มมีปัญหา การเงินการคลังที่ขาดความเสถียรและค่าเงินบาทที่แข็งค่าจนไม่สามารถรักษาความเสถียรได้ ทำให้รัฐบาลต้องยกเลิกการตรึงค่าเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ นำไปสู่การล่มสลายของหลายสถาบันการเงินและธนาคาร
#ผลกระทบ: ประเทศไทยเผชิญกับการล้มละลายของธุรกิจจำนวนมาก ค่าเงินลดลงมากกว่า 50% และต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF เพื่อนำเงินมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ
💸วิกฤติปี 2024 เกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นการปรับตัวที่ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกและเทคโนโลยี ทำให้เกิดการปิดกิจการและการว่างงานสูง
#สาเหตุหลัก: วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2024 เกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น การแข่งขันจากสินค้าจีนที่เข้ามาครอบงำตลาด, การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็วทำให้หลายอุตสาหกรรมไม่สามารถปรับตัวได้, และการหดตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้หลายกิจการต้องปิดตัวลงและเกิดการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก
#ผลกระทบ: แม้ว่าวิกฤติปี 2024 จะไม่ได้เกิดจากปัญหาทางการเงินโดยตรงเหมือนวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่การปิดตัวของโรงงานและการตกงานจำนวนมากก็ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
จากเว็บไซต์ Forbes thailand พาดหัวข้อบทความได้น่าสนใจว่า KKP Research (โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP)) วิเคราะห์ทางออกไทยเมื่อ ยอดปิดโรงงานพุ่ง 1,700 แห่ง กระทบจ้างงาน 42,000 ตำแหน่ง และทางเว็บไซต์ The standard พาดหัวข้อความแตกต่างกัน แต่ความหมายเดียวกันว่า ข่าวโรงงานทยอยปิดตัวไปทีละราย ปีนี้คนไทยตกงานแล้วกว่า 40,000 คน สัญญาณอันตรายกำลังบอกอะไร
อุตสาหกรรมที่น่ากังวล เพราะการผลิตหดตัวและโรงงานปิดตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ
-กลุ่มการผลิตเครื่องหนัง
-การผลิตยาง
-อุตสาหกรรมการเกษตร
-อุตสาหกรรมไม้ และการผลิตเครื่องจักร
‘ไม่ใช่แค่โรงงานปิด แต่โรงงานเปิดใหม่ก็ลดลงเช่นกัน’
โรงงานใหม่มีน้อยลง ในภาพรวมชะลอตัวลงอย่างมาก จากค่าเฉลี่ยที่เป็นบวกสุทธิประมาณ 150 โรงงานต่อเดือน ลดลงเหลือเพียง 50 โรงงานต่อเดือน
KKP Research มีความกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากต่อสถานการณ์อุตสาหกรรมไทยในระยะยาว ได้แก่
1) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น การเปลี่ยนผ่านสู่รถไฟฟ้า (EV) ที่มีสินค้าราคาถูกจากจีนไหลเข้าสู่ตลาดไทย
2) การแข่งขันที่มากขึ้นจากสินค้าจีน ปัจจุบันไทยขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งสินค้าหมวดยานยนต์ และ สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีต้นทุนต่ำกว่าสินค้าที่ผลิตในไทย
3) มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะหากทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจมีมาตรการกีดกันทางการค้าจากจีนและโลกเพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลให้การค้าโลกชะลอตัวลง และมีโอกาสที่สินค้าจากจีนจะทะลักมายัง ASEAN รวมถึงไทยเพิ่มขึ้น
จากเว็บไซต์ข่าว Amarin TV ประเทศฝั่งอาเซียน เริ่มออกมาตรการกีดกันสินค้าจีน ปกป้องผู้ผลิตในประเทศ
 
รัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกมาประกาศแผนตั้งกำแพงภาษีสูงสุด 200% สำหรับการนำเข้าสินค้าจีนบางประเภท เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ เพราะกังวลว่ารัฐบาลจีนจะหันมาทุ่มสินค้าราคาถูกใส่ หลังความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและชาติตะวันตกย่ำแย่ลงต่อเนื่อง ขณะเดียวกันอินโดนีเซียยังได้ประกาศลดกำแพงการค้ากับญี่ปุ่น
รัฐบาลมาเลเซียได้ออกมาประกาศว่าจะออกกฎหมายป้องกันการทุ่มตลาด (anti-dumping) ในปีหน้า เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจากการค้าที่ไม่เป็นธรรม ที่เกิดจากการทุ่มตลาด หรือการมุ่งส่งออกสินค้าราคาถูกเข้าไปในประเทศอื่นเพื่อครองตลาด
รัฐบาลเวียดนามก็ได้ออกมาประกาศสืบสวนการทุ่มตลาดของจีนเช่นเดียวกัน เพราะมองว่าจีนมีพฤติกรรมส่งออกเหล็กแผ่นม้วนราคาถูกจำนวนมากเข้าไปในเวียดนาม จนอาจเป็นการบิดเบือนราคาตลาด และทำให้ผู้ผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนส่งออกโลหะไปเวียดนามคิดเป็นถึง 11.9% ของมูลค่าการส่งออกโลหะของจีนทั้งหมดในช่วงเวลานั้น
นอกจากวิกฤติการตลาดภาคการผลิตแล้ว ยังพบผู้ประกอบการขนาดเล็ก เช่น แม่ค้าขายเสื้อผ้าจากที่เคยขายได้วันละ 50-60 ตัวต่อวัน ปัจจุบันขายได้วันละตัว เป็นภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างมาก
สุดท้าย หันมาดูสถานการณ์กำลังซื้อจากกระเป๋าตัวเอง ก่อนหน้านี้ เงินเดือน 15,000 บาท ใช้จ่ายแต่ละเดือนสามารถบริหารได้พอดี ไม่ขาดไม่เกิน แต่รอบ 1-2 เดือนหลังมานี้ บอกเลยไม่พอ ต้องยืมเงินฉุกเฉินมาใช้ และยังไม่คืนเลยนะ ด้วยความห่วงใยถึงเพื่อนๆ ชาวมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย คงต้องงดซื้อ งดผ่อนสินค้าที่รอได้ไปก่อนนะจ้ะ
สุดท้ายท้ายสุด ก็ต้องติดตามดูนโยบายของประเทศไทย จะขับเคลื่อนวิกฤติครั้งนี้ไปในทิศทางไหน
โฆษณา