13 ส.ค. เวลา 07:30 • ท่องเที่ยว
อินโดนีเซีย

เท้าสู้ฟัด “ซิเซ็มบะ” ประเพณีประเภณีทรงพลังแห่งโตราจา

ในยามเช้าตรู่ที่ม่านหมอกยังคงปกคลุมเทือกเขาในเขตติกาล่า จังหวัดโตราจาเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย แสงอาทิตย์สาดส่องทะลุผ่านหมอกลงมายังท้องทุ่งนาที่เพิ่งเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จหมาด ๆ ผู้คนทยอยกันมาชุมนุมที่นี่เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานในงานเลี้ยงฉลองการเก็บเกี่ยวประจำปี ที่เรียกว่า “ประเพณีซิเซ็มบะ” ประเพณีเฉพาะถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวโตราจา ที่ผู้คนจะมาเตะถีบกันเป็นหมู่คณะ
ในหมู่ผู้หญิงที่แต่งกายสวยงามมาร่วมงาน ต่างนำอาหารขึ้นชื่อของท้องถิ่นมาด้วยหลากหลายชนิด เช่น “ปียอง” หรือข้าวในกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของงานเลี้ยงร่วม ในอีกเทศกาลหนึ่งที่เรียกว่า “ประเพณีมาปียอง” ประเพณีอันทรงคุณค่าเหล่านี้ยังคงได้รับการอนุรักษ์และสืบสานกันอย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะในหมู่บ้านลูเดียน่า อำเภอติกาล่า เขตคันดีอาปิ จังหวัดโตราจาเหนือ สุลาเวสีใต้ ซึ่งจัดงานใหญ่ฉลองการเก็บเกี่ยวทุกปี
ในงานมีการเสิร์ฟอาหารพื้นเมืองหลากหลาย มีการแสดงระบำมาเกลลู และมีประเพณีตำข้าวที่เรียกว่า “ประเพณีมาลัมบุค” ซึ่งเป็นอีกไฮไลต์สำคัญของงาน แต่ที่ทุกคนตั้งตารอคอยมากที่สุดคือช่วงสุดท้ายของงานฉลอง นั่นคือ “ประเพณีซิเซ็มบะ” ซึ่งแปลว่าการเตะกันและกัน โดยผู้คนนับร้อยจากทั่วสารทิศจะมาชุมนุมกันในทุ่งโล่ง แล้วพากันเตะถีบกันไปมาอย่างดุเดือดโดยไร้กฎเกณฑ์
เมื่อในอดีตเคยมีคนได้รับบาดเจ็บกระดูกหัก แต่ความสนุกเร้าใจของการต่อสู้ก็ยังคงดึงดูดให้คนรุ่นหลังอยากเข้าร่วมไม่เสื่อมคลาย เมื่อการแสดงเริ่มขึ้น ผู้นำประเพณีท้องถิ่นจะยืนกล่าวสุนทรพจน์ตามธรรมเนียมที่เรียกว่า “มาปาร่าปะ” ซึ่งมีเนื้อหาถ่ายทอดคำสอนจากบรรพบุรุษ รวมถึงวิธีการทำนาที่ถูกต้องตามประเพณีซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงยึดถือมาจนถึงปัจจุบัน
จากนั้นก็จะเริ่มการแสดงระบำมาเกลลู ซึ่งเป็นสัญญาณว่าพิธีกรรมการเก็บเกี่ยวกำลังจะเริ่มขึ้น ระบำนี้สื่อถึงความชื่นชมยินดีและความกตัญญูต่อพืชพันธุ์ข้าว ส่วนประเพณีมาลัมบุค หรือการตำข้าวด้วยครก ก็เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของข้าว ยิ่งเสียงครกดังมากเท่าไร ศัตรูพืชก็ยิ่งหนีไปไกลเท่านั้น
เมื่อทุกอย่างพร้อม ผู้คนที่มาจากหลากหลายพื้นที่จะรวมตัวเป็นกลุ่ม ๆ และเตรียมต่อสู้ในประเพณีซิเซ็มบะ แต่ละคนจะผลัดกันเตะถีบอย่างรวดเร็วทันใจ เสียงตะโกนดังสนั่น ฝ่ายหนึ่งโจมตี ฝ่ายหนึ่งป้องกัน แม้การต่อสู้จะดูโหดเหี้ยมแต่ก็มีกติกา คือห้ามเตะคนที่ล้มลงแล้วต่อ และห้ามผูกใจเจ็บใส่กัน ทุกอย่างจบลงด้วยไมตรีจิตเสมอ
1
ถ้าผมโดนเตะเข้าเต็ม ๆ ร่างกายก็ต้องปวดซี้ดแน่ แต่มันเป็นความเสี่ยงที่ทุกคนต้องเจอ เพราะงั้นก็ไม่เป็นไร
โยฮานิส หนึ่งในผู้เข้าร่วมซิเซ็มบะเล่าอย่างอารมณ์ดี
1
ซิเซ็มบะต้องอาศัยแรงขาและจังหวะ เพื่อปล่อยเตะใส่คู่ต่อสู้ให้ล้มลง ผู้เล่นจะจับคู่และจับมือกัน เพื่อให้มีแรงมากขึ้น และพยายามโจมตีฝ่ายตรงข้ามจากหลายทิศทาง ในจังหวะเดียวกันก็ต้องระวังการโต้กลับด้วย
1
ชาวบ้านเชื่อกันว่าหากไม่จัดประเพณีนี้ การเก็บเกี่ยวในปีต่อไปจะล้มเหลว
1
โฆษณา