13 ส.ค. เวลา 15:51 • ความคิดเห็น
มันอาจเป็นมุมมองจากคนที่ยังรัก หนังสือ นะครับ
ในแง่ของการศึกษาผมว่ายังคงจำเป็นอยู่ เพราะมันมีทั้งรากเง่าการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเชิงประวัตติศาสตร์วัฒนธรรม เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ และอัตลักษณ์ ของงานกวีนิพนธ์ ในทุกๆภาษาเชื้อชาติและวัฒระธรรมที่หลากหลายในโลก
ในแง่ของการสร้างสรรค์ และผู้สรรค์ งานเชิงกวีนิพรธ์ หลักนั้น อาจมีน้อยลง แต่การใชศัพท์คำหรือประโยคให้ไพเราะหรือมีความหมาย สอดคล้องในอักขระหรือเสียง(โดยเฉพาะคนไทย) ยังไม่จางหายแน่นอน อาจพัฒนาในรูปแบบหรือใช้ในเชิงอื่น เช่นการใช้ประโยคใช้คำในบทเพลง ในการแร๊ป(ภาษาไทย) หรือในการโฆษณา หรือคำขวัญ คำคมซึ่งเหล่านี้มันอาจไม่ได้จัดอยู่ในหมวดหมู่ของกวีนิพธ์มาตรฐาน แต่มองได้เป็นกวีในแบบหนึ่ง(มั๊ง) และยังคงเห็นอยู่ในงานเชิงศาสนาและปรัชญา
1
ในด้านของผู้เสพ แม้จะเห็นว่าน้อยลง หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ แล้วยิ่งใน เจนใหม่ๆ แต่ใช่ว่าจะทิ้งหาย เท่าที่รู้จักเด็กๆ ยังมีผู้สนใจอยู่ นอกเหนือจากตำราที่บังคับเรียน และดูเหมือนโลกโซเชียลนี่แหละเป็นตัวกระตุ้นการเผยแผ่ (แม้บ้านของจุดกำเหนิด อาจด้อยค่ามัน) อย่างโคลงของสุนทรภู่ไปปรากฏที่สถานีรถไฟที่เกาหลี หรือที่เพื่อนบ้านอยากเคลม หรือในหลายที่รู้จักงานของเชคสเปียร์ หรือระพินนาฐ ฐากูล กวีหลี่ไป๋ (ถูกผิดหรือเปล่าไม่รู้ แค่ความเข้าใจส่วนตัว) หรืองานกวีนิพนธ์ของผู้คนอีกมากมายทั้งเก่าใหม่ในโลก ผ่านโลกออนไลน์
1
เอาแค่นี้แหละ เดี๋ยวยาวไป ยิ่งโง่ๆไม่ค่อยรู้อะไร ก็สักแต่จะพ่นไป ให้มั่วซั่วอยู่ไง
โฆษณา