Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สรุปหุ้น กองทุน ต่างประเทศ - BottomLiners
•
ติดตาม
14 ส.ค. 2024 เวลา 14:39 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้ไหมว่าญี่ปุ่นขึ้นดอกเบี้ยแค่นิดเดียว แต่มีคนขาดทุนมหาศาลเพราะเรื่อง Convexity
แล้ว Convexity คืออะไร??? Bond ดอกเบี้ยต่ำๆ ขึ้นนิดหน่อย เราก็ขาดทุนร้องไห้โฮ กันได้
.
ในบทความก่อนหน้า เราได้ทำความรู้จัก Duration ของตราสารหนี้กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
.
ซึ่ง Duration นั้นคือตัววัดความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ (Interest rate risk) นั้นเอง โดยหากอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนไป 1% ราคาของตราสารหนี้จะเปลี่ยนในทิศทางตรงข้าม “โดยประมาณ” เท่ากับค่า Duration ของตราสารหนี้นั้นๆ (อ่านต่อที่ลิ้งล่างโพสนี้)
ทำไมเราถึงใช้คำว่า “โดยประมาณ” น่ะหรือ??
เพราะเนื่องจากความสัมพันธ์ของราคาและอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ตามทฤษฏีนั้นเป็นเส้นโค้ง (ดูได้ตามภาพ) การคำนวน Duration เป็นเพียงค่าประมาณการจากหลักคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้สมการที่อธิบายการเปลี่ยนแปลงได้ครบถ้วนขึ้น จึงมีคนคิดวิธีทีจะปรับแต่งค่าที่ ได้จากการคำนวณสูตรดังกล่าวเพื่อให้ได้ค่าที่ ถูกต้องยิ่งขึ้นโดยมีการปรับส่วนต่างระหว่างเส้นตรงกับเส้นโค้งนั้น เรียกว่าค่า Convexity
เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงราคาตราสารหนี้ = การเปลี่ยนแปลงราคาจาก Duration + การเปลี่ยนแปลงราคาจาก Convexity
Convexity นั้นถือว่าเป็นเครื่องมือที่ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ใช้ในการวัดค่าความเสี่ยงตลาด (Market Risk) ของพอร์ตตราสารหนี้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากเปรียบเทียบตราสารหนี้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันและ Duration เท่ากันนั้นจะพบว่า
หากตราสารหนี้นั้นมีดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon) ยิ่งสูงจะยิ่งมีค่า Convexity ยิ่งต่ำ
ทำให้ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยนั้นลดลงตามไปด้วย
ในทางกลับกัน หากตราสารหนี้มีดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon) ยิ่งต่ำ จะยิ่งมีค่า Convexity ยิ่งสูง
หรือไม่มี เช่น Zero Coupon Bond จะยิ่งมีค่า Convexity ยิ่งสูง
ราคาของตราสารหนี้จะยิ่งมีความ Sensitive ต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยขึ้นนิดเดียวแต่ราคาตราสารหนี้ตกแรง) โดยเฉพาะในช่วงดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำแบบนี้ หากแค่ขึ้นเพียง 0.25% หรือ 0.5% เทียบเท่าดอกเบี้ยนั้นขึ้น 1 ถึง 2 เท่าตัวจากของเดิม (0-0.25% ของ Fed)
-ขณะที่ถ้าเทียบกับช่วงดอกเบี้ย Fed อยู่ในระดับสูง เช่น 3% การปรับเพิ่มขึ้นเพียง 0.25% หรือ 0.5% เท่ากันก็ไม่ได้เปลี่ยนสัดส่วนอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากสักเท่าไหร่
สำหรับใครที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมสามารถหาสูตรลองคำนวณดูเองได้ไม่ยาก โดยการคำนวณการเปลี่ยนแปลงราคาตราสารหนี้จาก Duration เมื่อถูกปรับด้วยค่าการเปลี่ยนแปลงราคาจาก Convexity แล้วจะทำให้การประมาณการณ์ราคาตราสารหนี้นั้นแม่นยำขึ้นอย่างมาก แต่ก็ยังไม 100% อยู่ดี
แต่เพื่อความสะดวกเราจึงนิยมใช้เพียงค่า Duration ในการประมาณการเปลี่ยนราคาหรือความเสี่ยงจากเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้นเอง
ซึ่งจะเห็นว่า ตราสารหนี้ที่อายุคงเหลือนาน จะมีค่า Duration สูง ซึ่งทำให้ราคาตราสารหนี้นั้นมีความอ่อนไหวสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (ราคาตราสารหนี้ระยะยาวจะลดลงแรงมากถ้าดอกเบี้ยขยับ)
ดังนั้นในช่วงแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น จึงควรลงทุนในตราสารหนี้ที่มี Duration ต่ำ (ตราสารหนี้ระยะสั้น) เพื่อลดโอกาสที่จะขาดทุนจากราคาตราสารหนี้ที่ต่ำลง
และในทางกลับกัน ช่วงแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงก็ควรเลือกลงทุนในตราสารหนี้ที่มี Duration สูงหรืออายุคงเหลือยาวๆ
อ่านต่อ ทำไมดอกเบี้ยขึ้นแล้วตราสารหนี้ราคาร่วง ? มารู้จัก Bond Duration !
https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/pfbid0DUvdARb5rFzWPKgefDKeiBKCUmybfBkrkBH4Jb6KkNZB1xijc8Dka1kAzc72j6jCl
BottomLiner
4 บันทึก
5
2
4
5
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย