15 ส.ค. เวลา 07:51 • การศึกษา

โรคซึมเศร้าอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด

กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า ในปี 2024 คนไทยกว่า 10 ล้านคนมีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อผู้ป่วยแต่ยังส่งผลต่อคนรอบข้าอย่างมาก จากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตหลายแฟลต์ฟอร์มชี้ให้เห็นว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อชีวิตหลายด้าน ทั้งการงาน การเงิน ความรัก ครอบครัว มิตรภาพและสุขภาพ เราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตเหล่านี้ และแก้ไขปัญหาอย่างยั่นยืนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและจิตใจ
ในบทความนี้ผู้เขียนจะแชร์วิธีในการปฏิบัติตัวเพื่อรักษาจิตใจให้มีความเข้มแข็งและมั่นคงมากขึ้น โดยใช้หลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเนื้อหาหลัก ก่อนจะนำมาเรียบเรียงใหม่ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงได้
ก่อนจะพูดถึงโรคซึมเศ้รา โรควิตกกังวลและโรคความผิดปกติต่างๆทางจิตใจ เราต้องเข้าใจก่อนว่ามนุษย์คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไร หลายคนอาจมีความสงสัยว่า เอ้า การรู้จักมนุษย์มันเกี่ยวกับการรักษาโรคซึมเศร้ายังไง หากจะอธิบายมันก็เหมือนช่างซ่อมรถที่ต้องเรียนรู้ว่ารถประกอบไปด้วย ล้อ ตัวถัง เครื่องยนต์ แบตเตอร์รี่ และอื่นๆอีกมากมายมาประกอบรวมกันและทำงานร่วมกันเป็นระบบ เวลารถมีปัญหา ช่างเขาจะรู้ได้ว่ารถเสียที่ตรงไหนเพราะก่อนหน้าเขาเรียนมาแล้วว่ารถที่ดีเป็นยังไง พอรู้แล้วว่ามันเสียที่ตรงไหนก็ซ่อมตรงนั้น
เช่นเดียวกัน หากเราต้องการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตเราก็ต้องทำความเข้าใจว่ามนุษย์เนี่ยคืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร พระพุทธเจ้าแบ่งมนุษย์ออกเป็น 5 ส่วนหรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 หากจะกล่าวบ้านๆก็คือ มนุษย์ที่เราเห็นเดินไปเดินมาเนี่ย ประกอบไปด้วยอะไหล่ 5 ชิ้น คือ
อะไหล่ชิ้นที่ 1. รูป หมายถึง ร่างกายส่วนที่จับต้องได้ เช่น พวกกล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท กระดูก ตับ ไต ไส้พุง หลอดเลือด น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองและอื่นๆอีกมากมาย
อะไหล่ชิ้นที่ 2. เวทนา หมายถึ งความรู้สึกซึ่งแบ่งออกเป็นสามอย่าง คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
อะไหล่ชิ้นที่ 3. สัญญา หมายถึง ความทรงจำ สิ่งที่เราจำได้ เช่น เราจำได้ว่าเมื่อ 10 ปีก่อนเราเคยเอาน้ำปลาฉีดไร่รังมด
อะไหล่ชิ้นที่ 4. สังขาร หมายถึง การปรุงแต่ง การคิดต่อยอด เช่น ราจำได้ว่าเมื่อ 10 ปีก่อนเราเคยเอาน้ำปลาฉีดไร่รังมด แต่สมองมันก็คิดต่อยอดไปว่า เราจะบาปไหมวะ ไอ้ที่คิด "เราจะบาปไหมวะ" ว่าตรงนี้แหละที่เป็นสังขาร
อะไหล่ชิ้นที่ 5 วิญญาณ หมายถึง ตัวรับรู้ รูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัสต่างๆ มันเป็นตัวที่ทำให้เรารับทราบว่า อะไหล่ 4 ชิ้นก่อนหน้านี้กำลังทำงานอยู่
มาถึงตรงนี้ อยากให้ทุกคนลองพิจารณาดูว่าอะไหล่ 5 ชิ้นนี้มีอะไรบ้าง สำหรับบางคนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรืออาจจะคิดว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องแนวปรัชญาที่ดูห่างไกล แต่ผู้เขียนอยากบอกว่ามันไม่ใช่ปรัชญา มันคือเรื่องจริงและใกล้ตัวพวกเราชนิดหายใจรดต้นคอเลยล่ะ แม้แต่ผู้เขียนและผู้อ่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ พวกเราต่างก็ถูกประกอบไปด้วยอะไหล่ทั้ง 5 ชิ้นนี้ทั้งหมด ทีนี้ผู้เขียนจะยกตัวอย่างการทำงานของอะไหล่ทั้ง 5 ชิ้นนี้อย่างละเอียด
เหตุการณ์ : ผู้เขียนเจอสาวที่ชอบ
อะไหล่ชิ้นที่ 1 (รูป) : หัวใจจะเต้นแรง เหงื่อออกที่มือ หายใจถี่เร็ว
อะไหล่ชิ้นที่ 2 (เวทนา) : มีความรู้ทุกข์ใจ
อะไหล่ชิ้นที่ 3 (สัญญา) : ผู้เขียนจำได้ว่ามักตัวเองมักจะถูกสาวสวยปฏิเสธเมื่อเข้าไปจีบ และจะเจ็บใจมาก
อะไหล่ชิ้นที่ 4 : (สังขาร) เกิดการคิดไปเองว่า หากเข้าไปจีบคนที่ชอบจะถูกปฏิเสธ และสุดท้ายก็จะเจ็บใจมาก (คิดไปเองล้วนๆ)
อะไหล่ชิ้นที่ 5 (วิญญาณ) : ผู้เขียนรับรู้การทำงานของอะไหล่ชิ้นที่ 1-4 ได้ อะไหล่ชิ้นที่ 5 ทำงานคล้ายๆเครื่องตรวจจับ
มาถึงตรงนี้บางท่านอาจจะเข้าใจมากขึ้น แต่บางท่านอาจจะยังงงอยู่ว่าเจ้าอะไหล่ทั้ง 5 ชิ้น มันทำงานยังไง ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีในการสังเกตการทำงานของอะไหล่ทั้ง 5 ชิ้นนี้ด้วยตัวเอง ขั้นตอนก็คือ ให้ท่านตั้งจิตว่าท่านจะท่องบทระลึกถึงพระรัตนตรัย โดยที่ไม่คิดอย่างอื่นเลย โดยท่องตามนี้
พุทโธเมนาโถ พระพุทธเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าเจ้า
ธัมโมเมนาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าเจ้า
สังโฆเมนาโถ พระสงค์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าเจ้า
ตอนที่ท่องให้สังเกตุอาการของตัวเองว่า รู้สึกอะไร มีความคิดผุดขึ้นไหม มีความทรงจำอะไรผุดขึ้นมาบ้าง มีการปรุงแต่งอะไรบ้างไหม มาถึงตรงนี้อยากให้ทุกคนลองระลึกถึลพระรัตนตรัยสัก 5 นาที
มาถึงตรงนี้ทุกคนคงได้ลองทำกันไปบ้างไม่มากก็น้อย คนที่สังเกตุดีๆจะพบว่า เจ้าอะไหล่ทั้ง 5 ชิ้นนี้ มันทำงานโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้เลย อย่างตอนที่ผู้เขียนเจอสาวที่ชอบ ผู้เขียนก็สั่งห้ามหัวใจไม่ให้เต้นแรงไม่ได้ และสั่งห้ามไม่ให้ตัวเองปรุงแต่งไม่ได้ (อะไหล่ชิ้นที่ 3)
การเป็นโรคซึมเศร้ามันเกิดจากอะไหล่ทั้ง 5 ผลิตอารมณ์ ความคิดในเชิงลบออกมามากเกินไป ซึ่งมันทำงานของมันเอง และเราไม่ได้ตั้งใจและไม่ได้ต้องการให้มันเกิด แต่คนที่ไม่มีสติจะจับเอาอารมณ์ลบๆนี้มาให้ค่าให้ความสำคัญ ส่วนคนที่มีสติเขาจะรู้ว่าอารมณ์เหล่านี้มีธรรมชาติของมันคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มันทำงานคล้ายๆกราฟพาราโบล่าคว่ำเลย ตอนแรกก็ค่อยๆมา พอผ่านมาสักพักอารมณ์เศร้ามันจะพุ่งสูงมาก แต่เมื่อผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว อารมณ์มันจะเริ่มคูลดาวนย์ลง และหายไปเอง
แต่แต่แต่แต่ ถ้าหากความเศร้ามันเกิดขึ้นแล้วเราอยากให้มันหายไป ไอ้กราฟอารมณ์ที่มันเหมือนพาราโบล่ามันก็จะพุ่งขึ้นใหม่ มันก็เคยกลายเป็นว่า เมื่อเราพยายามผลักไส มันยิ่งอยู่นานขึ้น ดังนั้นวิธีที่ถูกต้องคือให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย และยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นให้ทักอารมณ์จนมันหายไป โดยการทักอารมณ์ให้เราทำแบบนี้
นี่คือ ความเศร้า (อารมณ์ที่เรารู้สึก) ความเศร้ากำลังเกิดขึ้นกับจิต จิตกำลังมีความเศร้าเกิดขึ้น ความเศร้ากำลังปรุงแต่งจิต จิตกำลังถูกความเศร้าปรุงแต่งอยู่
ให้ท่องแบบนี้ย้ำๆซ้ำๆ จนกว่าความเศร้าจะหายไป
วิธีการฝึกนี้เป็นแนวทางของพระอาจารย์ต้น หากอยากศึกษาในเชิงลึกก็สามารถไปติดตามท่านได้ในยูทูป
โฆษณา