17 ส.ค. เวลา 03:51 • การศึกษา

มาเล่าเรื่องของคุณให้สนุกขึ้นด้วยการ “เล่าซ้ำ” เพื่อซ่อนปมสำคัญกันค่ะ 💬

เชื่อว่านักเขียนทุกคนนั้นมีไอเดียนิยายเจ๋ง ๆ ของตัวเองอยู่ในใจ แน่นอนว่ามันยากมากกว่าที่เราจะกลั่นกรองไอเดียนี้ออกมาได้ เราอยากจะเล่าต่อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Podcast นิยาย ฯลฯ แต่สิ่งที่ยากขึ้นไปอีกสำหรับนักเขียน นั่นก็คือการถ่ายทอดไอเดียนั้นออกมาให้เป็นนิยายที่ สนุก น่าสนใจ ชวนติดตาม จนนักอ่านวางไม่ลงนั่นเองค่ะ
ในเรื่องย่อ 1 เรื่องนั้น เราสามารถเลือกกลวิธีในการถ่ายทอดได้หลากหลาย เช่น บางคนใช้วิธีเล่าอดีต/ปัจจุบัน/อนาคต เป็นส้นตรง แต่บางคนมีการเล่าสลับช่วงเวลา หรือนิยายบางเรื่องก็เล่าปมปัญหาสำคัญเพื่อเปิดไปสู่เรื่องราวเบื้องหลังชวนติดตาม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับคนเขียนที่จะเลือกแบบไหน
โดยอาจจะใช้ประสบการณ์ จากการอ่าน ฟัง และดู เรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะมาจาก นิยาย ภาพยนตร์ ซีรีส์ หรือแม้แต่การเล่าข่าว ฟังการเล่าเรื่องตามช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้เราเลือกวิธีที่เหมาะสมกับเรื่องของเราในที่สุด ซึ่งในบทความนี้ก็มีหนึ่งวิธีที่อยากจะมาแชร์ให้ทุก ๆ คนค่ะ กับ...
↪️“เทคนิคการเล่าซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้ง”🔍
พลอตบางพลอตหากเราเล่าครั้งเดียวคงไม่สนุกเท่าเล่าซ้ำ นั่นก็เพราะคนเขียนตั้งใจที่จะเก็บซ่อนบางสิ่งไว้ภายใต้ความปกติของซีนแรก ซึ่งเรามักจะใช้การ ปู ชง ตบ เข้ามาช่วย เริ่มต้นนิยายจะปูเหตุการณ์สำคัญให้ดูทั่วไป หรือให้ดูมีเงื่อนงำบางอย่าง นั่นคือการ “ปูซ่อนปม” ในช่วงแรก จากนั้นจะมีการเล่าฉากสำคัญนั้นซ้ำ ๆ โดยการปรับมุมมองไปยังตัวละครต่าง ๆ บ้าง
หรือการให้เบาะแสเพิ่มเติมบ้าง เพื่อชง ให้คนอ่านเข้าใจไปพร้อม ๆ กับความอยากรู้ปมปริศนาเหล่านั้น จนกระทั่งในช่วงเฉลยปม เราจะเห็นมิติความจริงทุกอย่างผ่านการเล่าเรื่องซ้ำทั้งหมดให้เห็นภาพในฉากสุดท้าย เพื่อตบสิ่งที่เราเข้าใจให้เข้าที่
ยกตัวอย่างเช่น ในซีรีส์เรื่อง “The haunting of hill house” จะมีการพูดถึงเรื่องในวัยเด็กผ่านมุมมองของพี่น้องทั้งห้าคนที่เติบโตมาในบ้านอันเต็มไปด้วยปริศนา ความตายและความสยองขวัญ พวกเขาต่างก็เล่าในมุมของเขา และทุกคนจะเล่าถึงเรื่องหนึ่งเรื่องเดียวกันเสมอ นั่นคือ ห้องหลังประตูสีแดงชั้นบนสุดที่ไม่มีใครเข้าไปได้ ซีรีส์จะพาเราไปพบว่าห้องนี้ไม่มีกุญแจ ไม่มีใครเคยเข้าไป มีเสียงประหลาดในนั้น
จนกระทั่งวันหนึ่ง ประตูบานนั้นก็ได้เปิดจริง ๆ แต่ที่น่าสนใจนั่นก็คือ ในช่วงเฉลยปมปริศนาห้องประตูสีแดงนั้น ทั้งตัวละครและผู้ชมเพิ่งได้รู้ว่า พวกเขาเข้าห้องนั้นกันมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
หรือในเรื่อง “สืบสันดาน” ที่เริ่มต้นด้วยการตายของเจ้าสัว นำไปสู่การเปิดพินัยกรรมและแย่งชิงมรดกกันในครอบครัว ก็ใช้วิธีการเล่าซ้ำในคืนวันเกิดเหตุ ผ่านทั้งมุมมอง ลูกชายคนโต ลูกชายคนเล็ก และสาวใช้ผู้ได้จดทะเบียนสมรสกับเจ้าสัวก่อนเสียชีวิต เพื่อให้เราได้สังเกตถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ต่าง ๆ และบางคนก็อาจจะคาดเดาได้ ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ความสนุกลดลงเพราะเมื่อคนดูอยากรู้ไปแล้วก็มักจะดูต่อจนจบ
นี่ก็คือหนึ่งในกลวิธีที่เราจะสามารถ เล่าเรื่องให้สนุกขึ้นมาได้ ยังมีอีกหลายเทคนิควิธีการเล่าที่จะทำให้ไอเดียของคุณนั้นออกมาอย่างใจต้องการ เล่นสนุกกับคนอ่านให้ติดตาม กับคอร์ส “Workshop เทคนิคสร้าง Plot ซ่อมปมปริศนาให้น่าอ่าน”
สอนโดย พี่พราว พัชสนันท์ รัตน์บำรุงสุข
คอร์ส เทคนิคการสร้าง Plot สร้างปมปริศนาให้น่าอ่าน
คอร์สนี้จะทำให้คุณได้ลีลาการวาง Plot และเทคนิคการเรียบเรียง Treatment ที่ซับซ้อนและมีไดนามิกยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นนักเขียนแนวสืบสวนเท่านั้น เพราะเรื่องทุกแนวล้วนมี "ปม" ชวนให้คนอ่านสงสัยและต้องการติดตามต่อทั้งสิ้น
.
📌สนใจสมัครได้ที่ https://storybowl.co/courses/workshop-hidden-clues/
💬สอบถามเพิ่มเติม : m.me/storybowlsociety หรือ Line OA : @Storybowl
แล้วมาพัฒนาการเล่าเรื่องของคุณให้สนุกขึ้นไปด้วยกันนะคะ
โฆษณา