17 ส.ค. เวลา 05:15 • ความคิดเห็น
ช้าก่อนนักปราชญ์หนุ่มรูปงาม ขึ้นชื่อว่าหลักการก็คือหลักการค่ะ ขึ้นชื่อว่าอุดมการณ์ก็คืออุดมการณ์นะคะ แต่หลักการและอุดมการณ์ดังกล่าวก็จะต้องเป็นที่ยอมรับด้วยนะคะ ซึ่งหากเรายึด 2 สิ่งนี้ไว้ไม่ได้ มันจะมีเหตุอยู่เพียง 2 อย่างเท่านั้น คืออย่างแรก หลักการและอุดมการณ์นั้นดันไปอยู่ผิดที่ผิดทาง (Out of place) หรือไม่ก็อย่างที่สอง คือไร้วาสนา (Out of luck) มันเป็นเรื่องของธรรมะจัดสรรค่ะ
แต่อยากสะกิดให้ตั้งข้อสังเกตสักนิดค่ะ คำว่าหลักการของตนเอง อาจหมายถึง "หลักกู" ก็ได้นะคะ และมันก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรือเลวร้ายอะไรด้วยที่จะใช้หลักนี้ แต่หลักประเภทนี้นั้น จะนำมาใช้โดยลำพังก็หาได้ไม่ จะต้องอาศัยทั้งความรู้ วิสัยทัศน์ ประสบการณ์ ไหวพริบปฏิภาณ เงินตราและอำนาจบารมีด้วย จึงจะสำเร็จได้ จริงไหมคะ?
ยกตัวอย่าง การใช้ "หลักกู" ซึ่งผู้จะใช้หลักกูนี้ได้ ก็มักจะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของกิจการห้างร้าน เจ้าของทรัพยากร หรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่เชื่อลองอ่านสิ่งที่มัลคอม แกลดเวล พูดถึง "กุญแจสำคัญในการตัดสินใจที่ดีที่สุด" มันคือหลักกูชัดๆ นะคะ
The key to good decision making is not knowledge.
It's understanding. We are swimming in the former.
We are desperately lacking in the latter.”
Malcolm Gladwell
1
ต่อให้มีความรู้ท่วมหัว หลักการท่วมตัว อุดมการณ์ท่วมท้น แต่ไม่สามารถทำความเข้าใจมัน หรือธรรมชาติของผู้คน หรือกฎธรรมชาติรอบตัวได้อย่างลึกซึ้งถ่องแท้ ว่าควรจะใช้ตอนไหน ใช้กับใคร ใช้กับอะไร ใช้ยังไง กับแต่ละสถานการณ์ใด มันก็ป่วยการค่ะ เพราะสถานการณ์ในชีวิตแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย ดังนั้นการตัดสินใจที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะสูญจะเสียอะไรใดๆ ก็คือการต้องประยุกต์ใช้มันทุกอย่างนั่นแหละ
ก็แค่คิด และทำไม่หยุด
เพื่อให้มันดีที่สุด ในจุดที่ยืน
แต่หากเพราะชะตาฟ้า มิอาจฝืน
ก็อย่าเสียเวลายืนร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
(ท่อนสุดท้ายหยิบมุขมาจากตลกคาเฟ่ค่ะ)
นมัสเต!
1
โฆษณา