19 ส.ค. เวลา 13:47 • สุขภาพ

สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาจากแผนกศัลยกรรม

โดยมีอาการปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดจากเข่าเสื่อม อาการปวดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มักจะได้รับยาแก้ปวด หลายชนิด เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มลดการอักเสบกลุ่ม NSAIDs  ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาแก้ปวดอื่นๆ ซึ่งแพทย์มักจะบอกให้กินตามอาการ
ตัวอย่าง จากผู้ป่วยรายนึง ได้รับยาแก้ปวด-กลุ่ม NSAIDs - นาพรอกเซน (naproxen) -ยาคลายกล้ามเนื้อ - มัยโดคาล์ม (mydocalm) 
-ยาแก้ปวด - ทรามาดอล (tramadol) 
-ยาพาราเซตามอล แพทมันจะระบุให้เป็น 1 เม็ดเวลาปวด ทุก 4-6 ชั่วโมง
-ยาแก้ปวดปลายประสาทอักเสบ-กาบาเพนติน (gabapentin)
สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาแก้ปวดหลายชนิดแบนี้ ไม่สามารถบอกเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวได้ว่าควรจะกินแบบไหนดี เพราะ อาการปวดสำหรับคนไข้อาจจะไม่เท่ากัน และพื้นฐานโรคประจำตัวของคนไข้ก็แตกต่างกัน
ส่วนตัวที่แนะนำสำหรับคนไข้รายนี้ จะให้ทานสลับกัน เภสัชกรท่านอื่น ก็อาจจะแนะนำแตกต่างไปจากนี้
-ปวดเริ่มต้น ก็ให้กินยาคลายกล้ามเนื้อก่อน เพราะผลข้างเคียงน้อย อาจจะแค่ง่วง นิดหน่อย หรือ พาราสัก 1 เม็ด ( ถ้ายาคลายกล้ามเนื้อมีพาราผสมอยู่แล้วเช่น นอร์เจสิค ก็ไม่ต้องกินพาราค่ะ)
-ถ้าปวดเพิ่มขึ้น หรือมีอาการบวมอักเสบร่วมด้วย  ก็ทานยานาพรอกเซนเพิ่ม หลังอาหารทันที
หมายเหตุ ถ้าผป. มีปัญหาเรื่องโรคกระเพาะหรือเรื่องโรคไต หรือแพ้ NSAIDs หลายชนิด แพทย์มักจะเลี่ยงยากลุ่มนี้
-พาราเซตามอลกินเสริมได้ในระหว่างมื้อ ในกรณีที่มีอาการปวดมากขึ้น แต่เนื่องจาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้ เป็นโรคเรื้อรัง อาจจะต้องรับประทานยาต่อเนื่องนาน ต้องระวังไม่รับประทานยาพาราเซตามอลมากเกินไป เพราะอาจจะมีผลต่อตับ
-ทรามาดอล ให้เสริมในกรณีที่ปวดรุนแรงจริงๆ หรือ แต่ถ้า มีอาการข้างเคียงจากยาทรามาดอล คลื่นไส้เวียนหัวมาก อาจจะปรึกษาแพทย์เปลี่ยนเป็นยาตัวอิ่น เช่น ยาพาราเซตามอลบวกโคดิอีน
-ส่วนยากาบาเพนติน ใช้สำหรับ#อาการปวดจากปลายประสาทอักเสบ เช่น ปวดชาๆ ปวดแปล๊บๆ ปวดจี๊ด จะต่างจากยาแก้ปวดตัวอื่น แนะนำให้รับประทานต่อเนื่องได้นานค่ะ จนอาการปวดดีขึ้น คุณหมอก็จะค่อยๆลดยาลงเอง
#สรุป เนื่องจากอาการปวดของแต่ละคนไม่เหมือนกันค่ะ การแนะนำจึงอาจจะแตกต่างกันบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทานสลับๆกันไป  ตามระดับความรุนแรงของอาการปวด ซึ่งผู้ป่วยจะเป็นคนประเมินเองได้ดีที่สุดค่ะ ☺
.
.
เล่าเรื่องโดย ภญ.สุพนิต วาสนจิตต์(พี่บุ๋น)
โฆษณา