Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Reporter Journey
•
ติดตาม
20 ส.ค. เวลา 03:51 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ภาพสะท้อนความรู้สึกประชาชน
"หอการค้าไทยเผย คนไทยยังไร้ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว ดัชนี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง 5 เดือนติด ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน ต่อให้คนมีเงินเป็นล้านก็ไม่กล้าใช้จ่าย แถมส่งออกกลับมาติดลบอีกครั้ง ขาดดุลการค้าพุ่ง"
เมื่อช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยโดยสภาพัฒน์พึ่งมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจประจำไตรมาสที่ 2/67 โดยเศรษฐกิจประเทศไทยประจำไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 2.3% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ทำได้ที่ 1.5% ซึ่งเป็นตัวเลขที่เหนือการคาดการณ์ของใครหลายคน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ประกอบการหรือนักเศรษฐศาสตร์แปลกใจมากนัก ตอนนี้เศรษฐกิจไทยกำลังดีขึ้นอย่างนั้นหรือเมื่อตัวเลขสะท้อนออกมาแบบนี้ ?
เช่นนั้นแล้ว Reporter Journey ขอพาไปดูหนึ่งในตัวชี้วัดที่สะท้อนภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยตรงจาก ‘ความรู้สึกของประชาชน’ ได้แก่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค คือดัชนีที่แสดงถึงทัศนคติของผู้บริโภคต่อตลาดแรงงาน ภาวะเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายในอนาคต โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง หากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจในอนาคตยังคงมีแนวโน้มที่ดี ผู้บริโภคจะใช้จ่ายและลงทุนเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นไปด้วย ในทางกลับกันหากผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่น กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตก็จะลดลงตาม
ครั้งหนึ่ง ‘รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย’ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เคยอธิบายเกี่ยวกับดัชนีผู้บริโภคไว้ว่า ถ้าดัชนีผู้บริโภคต่ำ ต่อให้มีเงินในกระเป๋า 1 ล้านบาทก็ไม่กล้าใช้ กลับกัน ถ้าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูง ถึงจะมีเงินแค่เพียง 100 บาท คนก็กล้าจับจ่ายใช้สอย
เช่นนั้นแล้วตอนนี้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประเทศไทยล่าสุดเป็นอย่างไรบ้าง
เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและหอการค้าไทย ได้ทำการสอบถามประชาชนทั่วประเทศไทยจำนวน 2,244 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 40.2% และกลุ่มตัวอย่างต่างจังหวัด 59.8%
จากผลสำรวจพบว่าตอนนี้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคม ‘ปรับตัวลดลง’ อยู่ที่ระดับ 57.7 (ค่าเต็ม 100) และเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาเป็นเดือนที่ 5 และต่ำสุดในรอบ 11 เดือน
ประชาชนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับที่แย่ และกำลังรู้สึกว่าตอนนี้โอกาสในการหางานทำเป็นเรื่องที่ยาก รู้สึกว่าการจ้างงานในปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติบนความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี แต่จากการสำรวจนี้ก็ชี้ให้เห็นเช่นกันว่าในอนาคตประชาชนมีความเชื่อว่าสถานการณ์การจ้างงานนี้จะดีขึ้น
โดยเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้ผู้บริโภคกังวลและมีดัชนี้ความเชื่อมั่นน้อยลงจนต่ำสุดในรอบ 11 เดือน เป็นผลมาจาก
1.ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า เจอปัญหาค่าครองชีพ และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่ารายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น
2.การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายนลดลงจนกลับมาติดลบในรอบ 3 เดือน สวนทางกับการนำเข้าทำให้ส่งผลให้ประเทศไทยขาดดุลการค้ารวม
3.ความกังวลต่อสถานการณความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตรของโลกที่ระอุทั่วโลก ไม่ว่าจะจากรัซเซีย-ยูเครน และอิสราเอล-ฮามาส
4.ความกังวลเกี่ยวกับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ และความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมืองในปัจจุบันและอนาคต
5.ประชาชนยังไม่เห็นมาตการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนจากรัฐบาล นอกเหนือจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเมื่อแยกตามภูมิภาคทั่วประเทศไทยจะยังพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในทุกภาคปรับตัวลดลงทุกรายการ เรื่องนี้กำลังสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนไทยทั่วประเทศกำลังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยลดลงเรื่อย ๆ
และจากวันนี้ที่สภาพัฒน์ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับเศรษฐกิจและอุตสหกรรมต่าง ๆ ของไทยประจำไตรมาสที่ 2 รายงานดังกล่าวเปิดเผยว่าการลงทุนจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนหดตัวลดลง 6.2% จนส่งผลให้การลงทุนรวมของประเทศลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ซึ่งเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ เรื่องที่น่ากังวล เพราะปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในภาวะ Under Investment ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
จากนี้ต้องจับตานโยบายต่าง ๆ จากรัฐบาลว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางของนโยบายเรือธงอย่าง ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ หรือไม่ หรือแม้แต่นโยบายเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่กำลังจะออกมาภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ว่าจะสามารถฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเศรษฐกิจประเทศได้หรือไม่ หรือจะทำให้แย่ลง เรื่องนี้ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด
บันทึก
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย