20 ส.ค. เวลา 05:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

รู้หรือไม่ กิ้งก่าไม่ได้เปลี่ยนสีเพื่ออำพรางตัว

เราเติบโตมาโดยคิดว่ากิ้งก่าสามารถกลมกลืนไปกับฉากหลังได้ทุกประเภท แต่คุณอาจสงสัยว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ วันนี้เรามาดูคำตอบกัน
ภาพจาก:https://images.app.goo.gl/4i4LGzpdfrrvsNBY7
ก่อนอื่นเลยที่สงสัยคือกิ้งก่าเปลี่ยนสีได้อย่างไร คำตอบคือเซลล์ในร่างกายของกิ้งก่าที่เรียกว่า"เมลาโนฟอร์" และ "อิริโดฟอร์" ซึ่งอยู่ในชั้นลึกของผิวหนัง โดยเมลาโนฟอร์เป็นเซลล์ที่มีเมลานิเป็นเม็ดสีในผิวหนังของกิ้งก่า (และของเรา)ทำให้กิ้งก่ามีสีสัน
ชั้นผิวหนังเมลาโนฟอร์และอิริโดฟอร์(ภาพจาก:https://images.app.goo.gl/daykeJbtYeMyuon8A)
เมลานินในเมลาโนฟอร์สามารถควบแน่นเข้าหากันเพื่อทำให้สีเข้มขึ้น หรือกระจายออกเพื่อทำให้สีจางลง ส่วนอิริโดโฟร์เป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายผลึกเรียกว่า"นาโนคริสตัล" จะรวมตัวกันเป็นโครงตาข่ายซึ่งสามารถเรียงตัวกันอย่างหลวมๆ หรือแน่นขึ้นได้เมื่อนาโนคริสตัลเคลื่อนตัวเข้าหาหรือออกจากกัน
ถ้าเรียงตัวกันอย่างแน่นหนาจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินและสีเขียว ทำให้เป็นสีที่เรามองเห็น ในขณะที่แสงสีแดงและสีเหลืองจะผ่านนาโนคริสตัลไปได้ โครงตาข่ายที่หลวมกว่าจะเกิดผลตรงกันข้าม โดยสะท้อนแสงสีแดง สีส้ม และสีเหลือง ในขณะที่ให้แสงสีน้ำเงินและสีเขียวทะลุผ่านได้
ภาพซ้าย:ผลึกนาโนรวมตัวกัน,ภาพขวาผลึกนาโนกระจายออกจากกัน(ภาพจาก:https://images.app.goo.gl/rJUzinJ6Pdx43hQK8)
แล้วทำไมกิ้งก่าถึงเปลี่ยนสี? กิ้งก่าเปลี่ยนสีโดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ เช่น เปลี่ยนสีเพื่อสะท้อนความโกรธ แต่เพื่อสะท้อนความปรารถนาที่จะผสมพันธุ์หรือต่อสู้กับตัวผู้ของฝ่ายตรงข้าม หรือเพื่อแสดงการยอมจำนนต่อผู้ที่อาจมองว่าพวกมันเป็นภัยคุกคาม เมื่ออยู่ในสภาวะผ่อนคลาย กิ้งก่าจะดูเป็นสีเขียวหรือน้ำตาล เเต่ถ้ากิ้งก่ารู้สึกตื่นเต้น เช่น เมื่อพยายามต่อสู้กับคู่ต่อสู้หรือดึงดูดคู่ผสม จะแสดงสีแดงและเหลืองที่สดใสกว่า
สีของกิ้งก่าเมื่อรู้สึกผ่อนคลาย(ภาพจาก:https://images.app.goo.gl/k5ZCMXezESUVBbh76)
สีของกิ้งก่าเมื่อรู้ตื่นเต้นหรือต้องการคู่(ภาพจาก:https://images.app.goo.gl/Pz9MdVharTaWshZw6)
อีกทั้งการแสดงออกที่สดใสเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของความแข็งแกร่ง เนื่องจากตัวผู้ที่อ่อนแอกว่ามักจะมีสีที่จืดชืด ความเร็วและความสว่างของการเปลี่ยนสีมักจะทำนายได้ว่ากิ้งก่าตัวใดจะชนะในการต่อสู้ (และคู่ต่อสู้ที่อ่อนแอกว่ามักจะยอมแพ้ก่อนที่การต่อสู้จะเริ่ม) เมื่อกิ้งก่าเริ่มมีความรู้สึกยอมแพ้ เช่น พยายามแสดงให้เห็นว่าไม่ได้เป็นภัยคุกคาม สีหน้าของกิ้งก่าก็จะเข้มขึ้นนั่นเอง
และกิ้งก่ายังเปลี่ยนสีเพื่อช่วยให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิหรือแสงที่เปลี่ยนไปอีกด้วย เนื่องจาก กิ้งก่าไม่สามารถสร้างความร้อนในร่างกายได้ ทำให้กิ้งก่าที่อากาศหนาวอาจเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มขึ้นเพื่อดูดซับความร้อนและทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นนั่นเอง
อ้างอิง
โฆษณา