Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
22 ส.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
ทีทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน
"นางอั้วแก้มช้ำ" กล้วยไม้ดินในอุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล
นางอั้วแก้มช้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝙃𝙖𝙗𝙚𝙣𝙖𝙧𝙞𝙖 𝙧𝙤𝙨𝙩𝙚𝙡𝙡𝙞𝙛𝙚𝙧𝙖 𝗥𝗰𝗵𝗯. 𝗳. วงศ์ : 𝗢𝗿𝗰𝗵𝗶𝗱𝗮𝗰𝗲𝗮𝗲
นางอั้วแก้มช้ำ เป็นกล้วยไม้ดิน หัวใต้ดินค่อนข้างกลม ต้นเทียมเหนือดินสูง 5 - 10 ซม. ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม แผ่นใบค่อนข้างยาว แต่อวบน้ำ มี 4 - 5 ใบ เรียงตัวเวียนรอบต้น ขนาดใบกว้าง 1 - 1.5 ซม. ยาว 5 - 8 ซม.
ดอกออกจากปลายยอด เป็นช่อตั้ง ช่อดอกสูง 12 - 20 ซม. ก้านช่อมีใบประดับสีเขียวรูปร่างคล้ายใบแต่ขนาดเล็กกว่าเรียงตลอดช่อ ใบประดับยาว 2 - 4 ซม. ดอกย่อยเรียงตัวเวียนสลับค่อนข้างแน่นออกค่อนไปทางปลายช่อปลายช่อ จำนวนดอกในช่อ 10 - 15 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีส้มอมชมพู หรือสีชมพูอ่อนและมีแต้มสีน้ำตาลเข้ม ปลายกลีบสีเขียวอ่อน กลีบปากสีส้มอมชมพูหรือสีชมพูอ่อน กลีบปากแยกเป็นสามแฉก แฉกข้างตั้งฉากกับแฉกกลาง ดอกบานเต็มที่กว้าง 1 - 1.5 ซม. ฤดูออกดอก อยู่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ขึ้นตามพื้นดิน ตามทุ่งหญ้า หรือปนกับไม้ล้มลุกอื่นในที่ค่อนข้างโล่งในป่าดิบ พบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตก
📸 : ฝ่ายศึกษาวิจัยและกิจกรรมพิเศษ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
ที่มาข้อมูล : หอพรรณไม้ Forest Herbarium - BKF
#นางอั้วแก้มช้ำ #อุทยานแห่งชาติทะเลบัน #สตูล #กรมอุทยานแห่งชาติ
สื่อทางเลือก
อุทยานแห่งชาติ
ธรรมชาติ
บันทึก
3
2
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย