21 ส.ค. เวลา 06:42 • ข่าว

ด่วน ! พบฝีดาษวานรรายแรกของประเทศไทย ที่คาดว่าเป็นสายพันธุ์ Clade I ที่ระบาดในคองโก

กรณีฝีดาษวานร ที่เป็นข่าวคราวไปทั่วโลก พอจะสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1
1) 13 สค.2567 ACDC หน่วยงานทางสาธารณสุขของแอฟริกา ได้ประกาศให้ฝีดาษวานร (Mpox) เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
อ่านเพิ่มเติม https://www.blockdit.com/posts/66bc3020a8903c2088c7d4b1
2) 14 สค.2567 WHO : องค์การอนามัยโลก ประกาศให้ฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเช่นกัน เพราะพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ Clade I ซึ่งมีความรุนแรงกว่า Clade II ในประเทศคองโกและประเทศเพื่อนบ้าน เฉพาะปี 2567 ติดเชื้อกว่า 15,000 ราย เสียชีวิตไปกว่า 500 ราย
อ่านเพิ่มเติม https://www.blockdit.com/posts/66bd647a28804885f3be78a8
3
3) 21 สค.2567 กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการแถลงว่า พบผู้ป่วยฝีดาษวานรรายแรกของประเทศไทย ที่สงสัยว่าเป็นเชื้อไวรัส Clade I ซึ่งพบในคองโก โดยเป็นผู้ชายชาวยุโรป อายุ 66 ปี (จะยืนยันผลการวินิจฉัย 100% ในวันศุกร์ที่ 23 สค.67 นี้)
1
ชายชาวยุโรปคนดังกล่าว เดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของฝีดาษวานร Clade I และเดินทางผ่านประเทศตะวันออกกลางเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 สค.67 เวลา 18:00 น.
หลังจากนั้นในวันรุ่งขึ้น 15 สค.67 ชายคนดังกล่าว มีอาการไข้และมีตุ่มขึ้น จึงเดินทางไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล และได้รับการตรวจวินิจฉัยจากคุณหมอของโรงพยาบาลดังกล่าว
หลังจากได้รับการยืนยันว่าเป็นฝีดาษวานรแล้วทางการของไทยก็ได้ทำการสอบสวนและควบคุมโรค โดยได้ติดตามผู้โดยสารที่เดินทางมาเที่ยวบินเดียวกันและอยู่แถวใกล้เคียงกันจำนวน 43 ราย ซึ่งจะต้องติดตามอาการไปทั้งสิ้น 21 วัน ตามระยะเพาะเชื้อ
สำหรับประเทศไทยเรามีผู้ติดเชื้อฝีดาษวานร Clade II ในปี 2565 จำนวน 800 รายเศษ และในปี 2567 อีก 100 รายเศษ แต่ยังไม่เคยตรวจพบเชื้อก่อโรค Clade I พบในผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ และพบในกลุ่มชายรักชายที่ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์
4) ไวรัสสายพันธุ์ Clade II มีความรุนแรงน้อย มีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 1% พบการระบาดไปทั่วโลกในปี 2565 รวมทั้งประเทศไทยด้วย
5) ไวรัสสายพันธุ์ Clade I โดยเฉพาะ Ib มีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าคือประมาณ 3-5% พบเริ่มต้นที่คองโกและแพร่ระบาดไปหลายประเทศในทวีปแอฟริกา
1
6) อาการของผู้ติดฝีดาษวานร จะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีผื่น หรือเป็นตุ่มน้ำใสแล้วเปลี่ยนเป็นหนองตามผิวหนัง และพบได้บริเวณอวัยวะเพศด้วย
7) การป้องกัน
7.1 ไม่สัมผัสกับผู้ที่มีผื่นหรือตุ่มหนอง ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นฝีดาษวานร
7.2 หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่รู้จัก
7.3 ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
7.4 หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
7.5 เมื่ออยู่ในที่เสี่ยงหรือมีความแออัด ให้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันไว้
ทั้งนี้การติดต่อเกิดจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ซึ่งหมายถึงน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ตลอดจนของเหลวจากตุ่มน้ำใสหรือหนองจากตุ่มหนองที่บริเวณผิวหนัง
อย่างไรก็ตาม ฝีดาษวานรไม่ได้ติดต่อได้ง่ายเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่หรือโควิด 19 แม้จะติดต่อกันได้ทางสารคัดหลั่ง คือ น้ำมูก น้ำลายเสมหะก็ตาม
คาดว่าการควบคุมฝีดาษวานรในประเทศไทยและในประเทศอื่น จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป
Reference
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา