23 ส.ค. เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Weekly Market EP.79 by AIAIMT – มาอัปเดตข่าวสารตลาดทุนรอบโลก

Weekly Market Update by AIAIMT / 9 August 2024 – 16 August 2024
EP.79: อัปเดตข่าวสารตลาดทุน โดย บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) / 9 สิงหาคม 2567 – 16 สิงหาคม 2567
ภาพรวม Index
“สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นหลัก ปรับตัวขึ้น
ไทย: แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 เป็นที่เรียบร้อย; สภาพัฒน์ฯ ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส2/2567 โตขึ้น 2.3%
สหรัฐฯ: ประธาน Fed สาขาต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน 2567
📌 ปัจจัยบวก :
• สภาพัฒน์ฯ ระบุ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2567 ขยายตัว 2.3% เร่งขึ้นจาก 1.6% ในไตรมาส 1/2567 รวมครึ่งแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ที่ 1.9% ส่วนทั้งปียังคงคาดการณ์ GDP ขยายตัว 2.5% แต่ปรับกรอบแคบลงเป็น 2.3-2.8 % (จากเดิมคาดโต 2-3%)
• ประธานกรรมการหอการค้าไทยแสดงความยินดีกับ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ที่ได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ซึ่งในมุมมองของหอการค้าไทย ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี ที่สภาฯ มีมติเห็นชอบนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เชื่อว่าจะมีส่วนช่วยให้ความเชื่อมั่นกลับมาได้อย่างรวดเร็ว
• ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา และ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก พร้อมพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน กันยายน 2567 โดยระบุว่าเฟด ไม่มีเวลามาชักช้าในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน และมองว่าเหมาะสมที่เฟดจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากระดับปัจจุบันที่ 5.2%-5.5%
• ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน ให้คำมั่นว่าจะเดินหน้าสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ยังคงมีท่าทีระมัดระวังที่จะไม่ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากจนเกินไป
• ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายหลังการตัดสินใจของนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นที่จะก้าวลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น คาดว่าจะทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นชะลอแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับใกล้ 0% แทนที่จะหยุดชะงักโดยสิ้นเชิง
📌 ปัจจัยลบ :
• Bloomberg รายงานความเห็นของนักวิเคราะห์เกี่ยวกับทิศทางตลาดหุ้นไทยและเงินบาท โดยส่วนใหญ่แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของความไม่แน่นอนทางการเมือง ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติถอดถอนนายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี
• นักลงทุนต่างชาติอาจเริ่มหันเหออกจากพันธบัตรของรัฐบาลไทย เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายคุมเข้มด้านการเงินเป็นเวลานานกว่าธนาคารกลางของประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย นอกจากนี้ ความเสี่ยงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นในประเทศยังทำให้ความน่าดึงดูดของพันธบัตรไทยลดน้อยลงด้วย
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุศักยภาพในการเติบโตของไทยมีขีดจำกัดจากปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนทางการเมืองและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อย ๆ ยิ่งซ้ำเติมให้ปัญหาเพิ่มขึ้นไปอีก กระทบต่อผู้เดือดร้อนทางเศรษฐกิจที่รอมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาล และทำให้นักลงทุนระยะยาวลังเลในการตัดสินใจลงทุนจากปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง เกิดความไม่ต่อเนื่องของการบริหารและนโยบายของรัฐบาล
เริ่มวางแผนการเงินระยะยาว กับ AIA InvestPro บริการผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยดูแลการลงทุนจาก AIA และ บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) ผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ ที่เหมาะกับคุณได้แล้ววันนี้
ติดต่อตัวแทน เอไอเอ หรือดูรายละเอียดได้ที่ : https://www.aia.co.th/th/our-products/save-invest/unit-linked
หมายเหตุ: ข้อมูลอ้างอิงจาก สำนักข่าวอินโฟเควสท์ www.infoquest.co.th, บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2567 ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป ผู้ใช้ต้องใช้ความระมัดระวังด้วยวิจารณญาณและรับผิดชอบในความเสี่ยงต่างๆ ด้วยตนเอง
คำเตือน:
• ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจรายละเอียด เงื่อนไข ความคุ้มครองและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย รวมทั้งศึกษาทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงจากการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
• ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่ https://www.blockdit.com/aiathailand

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา