Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
finvestory
•
ติดตาม
21 ส.ค. 2024 เวลา 08:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุป ผลการประชุม กนง. ครั้งที่ 4/2567 มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5%
ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 3/2567 ในวันที่ 21 สิงหาคม 2567 คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เอาไว้ที่ 2.5% ต่อปี
กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจที่โน้มเข้าสู่ศักยภาพและการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ดี ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อภาวะการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม
ในขณะที่กรรมการ 1 ท่าน เห็นว่าควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 BPS เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนขึ้น และจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ได้บ้าง
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยโดยรวมจากมุมมองของคณะกรรมการนโยบายการเงิน
●
เศรษฐกิจไทยขยายตัวตามที่คาดการณ์ไว้ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ภายในประเทศ
●
การส่งออกสินค้ายังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยบางกลุ่มสินค้ายังเผชิญกับปัญหาการแข่งขัน
●
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงและคาดว่าจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567
●
ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะคุณภาพสินเชื่อครัวเรือนที่ปรับตัวแย่ลง
ส่วนปัจจัยที่ยังคงต้องจับตา ได้แก่
1.
การฟื้นตัวของภาคการผลิต โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่มีปัญหาหนี้สิน
2.
การบริโภคภาคเอกชน จากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา
3.
ความเสี่ยงจากภายนอก เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและนโยบายการเงินของประเทศหลัก
อ่านรายละเอียด รายละเอียดการแถลงข่าวผลการประชุม กนง. ครั้งที่ 4/2567 มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ที่ 2.5%
อ่านเพิ่มเติม
feriors.com
ประชุม กนง. ครั้งที่ 4/2567 มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงดอกเบี้ย 2.5% - feriors
ผลการประชุม กนง. ครั้งที่ 4/2567 วันที่ 21 สิงหาคม 2567 คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ที่ 2.5% ต่อปี
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย